วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS
DOS ย่อมาจากคำว่า Disk Operating System หมายถึงระบบปฏิบัติการที่อยู่บนแผ่นดิสก์ เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ ที่นิยมในอดีตและพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะและข้อจำกัดของระบบปฏิบัติการ DOS
1. ต้องพิมพ์คำสั่งต่อจากเครื่องหมาย C:\>
2. ต้องจดคำสั่งและรูปแบบการใช้งาน
3. ยากต่อการใช้งานสำหรับคนที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์
4. ต้องพิมพ์คำสั่งเดิมๆซ้ำกันบ่อยๆ
5. เปิดโปรแกรมได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น
6. ใช้หน่วยความจำของเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธภาพ
7. ใช้เมาท์ได้เป็นบางครั้ง
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ DOS หรือ MS-DOS
ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมควบคุมระบบ ( Operating System หรือ OS ) คือ ส่วนทีสำคัญของซอฟแวร์ระบบ ซึ่งจะจัดการดำเนินการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ต้องมีใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โปรแกรมควบคุมระบบที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกัน เช่น MS-DOS ( Microsoft Disk Operating System ) Windows 95/98/NT, PC-DOS ฯลฯ มีหน้าที่ดังนี้ คือ
1 เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่ายอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิม์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2 จัดการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
3 จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นต้องทำการนำโปรแกรมจัดระบบงาน DOS เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน เราเรียกวิธีการนี้ว่า Boot DOS มี 2 วิธีคือ
1 Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2 Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้
CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)
หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.
เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
CURRENT TIME IS 08:30:15.15
ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )
หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)
เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt
A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง
Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญญลักษณ์ต่อไปนี้
$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
t คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <
d คือ วัน b คือ เครื่องหมาย :
p คือ ระบบปฏิบัติการ q คือ เครื่องหมาย =
v คือ หมายเลขรุ่น e คือ เครื่องหมาย -
n คือ ตัวอักษรที่แสดงชื่อไดร์ฟ h คื่อ การลบตัวอักษรท้ายไป
เหลือแต่เคอร์เซอร์
ตัวอย่าง เช่น C:\>PROMPT $ SOMCHAI กด ENTER
ผลคือ SOMCHAI
หรือ SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ C:\>
การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>
หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า
" BAD COMMAND OR FILE NAME "
ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\
การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95

เริ่มที่เมนู Start
ลือกที่ Programs
เลือกที่ MS-DOS Prompt ดังรูปต่อไปนี้
แสดงการเลือกเมนู เริ่ม start และคลิกเลือก MS-DOS Prompt

แสดงหน้าจอของ MS-DOS Prompt ของ Windows98
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทไฟล์โปรแกรม
ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ และระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)

การทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท
แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้
1 ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]
หมายถึง
Drive เช่น A:, B:
[path]
หมายถึง
ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]
หมายถึง
ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]
หมายถึง
ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN)
ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น
CLS
DATE
แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM
DATE
TIME
แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM
TIME
VER (VERSION)
ดูหมายเลข (version) ของดอส
VER
VOL (VOLUME)
แสดงชื่อของ DISKETTE
VOL [d:]
DIR (DIRECTORY)
ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์
DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE
แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด
TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY
ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้
COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]
เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)
REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE)
ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์
DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND
เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ
PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY)
สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล
MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)
เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ
CD [d:] [path] [Dir_name]CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORYCD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)
ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD
RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
TREE
แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด
TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)
เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)
SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)
ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่
CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL
เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์
LABEL [d:] [volume label]
FORMAT
กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้ กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE
เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ
DISKCOPY [d:] [d:]
เรียบเรียงโดย มันทนา ไปเร็ว, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระบบปฏิบัติการ DOS(DOS Operating System)

1.DOS คืออะไร
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเลคโทรนิคที่ประกอบขึ้นดวยอุปกรณ์ส่วนต่างๆหลายชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดการและควบคุมเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของโปรแกรมที่เราเรียกว่า โปรแกรมจัดระบบงาน(OS:Operating System)สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มี OS ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอยู่หลายชนิด ได้แก่ DOS ,Window 95 , Window NT ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล จัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมควบคุมระบบ (System Software) เป็นระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) มีหน้าที่ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับการอ่าน/เขียนข้อมูล บนแผ่นจานเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ เรียกว่า Disk Operating System (DOS) กล่าวคือเป็น Software ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลนั่นเอง เนื่องจากการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (Disk) ทั้งชนิดที่ใช้หลักการทางแสง (Optical Disk) และชนิดที่ใช้หลักการทางแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เสมอDOS เป็นระบบปฏิบัติการที่มิได้จัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบถาวร (ROM) เหมือนระบบปฏิบัติการอื่นๆ(BIOS) แต่ถูกเก็บบนแผ่นจานเก็บข้อมูลแทน เมื่อเริ่มต้นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (Boot Up) ระบบนี้บางส่วนจะถูกนำเข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราว (RAM) โดยอัตโนมัติ
2.ส่วนประกอบของDOS
DOS มีโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ1. ระบบปฏิบัติการ(Operating System)2.คำสั่งจัดการ(Command)1.ระบบปฏิบัติการ(Operating System)คือส่วนประกอบที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ส่วนควบคุมและคำสั่งพื้นฐาน ในการอ่านการเขียนข้อมูลลงในแผ่นจานเก็บข้อมูล ซึ่งทั้งสองส่วนอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ ณ ตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล IO.SYS , IBM.COM และ MSDOS.SYS ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุม และ COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นส่วนเก็บคำสั่งพื้นฐาน เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal Command)แผ่นจานเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยส่วนควบคุมและส่วนสั่งงานพื้นฐานนี้ เรียกว่า System DOS Disk หรือ Master Disk (โดยทั่วไปเรียก แผ่นดอส) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผ่นจานเก็บข้อมูลแบบอ่อน (Floppy Disk) หรือแผ่นาจานเก็บข้อมูลแบบแข็ง (Hard disk) ส่วนประกอบทั้งสอง จะถูกอ่านจากตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล (Track#0) เข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราวของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) หลังจากขบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ (Boot)ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Boot Record2. IO.SYS , IBM.COM3. MSDOS.SYS4. COMMAND.COM
1. Boot Record เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot) โดยตรง เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกบันทึกไว้ที่ส่วนนี้ หากส่วนนี้ชำรุดจะทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ได้ (ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้) เพราะการจัดการข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลมีส่วนสำคัญต่อการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดให้เครื่องอ่านส่วนของ Boot Record ทันทีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน2. IO.SYS , IBM.COM คือส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล คำสั่งและสัญญาณควบคุม ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เข้ากับส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ และ เชื่อมโยงข้อมูลสู่กันได้ ซึ่งโดยทั่วไปใช้มาตรฐานของบริษัท IBM3. MSDOS.SYS คือศูนย์รวมงานบริการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS Service Routine) เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวก โดยกำหนดให้มีลำดับการทำงานต่อจาก IO.SYS ส่วนประกอบนี้สร้างขึ้นโดยบริษัท Microsoft4. COMMAND.COM คือส่วนที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ- เป็นศูนย์รวมคำสั่งพื้นฐาน ที่ใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal command)- ทำหน้าที่แปลคำสั่ง จากภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยมีลักษณะการแปลแบบคำสั่งต่อคำสั่ง (Interjperter)
2. ส่วนจัดการคำสั่ง (DOS Command)คือ ส่วนของคำสั่งควบคุมการทำงานขั้นประยุกต์ (ส่วนคำสั่งพื้นฐานบรรจุในส่วนของระบบปฏิบัติการ) ส่วนคำสั่งจัดการนี้มิได้ถูกอ่านเข้าสู่ส่วนความจำหลักของเตรื่องคอมพิวเตอร์ แต่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้โดยอ่านจากแผ่นจานเก็บข้อมูล คำสั่งประเภทนี้เรียกว่าคำสั่งภายนอก (External Command)การใช้งานคำสั่งประเภทภายนอก จำเป็นจะต้องเรียกใช้คำสั่งนั้นๆจากแผ่นจานเก็บข้อมูลที่มีคำสั่งบรรจุอยู่ และต้องเป็นคำสั่งในกลุ่มหรือรุ่น (DOS Version) เดียวกันกับคำสั่งควบคุมที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบด้วย
3.การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
เนื่องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเกี่ยวข้องกับการอ่าน/เขียนข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงทำให้ต้องนำระบบควบคุมการอ่าน/เขียนข้อมูลลงบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนเสมอ การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำ DOS เข้าเก็บในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียกว่า ขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot DOS) หรือนิยมเรียกสั้นๆว่า การบูต
การเริ่มต้นระบบสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ1. Cold Boot2.Warm Boot1. Cold Bootหมายถึง การเริ่มต้นระบบ เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำด้วยวิธีการเปิดสวิตซ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ (Power ON) หลังจากที่ได้ปิดสวิตซ์ลงแล้ว (Power OFF) การเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องขึ้นใหม่นี้ ถือว่าเป็นการกระทำในขณะที่เครื่องเย็น (Cold) แม้ว่าจะปิดแล้วเปิดใหม่ในทันทีก็ตาม2. Warm Bootหมายถึง การเริ่มต้นของระบบ ในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ เป็นการกระทำด้วยวิธี Reset เป็นการกระทำในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำขณะอุ่น(Warm) การ Reset สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ1. System Reset2. Software Reset
1. System คือการเริ่มต้นของระบบโดยกดปุ่ม Reset ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีนี้เป็นการเริ่มต้นของระบบโดยส่งสัญญาณคำสั่งถึงตัว CPU โดยตรง2. Software คือการกดปุ่มเริ่มต้นระบบ โดยกดแป้น Ctrl , Alt และแป้น Del ด้วยกัน(ไม่จำเป็นต้องกดพร้อมกัน) หรือกำหนดคำสั่งเริ่มต้นของระบบในโปรแกรม มักนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีปุ่ม ResetWarm Boot เป็นการเริ่มต้นระบบที่นิยมใช้(และควรใช้) เนื่องจากการปิดและการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Cold Boot) ที่เร็วเกินไป(ปิด/เปิดทันทีทันใด) อาจทำให้จานเก็บข้อมูลที่กำลังหมุนด้วยความเร็วสูง (หรือส่วนประกอบอื่นที่มีการหมุน) เช่น Harddisk เกิดกระชากในขณะที่ยังไม่หยุดนิ่งสนิท และชำรุดได้ในที่สุด3. Clean BootClean Boot ไม่ได้เป็นการ Boot แบบที่สาม แต่เป็นการเริ่มต้นระบบแบบลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Cold Boot และ Warm Bootโดยปกติ ทั้ง Clod Boot และ Warm Boot เป็นขบวนการนำส่วนควบคุมและส่วนสั่งการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆและต้องการให้คอมพิวเตอร์อ่านค่าที่กำหนดนั้นๆด้วย เช่น ถ้าต้องการให้เครื่องรู้จักกับเครื่องอ่าน CD-ROM หรือการจัดการกับระบบความจำ เป็นต้น ในกรณีนี้เครื่องคอมพิวเตอร์อาจต้องอ่านแฟ้มข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกสองชุด คือ แฟ้มข้อมูล CONFIG.SYS ที่ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆของระบบ และแฟ้มข้อมูล (AUTOEXEC.BAT) ที่ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งให้เครื่องทำงานอัตโนมัติหลังจากการเริ่มต้นระบบในบางครั้ง การอ่านแฟ้มข้อมูลทั้งสองอาจไม่สำเร็จ หากบางคำสั่งในแฟ้มข้อมูลทั้งสองไม่ถูกต้อง หรือเมื่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเกิดขัดข้อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้อย่างสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้(ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้)ดังนั้น Clean Boot จึงถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องยกเลิกหรือละเว้นการอ่านบางคำสั่งหรือยกเลิกการอ่านทุกคำสั่งจากแฟ้มข้อมูลทั้งสองได้ เปรียบเสมือนเป็นการเริ่มต้นระบบแบบสะอาดปราศจากแฟ้มข้อมูลที่มีปัญหา ( Clean )
4.เครื่องหมายแสดงความพร้อม(Prompt Sign)
เครื่องหมายแสดงความพร้อม คือสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อขบวนการเริ่มต้นของระบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทราบว่า….- ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) ได้ถูกบรรจุในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียบร้อยแล้ว- ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่ออยู่กับเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจานประเภทใด (Current Drive) และสารบัญแฟ้มข้อมูล (Current Directory Name)- เครื่องพร้อมรับข้อมูลจากผู้ใช้ (Promting)Prompt sign ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Current Drive2. Directoty Name3.Cursor
1. Current Driveคืออักษรแสดงชื่อของเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจาน (Disk Drive) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อครั้งหลังสุด ซึ่งแสดงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น A:> , B:> , C:> หรือ D:>เป็นต้น อักษรแสดง Current drive นอกจากเป็นตัวแสดงชื่อของ Disk Drive แล้ว ยังเป็นตัวระบุประเภทของแผ่นจานเก็บข้อมูลอีกด้วยCurrent Drive แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้1. Physical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลที่มีตัวตนสามารถมองเห็นได้(เป็นรูปธรรม) เช่น Harddisk ,CD-ROM หรือ Tape เป็นต้น ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Harddisk ชื่อ C:> อยู่แล้ว 1 ตัว และได้ติดตั้ง Harddisk ชื่อ D:> เพิ่มขึ้นอีก 1ตัว Disk Drive D:> ที่เพิ่มนี้เรียกว่า Physical drive2. Logical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลโดยไม่ได้มีตัวตน(เป็นนามธรรม) ถูกสร้างขึ้นจากส่วนของหน่วยความจำหลัก (RAM) หรือส่วนหนึ่งของ (Harddisk) เช่น การกำหนด Disk drive ชื่อ D:> ขึ้นใช้งาน โดยอาศัยพื้นที่บางส่วนของส่วนความจำหลัก เรียกว่า RAM Drive ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ RAM (หมดสภาพความเป็นส่วนความจำทันทีที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) ขนาดความจุของข้อมูลขึ้นอยู่กับขนาดของส่วนความจำหลักนั่นเองRAM Drive มักสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากการอ่าน/เขียนข้อมูลผ่าน RAM Drive กระทำได้รวดเร็วกว่าการอ่านเขียนแผ่นผ่าน Disk Drive นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลบน Harddisk ด้วยนอกจากนั้น Logical drive ยังหมายรวมถึงการใช้พื้นที่บางส่วนของ Harddisk สร้างเป็น Disk drive ตัวใหม่ด้วย โดยอาจกำหนดชื่อเป็น D:> ,E:> ,F:> ฯลฯ ซึ่งมักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบเครือข่าย ซึ่งต้องใช้พื้นที่ของ Harddisk C:> สร้างส่วนเก็บข้อมูลลูกข่ายความจุของส่วนเก็บเก็บข้อมูลประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความจุของ Harddisk C:> นั่นเอง
2. Directory NameDirectoryหรือ Folder คือชื่อของสารบัญที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล คล้ายห้องที่ใช้เก็บของ โดยทั่วไปมักถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะกับแผ่นจานบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง เช่น High Density Floppy Disk (HD) , Harddisk หรือ CD-ROM เป็นต้น เพื่อให้แฟ้มข้มูลต่างๆถูกจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและการเรียกใช้งาน สารบัญแฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสารบัญหลัก (Main Directory or Root Directory )และสารบัญย่อย (Sub- Directory) โดยปกติแผ่นจานเก็บข้อมูลที่ใช้งานได้มักมี สารบัญหลัก (Main/Root Directory) เป็นส่วนประกอบหลักเสมอ และสารบัญย่อย (Sub Directory) ที่ผู้ใช้จะสร้างขึ้นเองภายหลังซึ่งอาจมีหลายสารบัญย่อยในสารบัญหลัก หรือหลายสารบัญย่อยในสารบัญย่อยอื่นๆได้สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสารบัญหลัก คือเครื่องหมาย Blash Slash (\) ส่วนสารบัญย่อยจะแสดงเป็นชื่อของสารบัญย่อยนั้นๆ
3. Cursorคือเครื่องหมายแสดงตำแหน่งการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นแถบแสงหรือขีดกระพริบ (เปลี่ยนรูปร่างได้ตามลักษณะการใช้งานแต่ละโปรแกรม) ณ ตำแหน่ง Cursor นี้ ผู้ใช้สามารถกำหนด คำสั่ง (Command) หรือชื่อของแฟ้มข้อมูล (File name) ที่ต้องการให้เครื่องทำงานเท่านั้น หารกำหนดเป็นอย่างอื่น เครื่องจะปฏิเสธและแสดงข้อความผิดพลาด (Error Massage) ว่า Bad Command or file name บนจอภาพทันที
5.คำสังหลักๆของDos
วิธีการดูรูปแบบคำสั่งการแสดงรูปแบบคำสั่งของ DOS จะใช้สัญลักษณ์และรูปแบบมาตรฐานตามหลักสากลที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่หมายถึง ตัวคำสั่งหรือข้อความที่เวลาเราใช้ต้องสะกดให้ถูกต้องข้อความที่เป็นตัวพิมพ์เล็กหมายถึง องค์ประกอบต่างๆที่ใช้ประกอบในคำสั่งนั้นๆ[] เป็นเครื่องหมายที่ใช้ครอบส่วนที่เราสามารถละเว้นได้ (จะมีหรือไม่มีในคำสั่งก็ได้) เป็นเครื่องหมายที่ใช้คั่นสิ่งที่เราสามารถเลือกอันใดอันหนึ่งตัวอย่างเช่น จากรูปแบบคำสั่งต่อไปนี้
เราสามารถสรุปได้ว่าFORMAT เป็นตัวคำสั่งที่ต้องสะกดให้ถูกต้องในเวลาใช้งานDrive: เป็นองค์ประกอบที่ต้องระบุคู่กับคำสั่ง FORMAT เสมอ/S เป็นองค์ประกอบของคำสั่งที่สามารถละได้คำสั่ง FORMATเป็นคำสั่งการจัดเตรียมเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆได้ โดยจะแบ่งเนื้อที่ออกเป็นห้องๆที่เรียกว่า “เซกเตอร์(SECTOR).” ซึ่งห้องเหล่านี้จะถูกจัดเรียงกันไว้เป็นวงกลมซ้อนๆกันหลายวง แต่ละวงเราเรียกว่า “แทรค(TRACK)"รูปแบบคำสั่ง
Drive: หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราจะให้ทำการ FORMATแผ่นดิสก์/S เป็นการกำหนดให้เครื่องฯบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์ที่มีการ FORMAT เสร็จแล้วด้วยตัวอย่างFORMAT A:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A
FORMAT B:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว BFORMAT A: /Sหมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A แล้วบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์นั้นด้วย
คำสั่ง HELPในกรณีที่เราต้องการทราบรายละเอียดและวิธีใช้คำสั่งต่างๆของ DOS ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง HELP ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
รูปแบบคำสั่งtopic หมายถึง ชื่อหัวเรื่อง หรือ คำสั่งที่เราต้องการดูรายละเอียด
ตัวอย่างHELP หมายถึงการให้เครื่องฯแสดงรายชื่อของหัวเรื่อง หรือคำสั่ง เพื่อให้เราเลือกดูรายละเอียดวิธีใช้ ตามที่เราต้องการ
HELP FORMATหมายถึง การขอดูรายละเอียดวิธีใช้ ของคำสั่ง FORMAT
คำสั่ง DIRในกรณีที่เราต้องการทราบว่าดิสก์ที่เราใช้อยู่นั้นมีแฟ้มอะไรเก็บอยู่บ้าง และยังคงเหลือเนื้อที่ว่างในดิสก์อีกเท่าไร ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆ โดยการใช้คำสั่ง DIR ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการใช้งาน ดังนี้รูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราต้องการขอดูรายละอียดpath หมายถึง เส้นทาง ที่เราต้องการขอดูรายละเอียดfilename หมายถึง ชื่อและนามสกุลของแฟ้มที่เราต้องการขอดูรายละเอียด/P เป็นการขอดูรายละอียดทีละ 1 หน้าจอ/W เป็นการขอดูรายละเอียดเฉพาะส่วนที่เป็นชื่อและนามสกุลของแฟ้มเท่านั้น
ตัวอย่างDIR Aหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว A
DIR C:หมายถึง ขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:/Wหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:Pหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C ทีละ 1 หน้าจอ
DIR A:/W/Pหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งเก็บไว้ในไดร์ว A ทีละ 1 หน้าจอ
DIR C:\COMMAND.COMหมายถึง ขอดูรายละเอียดของแฟ้ม COMMAND.COM ในไดร์ว C
หมายเหตุ ในกรณีที่เราต้องการดูรายละเอียด เฉพาะแฟ้มเป็นบางกลุ่มที่มีชื่อหรือนามสกุลที่เหมือนกัน ก็สามารถนำเครื่องหมาย * มาใช้ประกอบคำสั่ง DIR ได้ โดยเครื่องหมาย * นี้จะมีความหมายแทนคำว่า “ อะไรก็ได้ ” ตัวอย่างเช่น
DIR *.COM แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึง การขอดูรายละเอียดของชื่อแฟ้มอะไรก็ได้(ทุกๆชื่อ) ที่มีนามสกุล .COM
DIR COMMAND.* แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึงการขอดูรายละเอียดของแฟ้มที่มีชื่อว่า COMMAND นามสกุลอะไรก็ได้
คำสั่ง CLS (ลบจอภาพ)ในกรณีที่เราต้องการลบจอภาพให้ว่าง ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆโดยใช้คำสั่ง CLS ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คำสั่ง COPYเป็นคำสั่งคัดลอกแฟ้มที่เราต้องการไปสร้างแฟ้มใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
sourse หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มต้นทาง(ต้นฉบับ) ที่เราต้องการคัดลอกไปใช้destination หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มปลายทาง ที่ได้จากการคัดลอก
ตัวอย่าง
COPY C: COMMAND.COM A:ABC.XYZหมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C (ฮาร์ดดิสก์) ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ ABC นามสกุล XYZ ในไดร์ว
COPY C: COMMAND.COM A:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ-นามสกุลเดิม (COMMAND) ในไดร์ว A (หมายเหตุ การไม่ระบุชื่อแฟ้มปลายทางจะถือว่าใช้ชื่อ-นามสกุลเดิม)
COPY C:*EXE A:หมายถึงการคัดลอกทุกแฟ้ม(ชื่ออะไรก็ได้) ที่มีนามสกุล EXE จากไดร์ว C ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว A โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
COPY A:ABC.* C:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ ABC นามสกุลอะไรก็ได้ จากไดร์ว A ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว C โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
คำสั่ง REN เป็นคำสั่งให้เครื่องฯเปลี่ยนชื่อแฟ้มไปเป็นชื่อใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive : หมายถึง ไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อpath: หมายถึงเส้นทางที่เป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อfilename1 หมายถึง ชื่อแฟ้มเดิมfilename2 หมายถึง ชื่อแฟ้มใหม่
ตัวอย่าง
REN A:ABC.XYZ MYFILE.PPPหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์วA จากเดิมชื่อ ABC นามสกุล XYZ ไปเป็นชื่อ MYFILE นามสกุล PPP
REN A:MYFILE.PPP TESTหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์ว A จากเดิมชื่อ MYFILE นามสกุล PPP ไปเป็นชื่อ TEST ไม่มีนามสกุล
คำสั่ง DEL [ERASE]เป็นคำสั่งให้เครื่องฯ ลบแฟ้มที่เราไม่ต้องการใช้รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึงไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการลบpath หมายถึง เส้นทาง(ชื่อไดเรกทอรี่) ซึ่งเป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการลบfilename หมายถึง ชื่อแฟ้มที่เราต้องการลบ/P เป็นการกำหนดว่า ก่อนที่จะลบแฟ้ม ให้เครื่องฯแสดงข้อความขึ้นมารอให้เราตอบยืนยันอีกครั้งว่าต้องการลบแน่ๆ
หมายเหตุ เราจะใช้คำสั่ง DEL หรือ ERASE ก็ได้ ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างDEL A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดร์ว A
ERASE A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดรว์ A
DEL A:DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์ว A
DEL DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์วปัจจุบันที่มีเครื่องหมายพร๊อมท์อยู่ เช่น ถ้าตอนนี้บนจอภาพมีเครื่องหมาย C:\> (ซี-พร๊อม)ปรากฎอยู่ ก็จะเป็นการลบแฟ้มในไดร์ว นั่นเอง
DEL A:*.COMหมายถึง ให้เครื่องฯ ลบแฟ้มชื่ออะไรก็ได้(ทุกชื่อ) ที่มีนามสกุล COM ในไดร์ว A
DEL A:*.* หมายถึง ให้เครื่องฯ ลบทุกแฟ้มในไดร์ว A (ชื่ออะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้)

การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)ในปัจจุบัน ดิสก์แต่ละแผ่นถูกประดิษฐ์ให้มีเนื้อที่อย่างเพียงพอที่จะเก็บแฟ้มต่างๆได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์(Harddisk)ด้วยแล้ว ก็สามารถที่จะเก็บแฟ้มได้เป็นหมื่นๆหรือเป็นแสนเป็นล้านแฟ้มเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานแฟ้มต่างๆเหล่านี้สามารถทำได้โดยสะดวก เราจึงจำเป็นต้องมีจัดรายละเอียดชื่อแฟ้มต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ โดยนำแฟ้มที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือต้องใช้ร่วมกันมาเก็บรวมไว้เป็นกลุ่มๆภายในชื่อที่เรากำหนดขึ้น โดยที่เราจะเรียกชื่อเหล่านี้ว่า “สับไดเรกทอรี่ (SubDirectory)” หรือเราเรียกสั้นๆว่า “ไดเรกทอรี่ (Directory)” นั่นเอง

6.การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)
โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์ก็มีลักษณะคล้ายๆกับสารบัญของหนังสือทั่วๆไปนั่นเอง กล่าวคือ ในหนังสือเล่มหนึ่งจะมีหน้าสารบัญ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นที่เราสามารถมองเห็นรายละเอียดชื่อบทต่างๆ ในแต่ละบทก็จะมีรายชื่อหัวข้อย่อยต่างๆลงไปเป็นชั้นๆเพื่อแสดงให้ทราบว่าในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาอะไรเก็บอยู่ในนั้นบ้างสำหรับดิสก์ชนิดต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ก็ตาม ในตอนที่เราสั่ง Format เครื่องฯก็จะสร้างไดเรกทอรี่แรกซึ่งเปรียบเสมือนหน้าสารบัญของหนังสือลงในดิสก์ที่ถูก Format ให้เราเสมอ เราเรียกไดเรกทอรี่ที่เกิดขึ้นอันแรกนี้ว่า “รูทไดเรกทอรี่ (Root Directoty ) ” จากนั้นเมื่อเรามีการสร้างแฟ้มใหม่และบันทึกข้อมูลต่างๆลงในดิสก์ หรือคัดลอกแฟ้มจากที่อื่นมาไว้ในดิสก์แผ่นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะนำชื่อและรายละเอียดต่างๆของแฟ้มนั้น (เช่น ขนาดของแฟ้ม วัน/เดือน/ปี เวลา ที่เราสร้างหรือแก้ไขแฟ้ม) มาเก็บไว้ในรูทไดเรกทอรี่ด้วยเราสามารถสร้างไดเรกทอรี่ของเราเอง ลงไปเป็นส่วนย่อยของรูทไดเรกทอรี่ ในลักษณะเช่นเดียวกับชื่อบทต่างๆในหนังสือ และยังสามารถสร้างไดเรกทอรี่ย่อยๆลงไปในแต่ละไดเรกทอรี่ที่เราสร้างได้ด้วยตัวอย่างเช่น สมมติว่า เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่ในดิสก์แผ่นหนึ่งให้มีโครงสร้างและจัดเก็บแฟ้มต่างๆ
จะเห็นว่าในรูทไดเรกทอรี่นี้(เครื่องหมาย \ หมายถึง รูทไดเรกทอรี่) มี 2 ไดเรกทอรี่ย่อย คือ SOMCHAI และ OS โดยภายในไดเรกทอรี่ OS มีแฟ้มเก็บอยู่ 2 แฟ้มคือ แฟ้ม TEST และ DATA.JOB ส่วนไดเรกทอรี่.นั้นมีไดเรกทอรี่ย่อยอีก 2 ไดเรกทอรี่ คือ THACHER และ OTHER โดยไดเรกทอรี่ TEACHER ใช้เก็บแฟ้ม CONFIG.SYS และ COMMAND.COM ส่วนไดเรกทอรี่ OTHER นั้น ใช้เก็บแฟ้ม ABC.XYZ
การจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่ในการจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่นั้น มีคำสั่งที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม 3 คำสั่ง คือคำสั่ง MDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯสร้างไดเรกทอรี่ ในไดรว์และตำแหน่งที่อยู่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ที่เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่path : หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่และตำแหน่งที่อยู่ที่เราต้องการสร้าง
ตัวอย่าง
MD A:\SOMCHAIหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ SOMCHAI ในรูทไดเรกทอรี่ ( \ ) ของไดร์ว A
MD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงสร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ TEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
MD C:\MYDIRหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ MYDIR ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว C
ดังนั้น การสร้างไดเรกทอรี่ตามโครงสร้าง ของรูปที่ผ่านมาจึงสามารถทำได้โดยป้อนคำสั่งตามลำดับดังนี้MD A:\SOMCHAI แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\TEACHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\OTHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\OS แล้วกดปุ่ม Enter
คำสั่ง CDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯย้ายเข้าไปทำงานในไดเรกทอรี่ที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive:หมายถึง ไดร์วที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงานpath: หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงาน
ตัวอย่างCD \หมายถึง ย้ายเข้ามาทำงานที่ รูทไดเรกทอรี่(ของไดร์วที่เราใช้งานอยู่)
CD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อTEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
CD A:\OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์ว A
CD \ OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์วที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง RDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯลบไดเรกทอรี่ที่เราไม่ต้องการใช้แล้ว
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์ที่มีไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบpath หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ
ตัวอย่าง
RD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงลบไดเรกทอรี่ชื่TEACHER ซึ่งอยู่ในไดเรกทอรี่ SOMCHAIของไดร์ว A
RD A:\OSหมายถึง ลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ของไดร์ว A
หมายเหตุ ไดเรกทอรี่ที่เราจะลบทิ้งได้ จะต้องเป็นไดเรกทอรี่ว่าง กล่าวคือไม่มีแฟ้มหรือไดเรกทอรี่อื่นใดอยู่ในนั้นเลยยกเว้น . กับ .. เท่านั้นตัวอย่างเช่น ถ้าจะลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ซึ่งอยู่ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว A ขั้นแรกก็จะต้องลบแฟ้มต่างๆที่เก็บอยู่ในไดเรกทอรี่ OS นี้ให้หมดเสียก่อน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น (ให้เลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง) จากวิธีที่1 จะเห็นว่า เป็นวิธีที่เราสั่งลบแฟ้มและไดเรกทอรี่โดยที่เราไม่ต้องย้ายไดเรกทอรี่เลยส่วนวิธีที่ 2 เป็นการย้ายเข้าไปอยู่เหนือไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ แล้วสั่งลบแฟ้มทุกแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS (คำสั่ง DEL OS ) จากนั้นสั่งลบไดเรกทอรี่ OS ตามลำดับ (สั่ง RD OSได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกเส้นทางเนื่องจากตอนนี้เราอยู่ในตำแหน่งเหนือถัดขึ้นมาจากไดเรกทอรี่ OS พอดี )หมายเหตุ คำสั่ง DEL นั้นเป็นคำสั่งลบแฟ้ม ดังนั้นหากเราสั่ง DEL แล้วตามด้วยชื่อไดเรกทอรี่ เช่น DEL OS ก็จะเป็นการสั่งลบแฟ้มทุกๆแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS นั่นเองประโยชน์ที่ได้จากการสร้างไดเรกทอรี่การสร้างไดเรกทอรี่ขึ้นมาในแผ่นดิสก์นั้นนอกจากจะทำให้เราสามารถจัดแฟ้มต่างๆแยกเป็นหมวดหมู่ได้แล้ว ยังเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลต่างๆของเราด้วย กล่าวคือ ถ้ามีการย้ายเข้าไปทำงานภายในไดเรกทอรี่ใดเราจะเห็นเฉพาะแฟ้มที่อยู่ในไดเรกทอรี่นั้น ดังนั้น โอกาสที่จะเผลอลบแฟ้มที่ไม่เกี่ยวข้องโดยไม่ตั้งใจก็แทบจะไม่มีเลย
คำสั่งอื่นๆของ DOSคำสั่ง DISKCOPYDISKCOPY เป็นคำสั่งที่มีความแตกต่างไปจาก COPY กล่าวคือ คำสั่ง COPY ธรรมดานั้น จะเป็นการเลือกคัดลอกเอาเฉพาะบางแฟ้มที่เราต้องการเท่านั้น ต่างจากคำสั่ง DISKCOPY ที่เป็นการคัดลอกแผ่นดิสก์ทั้งแผ่นซึ่งจะเลือกเอาเฉพาะบางแฟ้มไม่ได้รูปแบบคำสั่ง
drive1: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นต้นฉบับdrive2: หมายถึงไดร์วที่มีแผ่นเปล่าหรือแผ่นเป้าหมายที่เราจะคัดลอดสิ่งต่างๆจากต้นฉบับลงไป
ตัวอย่างDISKCOPY A: A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว A (ใช้ไดร์วเดียวต้องคอยสลับแผ่นไปมา)DISKCOPY A: B:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว BDISKCOPYหมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันDISKCOPY A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง DATEเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งวันที่(วัน-เดือน-ปี) ของเครื่องฯรูปแบบคำสั่ง
date หมายถึง เดือน-วัน-ปี ที่เรากำหนดให้เครื่องฯหมายเหตุ หากเราไม่ระบุ DATE เครื่องฯก็จะแสดง เดือน- วัน-ปี ปัจจุบันของเครื่องฯ และรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
ตัวอย่าง
DATE 12 – 01 - 1999หมายถึง การตั้งวันที่ของเครื่องฯเป็นวันที่ 1 ธันวาคม 1999DATEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดง เดือน-วัน-ปีปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง TIMEในลักษณะเดียวกันกับคำสั่ง DATE คำสั่ง TIME เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งเวลาของเครื่องฯ
รูปแบบคำสั่ง
time หมายถึง เวลาที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ หากเราไม่ระบุ time เครื่องฯก็จะแสดง เวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เวลา ที่ต้องการตั้งใหม่

ตัวอย่าง
TIME 11.30หมายถึง การตั้งเวลาของเครื่องฯให้เป็น 11.30 น.TIMEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงเวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อนเวลาที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง LABELเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตังชื่อดิสก์(แผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์)หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วปัจจุบันออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นที่เราต้องการตั้งชื่อlabel หมายถึง ชื่อของดิสก์ ที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ 1. หากเราไม่ระบุ drive: เครื่องฯจะถือว่าเป็นการทำงานที่ไดร์วปัจจุบัน2. หากเราไม่ระบุ label เครื่องฯจะแสดงชื่อเดิมของดิสก์ออกมาและรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์ใหม่ตามที่เราต้องการ3. ชื่อของแผ่นที่เราจะตั้งขึ้นนั้น จะเป็นชื่ออะไรก็ได้ แต่จะต้องมีความยาวไม่เกิน 11 ตัวอักษร
ตัวอย่างLABEL A:SYSTEMหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ A ว่า SYSTEM
LABEL PAPAYAหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่า PAPAYA
LABEL A:หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์ว A ออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ

การสร้างคำสั่งใหม่ด้วยแบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)เป็นการนำคำสั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาเขียนเรียงต่อกัน แล้วป้อนเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล .BAT จากนั้น เมื่อเราต้องการใช้งานคำสั่งชุดดังกล่าว ก็เพียงแต่ป้อนชื่อแฟ้มแล้วกด Enter คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานตามคำสั่งเหล่านั้น ต่อเนื่องกันไปทีละคำสั่งโดยอัตโนมัติ เราเรียกแฟ้มที่มีนามสกุลBAT นี้ว่า “แบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)”
วิธีการสร้างและเรียกใช้ BATCH FILEสมมติว่าเราต้องการสร้างแบทช์ไฟล์ชื่อ SUPDIR.BAT เพื่อให้สามารถเรียกดูรายชื่อแฟ้มทั้งจากไดรว์ A และไดร์ว B ได้พร้อมกันโดยมีคำสั่งดังต่อไปนี้ คือ1. ลบจอภาพ (คำสั่ง CLS)2. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR A:)3. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR B:)
ดังนั้น เราจะต้องป้อน 3 คำสั่งนี้เข้าไปเก็บไว้ในแฟ้มชื่อ SUPDIR.BATโดยป้อนคำสั่งจากนั้น ให้ป้อนคำสั่งที่เตรียมไว้จนครบทั้ง 3 คำสั่ง แล้วกดปุ่ม F6 เพื่อบอกการจบของคำสั่งสุดท้าย แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องฯก็จะนำคำสั่งที่เราป้อนทั้ง 3คำสั่ง ไปเก็บไว้ในแฟ้ม SUPDIR.BAT ให้เราตามต้องการหลังจากที่สร้างแฟ้ม SUPDIR.BAT เสร็จแล้วเราสามารถเรียกใช้งานแฟ้มนี้ได้ โดยป้อนคำว่า SUPDIR แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องก็จะทำงานตามคำสั่งต่างๆที่เก็บอยู่ในแบทช์ไฟล์นี้ให้เราตามต้องการ
คำสั่ง ECHOเราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนจอภาพตามต้องการได้ โดยใช้คำสั่ง ECHO ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้รูปแบบคำสั่ง
message หมายถึง ข้อความที่เรากำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงออกมาบนจอภาพ
ตัวอย่าง สมมติว่า เรามีแบทช์ไฟล์ชื่อ XDIR.BAT ซึ่งเก็บคำสั่งต่อไปนี้
ECHO OFF CLS ECHO ****************************ECHO * XTRA DIR SERVICE *ECHO ****************************DIR A:ECHO SEE YOU AGAIN!ECHO ****************************ECHO ON
อธิบายคำสั่งECHO OFF เป็นคำสั่งที่กำหนดว่า ต่อจากนี้ไปให้คอมพิวเตอร์แสดงเฉพาะผลลัพธ์จากการทำงานเท่านั้น ไม่ต้องแสดงคำสั่งที่กำลังทำงานออกมาด้วย เพื่อที่เวลาแสดงข้อความต่างๆจะได้แสดงออกมาอย่างสวยงามCLS เป็นคำสั่ง ลบจอภาพECHO ตามด้วยข้อความ เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสงข้อความนั้นออกมาทางจอภาพDIR A: เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสดงรายละเอียดชื่อแฟ้มในไดร์วECHO ON เป็นคำสั่งให้เครื่องฯกลับมาแสดงตัวคำสั่งที่กำลังทำงานตามเดิม

การเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายกับเน็ตแวร์

ก. เครื่องลูกข่าย DOS - แบบ Bindery Service
ใช้ในการจัดการบริหารเน็ตแวร์ 3 ไม่สามารถจัดการเน็ตแวร์ 4 ได้ อย่างไรก็ตามยังสามารถเข้าใช้เซอร์ฟเวอร์เน็ตแวร์ 4 ในลักษณะเป็นผู้ใช้งานได้
บูทเครื่องลูกข่ายด้วย DOS
ป้อนคำสั่งที่ DOS Prompt ดังนี้ => IPX.COM[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้
Novell IPX/SPX v3.10 (911121) (C) Copyright 1985, 1991 Novell Inc. All Rights Reserved. LAN Option: Plug-and-Play Ethernet Card V2.01c (950905) Hardware Configuration : IRQ = 3, I/O Base = 300h
ป้อนคำสังต่อไปที่ DOS Prompt => NETX.EXE[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้
NetWare Workstation Shell V3.32(931117) PTF
(C) Copyright 1993 Novell Inc. All Rights Reserved. Patent Pending. Running on DOS V6.22 Attached to server <ชื่อServer> 09-02-98 7:01:56 am
Login เข้าสู่ Netware ดังนี้ F:[enter] F:\LOGIN> Login ชื่อเซอร์ฟเวอร์/supervisor (ตัวอย่างเช่น Login ISECNW/supervisor) Enter your password :
ใส่รหัสผ่าน[enter] จะปรากฏข้อความดังนี้
Drive A: map to a Local disk.
Drive B: map to a Local disk.
Drive C: map to a Local disk.
Drive F: = <ชื่อServer>: \SYSTEM
-----
SEARCH1: = Z:[<ชื่อServer>\SYS: \PUBLIC]
SEARCH2: = Y:[<ชื่อServer>\SYS: \]
F:\SYSTEM>

คำสัง Unix linux พื้นฐาน ใช้ได้ freebsd

*** คำสัง Unix linux พื้นฐาน ใช้ได้ freebsd ก็อ่านได้ ก๊อออมาเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง *** ls เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file] option ที่มักใช้กันใน ls คือ -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่างการใช้งาน ls -l ls -al ls -F adduser คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root useradd คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser) รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root userdel คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username) ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย passwd คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน passwd [Username] ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา) alias คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้) รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ] ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้ bash คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bash ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell) bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file] ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน cp เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy รูปแบบคำสั่ง cp source target ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1 cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) cat คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cat ตัวอย่าง cat /home/user1 more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ C Compiler คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cc [filename] ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1 cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS) รูบแบบการใช้งาน cd [directory] ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น chfin คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) รูบแบบการใช้งาน chfn [username] ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1 chgrp คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File) ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root chmod คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File) ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r * ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0 การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ 1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม 2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต) กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้ สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว chown คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile) ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1 chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname. chsh คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User) รูบแบบการใช้งาน chsh [Username] ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter] clear คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos) รูบแบบการใช้งาน clear ตัวอย่าง clear [Enter] cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ date ใช้แสดง วันที่ และ เวลา ตัวอย่าง date 17 May 2004 df คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์) รูบแบบการใช้งานdf [option] [file] ตัวอย่าง df [Enter] dmesg คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot) รูบแบบการใช้งาน dmesg ตัวอย่าง dmesg more [Enter] หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ echo คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS) รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล) ตัวอย่าง echo my name is user1 echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2 ed คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS) รูบแบบการใช้งาน ed (fileName) ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq) สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน emacs คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file ) รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName) ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c) exit คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ ) รูบแบบการใช้งาน exit ตัวอย่าง exit finger คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า) รูบแบบการใช้งาน finger [username] ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1 fsck คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos) รูบแบบการใช้งาน fsck [option] ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1 ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ ) รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server) ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก grep คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข ) รูบแบบการใช้งาน grep (option) ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test groupadd คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ groupdel คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ gzip/gunzip คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์) รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file] ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba halt คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน) รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p] ตัวอย่าง #halt คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot history คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key) รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ] ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว ifconfig คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card) รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option] ตัวอย่าง #ifconfig ipchains คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option] ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน jobs ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process) รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID) ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย login คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName) ตัวอย่าง #login:root mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม) -p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง mkdir /home mkdir -p -m755 ~/้home/user1 mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move รูปแบบคำสั่ง mv source target ตัวอย่าง mv *.tar /backup mv test.txt old.txt mv bin oldbin more คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ รูปแบบคำสั่ง more file ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้ = แสดงเลขบรรทัด q ออกจากโปรแกรม เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป h แสดง help ตัวอย่าง more test.txt man คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง) รูบแบบการใช้งานman (Command) ตัวอย่าง #man ls หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ) รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint ตัวอย่าง # การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom #การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount) rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory โครงสร้างคำสั่ง rmdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ -c ทำการสร้างใหม่ (backup) -t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้ -v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล -f ผลลัพธ์ของมาที่ file -x ทำการ restore ตัวอย่าง tar -xvf data.tar talk คำสั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้ รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty] กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.comwrite คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น รูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น ตัวอย่าง write m2k who am i คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น) file คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ รูปแบบคำสั่ง file [option]... file ตัวอย่าง file /bin/sh file report1.doc free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte ตัวอย่าง free free -b free -k pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd uname คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง ตัวอย่าง uname -a hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่ ตัวอย่าง hostname tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่าง tty id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน ต้วอย่าง id ls เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file] option ที่มักใช้กันใน ls คือ -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่างการใช้งาน ls -l ls -al ls -F adduser คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root useradd คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser) รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root userdel คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username) ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย passwd คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน passwd [Username] ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา) alias คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้) รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ] ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้ bash คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bash ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell) bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file] ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน cp เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy รูปแบบคำสั่ง cp source target ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1 cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) cat คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cat ตัวอย่าง cat /home/user1 more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ C Compiler คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cc [filename] ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1 cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS) รูบแบบการใช้งาน cd [directory] ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น chfin คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) รูบแบบการใช้งาน chfn [username] ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1 chgrp คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File) ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root chmod คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File) ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r * ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0 การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ 1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม 2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต) กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้ สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว chown คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile) ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1 chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname. chsh คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User) รูบแบบการใช้งาน chsh [Username] ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter] clear คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos) รูบแบบการใช้งาน clear ตัวอย่าง clear [Enter] cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ date ใช้แสดง วันที่ และ เวลา ตัวอย่าง date 17 May 2004 df คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์) รูบแบบการใช้งานdf [option] [file] ตัวอย่าง df [Enter] dmesg คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot) รูบแบบการใช้งาน dmesg ตัวอย่าง dmesg more [Enter] หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ echo คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS) รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล) ตัวอย่าง echo my name is user1 echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2 ed คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS) รูบแบบการใช้งาน ed (fileName) ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq) สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน emacs คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file ) รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName) ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c) exit คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ ) รูบแบบการใช้งาน exit ตัวอย่าง exit finger คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า) รูบแบบการใช้งาน finger [username] ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1 fsck คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos) รูบแบบการใช้งาน fsck [option] ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1 ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ ) รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server) ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก grep คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข ) รูบแบบการใช้งาน grep (option) ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test groupadd คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ groupdel คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ gzip/gunzip คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์) รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file] ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba halt คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน) รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p] ตัวอย่าง #halt คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot history คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key) รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ] ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว ifconfig คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card) รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option] ตัวอย่าง #ifconfig ipchains คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option] ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน jobs ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process) รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID) ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย login คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName) ตัวอย่าง #login:root mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม) -p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง mkdir /home mkdir -p -m755 ~/้home/user1 mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move รูปแบบคำสั่ง mv source target ตัวอย่าง mv *.tar /backup mv test.txt old.txt mv bin oldbin more คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ รูปแบบคำสั่ง more file ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้ = แสดงเลขบรรทัด q ออกจากโปรแกรม เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป h แสดง help ตัวอย่าง more test.txt man คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง) รูบแบบการใช้งานman (Command) ตัวอย่าง #man ls หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ) รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint ตัวอย่าง # การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom #การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount) rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory โครงสร้างคำสั่ง rmdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ -c ทำการสร้างใหม่ (backup) -t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้ -v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล -f ผลลัพธ์ของมาที่ file -x ทำการ restore ตัวอย่าง tar -xvf data.tar talk คำสั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้ รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty] กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.comwrite คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น รูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น ตัวอย่าง write m2k who am i คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น) file คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ รูปแบบคำสั่ง file [option]... file ตัวอย่าง file /bin/sh file report1.doc free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte ตัวอย่าง free free -b free -k pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd uname คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง ตัวอย่าง uname -a hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่ ตัวอย่าง hostname tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่าง tty id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน ต้วอย่าง id

ระบบปฏิบัติการ MS-DOS

ดอสหรือDosย่อมาจากDiskOperatingSystemระบบปฏิบัติซึ่งคือว่าเป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คอยจัดการ ประสานงานและควบคุมการทำงานต่าง ๆ ซึ่งพอจะสรุปหน้าที่ของดอสได้ 3 อย่าง คือ1.จัดการอุปกรณ์ต่างๆให้ทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างหน่วยรับข้อมูล(Input)และหน่วยแสดงผล(Output)และแป้นพิมพ์(Keybord),เครื่องขับดิสค์(DiskDrive),จอภาพ(Monitor)และเครื่องพิมพ์(Printer)คอยดุและบันทึกข้อมูลบนดิสค์การสร้างประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลซึ่งรวมถึงความเร็วและความเชื่อถือได้ในการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูล เป็นต้น 2.การควบคุมการทำงานของโปรแกรมเช่นการอ่านโปรแกรมหรือคำสั่งขึ้นมาจากดิสค์เตรียมสิ่งต่างๆสำหรับให้โปรแกรมการทำงานและจัดพื้นที่ในหน่วยความจำกับดิสค์คอยถ่ายข่าวสารระหว่างดิสค์กับหน่วยความจำ3.ปฏิบัติตามคำสั่ง นำคำสั่งที่ผู้ใช้ดอสรับเข้ามาไปทำการประมวลและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆดังนั้นการที่ผู้ใช้เครื่องจะใช้งานประเภทใดก็ตาม ทั้ง Application Software หรือLanguageจะใช้งานไม่ได้เลยถ้าไม่มีการบรรจุชุดคำสั่งของดอสเข้าไปในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เสียก่อน เพราะจะไม่มีการประสานงานหรือ ดูแลรักษาแฟ้มข้อมูลเมื่อมีดอสอยู่ในหน่วยความจำ แล้วเราสามารถใช้คำสั่งดอสจัดการทำสำเนา(Copy)ข่าวสารแผนบันทึกข้อมูลลงหน่วยจำของคอมพิวเตอร์และพร้อมที่จะทำงานตามที่ซอฟท์แวร์นั้นจะกำหนด และสามารถแยกประเภทของแฟ้มข้อมูลทำสำเนาแฟ้มข้อมูลลบแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการเป็นต้นและถ้าไม่มีดอส อยู่ในหน่วย ความจำของเครื่องแล้วเราจะใช้งานซอฟท์แวร์ไม่ได้เลยปัจจุบันมีดอสอยู่หลายชื่อ แต่ละชื่อที่ตั้งขึ้นใช้ชื่อของบริษัทผู้เขียนซอฟท์แวร์ตัวนี้นำหน้าเช่น PC - DOS นี้เป็นดอสที่ใช้ กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์IBMเพื่อใช้ควบคุมระบบการทำงานและอีกชื่อหนึ่ง MS - DOS นี้ เป็นดอสของบริษัท ไมโครซอฟท์โดยใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่ใช้ชื่อบางคำสั่งต่างกันเท่านั้นดังนั้นเพียงแตผู้ใช้รู้จักดอสตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถใช้งานอีก หนึ่งได้วิธีการ BOOT DOS1. COLD BOOT หมายถึงการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สวิทช์ POWER ให้ ON ครั้งแรกWARM BOOT หมายถึงเป็นการบูทขณะเครื่งกำลังใช้งานอยู่ให้เครื่องเริ่มทำงานใหม่ซึ่งจะบูทต่อเมื่อต้องการREBOOTเครื่องมือใหม่ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาหรือเครื่องไม่ได้รับคำสั่งจากแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นใดเลย เพื่อที่จะลบสิ่งที่อยู่ในหน่วยความจำออก ให้หมด โดยการกดปุ่ม RESET ที่ตัวระบบ(SYSTEMUNIT)หรือถ้าเครื่องใดไม่มีปุ่มRESETให้กดปุ่ม3ปุ่มนี้พร้อมๆ กันคือ CTRL + ALT + DELส่วนประกอบของ DOS การที่เรียกดอสขึ้นมาให้งานได้นั้นจะต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้คือ 1.บูทเรคอร์ด (BOOT RECORK) หลักจากที่เปิดเครื่องหรือบูทเครื่องใหม่โปรแกมในรอมไบออส(ROMBIOS)ของเครื่องจะมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่าBOOTSTARPLOADERเป็นตัวทำการอ่านข้อมูลของบูทเรคอร์ดเข้ามาทำงานซึ่งตัวบูทเรคอร์นี้มีหน้าที่แค่เพียง อ่านโปรแกรม ระบบของดอสตัวอื่น ๆ เข้าทำงานต่อจากตัวมันอีกทีม 2. IO.SYS หรือ IBMBIO.COM จะเป็นโปรแกรมระบบดอสที่ถูกบูทเรคอร์ดเรียกเข้ามาทำงานต่อ มีหน้าที่ติดต่ออุปกรณ์ ต่างๆ และขยายการใช้านอขงรอมไบออส สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ที่ต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์3. MSDOS.SYS (MS - DOS) หรือ IBMDOS.COM (PC - DOS) โปรแกรมนี้จะถูกเรียกขึ้นมาหลังจาก IO.SYS หรือ IBMBIO.COM อีกที หน้าที่หลักของโปรแกรมนี้นับว่าเป็นหัวใจของดอสทีเดียว คือ จัดการเกี่ยวกับระบบไฟล์และดิสค์4. COMMAND.COM เป็นโปรแกรมของดอสมีหน้าที่สำคัญคือ ติดต่อกับผู้ใช้ทาง COMMAND PROMPT ทำการแปลคำสั่งที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไป แล้วนำไปทำงาน และเมื่อคำสั่งนั้นมีการติดต่อกับอุปกรณ์ก็ไปเรียกรูทีนใน MSDOS.SYS หรือ IBMDOS.COM ใช้เป็นที่เก็บคำสั่งภายในของ Dos เช่น Dir , Del เป็นต้น จัดลำดับความสำคัญของคำสั่ง คือ มีลำดับสูงสุดดังนี้ คำสั่งภายใน คำสั่งภายนอก ที่เป็นโปรแกรมที่มีนามสกุล .Com , .Exe และ .Bat ตามลำดับ ทำหน้าที่ในการอ่านคำสั่งภายนอกเข้ามาในหน่วยความจำ และส่งการควบคุมให้โปรแกรมนั้นทำงานเมื่อโปรแกรมนั้นทำงาน จบก็จะส่งการควบคุมคืนกลับมายังดอสอีกที ประเภทคำสั่งของดอส จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เมื่อเปิดเครื่องไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม คำสั่งชนิดนี้จะถูกอ่านเข้าไปในหน่วยความจำในส่วนของ Ram เมื่อเวลาต้องการให้คำสั่งเหล่านี้สามารถเรียกใช้จากหน่วยความจำได้เลยโดยไม่ต้องเรียกใช้จากแผ่นดอส เช่น Date , Time , Dir , Del2. คำสั่งภายนอก (External Command) เป็นคำสั่งที่เป็นโปรแกรมเก็บไว้ในแฟ้ม (File) ซึ่งจะอยู่ในดอสเวลาจะเรียกใช้คำสั่งจะต้องเรียกใช้แผ่นดอส คำสั่งนี้จะถูกอ่านเข้าสู่หน่วยความจำส่วนของ Ram ในขณะที่ใช้งาน เมื่อได้ผลลัพธ์ แล้วคำสั่งนี้จะถูกลบออกจากหน่วยความจำทันที เมื่อต้องการจะใช้อีกต้องเรียกใช้จากแผ่นใหม่อีกครั้งเช่นคำสั่ง Format , Diskcopy , CHKDSK ฯลฯ สั้นๆ เท่านั้นสำหรับคำสั่งที่จะกล่าวถึงนี้จะขอจัดเรียงตามลำดับความสำคัญในการใช้งานดัวนี้คือคำสั่งใน DOS

คำสั่งภายใน (Internal Commands) คำสั่ง หน้าที่Date ขอดูวันที่ปัจจุบัน และตั้งวันที่ใหม่ Time ขอดูเวลาปัจจุบัน และตั้งเวลาใหม่Dir ขอดูรายชื่อไฟล์และไดเร็กทอรี่Copy ทำสำนาไฟล์Ren เปลี่ยนชื่อไฟล์Del หรือ ERASE ลบไฟล์Type พิมพ์ข้อมูลหรือข้อความที่อยู่ในไฟล์ออกมาดูVOL แสดงชื่อและหมายเลยประจำแผ่นVER แสดงเวอร์ชั่นของ MS - DOSCLS ลบข้อความบนจอภาพทั้งหมดMD หรือ MKDIR สร้างไดเร็กทอรี่CD หรือ CHDIR ย้ายไดเร็กทอรี่RD หรือ RMDIR ลบไดเร็กทอรี่PROMPT เปลี่ยนเครื่องหมายพร้อมของ MS - DOS
ส่วนประกอบของ Dosการเรียกใช้ Dos การเรียกใช้ดอส (BOOT) นั้นสามารถเรียกได้จาก Drive A : หรือ Drive C: (ฮารด์ดิสค์) ก็ได้ ซึ่งดิสค์นั้นจะต้องมีส่วน ประกอบของดอสครบถ้วน มิฉะนั้นจะไม่สามารถใช้งานดอสขึ้นมาได้ กรณีที่บูทจาก A: ต้องนำแผ่นดอสมาใส่ที่ Drive A: การอ่านระบบจากแผ่นที่ Drive นี้ แต่ถ้าต้องการบูทจาก Drive C: ก็ไม่ต้องใช้แผ่นดอสอีกแล้วเพราะใน Drive C: จะมี System อยู่แล้วนั้นเอง เมื่อเครื่องทำการอ่านระบบเข้าสู่หน่วยความจำเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงเครื่งหมายอย่างหนึ่งซึ่งจอภาพเพื่อบอกให้ผู้ใช้ รู้ว่าพร้อมที่จะทำงานต่อไป เมื่อบูทเครื่องที่ Drive A: ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอสจะถูกอ่านเข้าไปเก็บไว้ในส่วนของแรมเสร็จแล้วก็จะ มีข้อความปรากฎบนหน้าจอดังนี้CURRENT DATE IS SAT 10.17.1999ENTER NEW DATE (MM.DD.YY):-คอมพิวเตอร์จะรอให้ป้อนวันที่เข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงวันที่ปัจจุบัน ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนก็ให้กด ENTER ข้ามไปเลย เครื่องก็จะไปถาม เวลาต่อไปดังนี้CURRENT DATE IS SAT 10-17-1999ENTER NEW DATE (MM- DD- YY) : CURRENT TIME IS 09 :18 :15.43 ENTER NEW TIME :-Micorsoft (R) MS - DOS (R) VERSION 5.00(C) Copyright Microsoft Corp 1981 - 1990 . A:>_บรรทัดสุดท้ายอ่านว่า เอพร้อม มีความหมายว่าขณะนี้ได้มีการบรรจุ (LOAD) ดอสเข้าไปในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แล้ว และเครื่องพร้อมที่จะรับคำสั่งให้ทำงานด้วยเครื่องขับ A: มีศัพท์เรียกว่าเครื่องขับที่กำลังใช้อยู่นี้เป็น เครื่องใช้งาน (DEFAULT DRIVE) ต่อไปก็เพียงแต่พิมพ์คำสั่งของดอสไปเท่านั้น เครื่องคอมพิเตอร์ก็จะปฏิบัติตามคำสั่งทันที แต่ถ้านำเอาแผ่นที่ไม่มี SYSTER นำมาบูทเครื่อง จะแสดงข้อความผิดพลาดบนหน้าจอดังนี้Non - Syster Disk or Disk ErrorReplace And Strike Any Key When Readyดังนั้นให้ทำการแก้ไขโดยการนำเอาแผ่นที่ระบบมาใส่ใหม่ แล้วกดแป้นไหนก็ได้ทำ ให้ทำงานต่อได้
คำสั่งภายนอก (EXTERNAL COMMANDS) คำสั่ง หน้าที่DISDCOPY คัดลอกแผ่นดิสค์ทั้งหมดFORMAT จัดรูปแบบของแผ่นดิสค์LABEL ตั้งชื่อ เปลี่ยนชื่อหรือการลบชื่อที่ตั้งไว้ในแผ่นดิสค์SYS คัดลอกระบบการทำงานของ MS - Dos ลงแผ่นดิสค์ CHKDSK ตรวจสอบสถานะของแผ่นดิสค์TREE แสดงโครงสร้างของไดเร็กทอรี่ในรูปของแผนภาพต้นไม้EDLIN แสดงโครงสร้างหรือแก้ไขไฟล์ความจำพวก BATCH FILE และ CONFIG.SYS
รูปแบบของคำสั่งของดอส (Syntax)เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าในวิธีการอ่านคำสั่งของดอส และนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี ส่วนประกอบของคำสั่งของดอสนั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. Commamd name2. Parameters3. Switches Comand name นั้นเป็นชื่อของคำสั่งที่ผู้ให้ต้องพิมพ์คำนี้ลงไปก่อนเสมอ ซึ่งวิธีป้อนคำสั่งนี้จะพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้ซึ่งบางคำสั่งเพียงแต่พิมพ์ชื่อคำสั่งบางคำสั่ง แล้วส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการกด ENTER เลยก็ได้ แต่บางคำสั่งต้องมีเครื่องหมายอย่าอื่นตามด้วย Parameters เป็นเครื่องหมายที่ใช้ตามหลังคำสั่งบางคำสั่งซึ่งจะใช้ตั้งแต่ 1 คำ หรือมากกว่าก็ได้ Sitches เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้คำสั่งในลักษณะอย่างอื่นบ้าง ให้ใช้เครื่องหมายสวิทซ์ เมื่อจะใช้สวิทซ์ต้องพิมพ์ เครื่องหมาย Slsah (/) นำหน้าก่อนแล้วตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลยขึ้นอยู่กับรูปแบบของแต่ละคำสั่งวิธีการป้อน (พิมพ์) คำสังดอสเวลาป้อน (พิมพ์) คำสั่งดอสนั้นจะพิมพ์เป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ เมื่อพิมพ์ผิดสามารถลบคำผิดด้วยแป้น Backspace (ปุ่มถอยหลัง) และเมื่อพิมพ์คำสั่งต้องเคาะช่องว่างระหว่างคำสั่ง พารามิเตอร์และเครื่องหมายสวิทซ์ด้วย (เหมือนกับการ พิมพ์ประโยคภาษาอังกฤษ ระหว่างคำต้องมีเคาะช่องว่างด้วย)
รูปแบบการใช้คำสั่งของดอสDATE = SET / SHOW DATE (INTERNAL)หน้าที่ แสดงวันที่ของเครื่อง หรือเปลี่ยนวันที่ของเครื่องรูปแบบ DATE mm- dd- yy or mm/ dd/ yy or mm.dd.yyตัวอย่าง DATE (Enter)ผล Current date is Mon 1- 18- 1992Enter new date :
TIME = SET / SHOW THE TIME (INTERNAL)หน้าที่ แสดงหรือกำหนดเวลาของเครื่องใหม่รูปแบบ TIME hh: mm: ss.xxd ตัวอย่าง TIME 10:20:30.5
DIR = Directory (Internal)หน้าที่ แสดง File ทั้งหมด หรือบางส่วนใน Directoryรูปแบบ DIR (Drive:)(Path)(Filename(.ext))(/p)(/w)ตัวอย่าง Dir File.DAT ส่วนขยาย /- หยุดเพื่อแสดงเต็มจอ / wแสดงตามขวาง
COPY = Copy Files (Internal)หน้าที่ Copy แฟ้มข้อมูลข้าม Drive หรือ Copy ไปยังชื่อใหม่ หรือต่อแฟ้มข้อมูลรูปแบบ Copy (Drive:)(Path)file1(.ext)(path)file2(.ext) หรือ Copy File1+file2+file3+file4ส่วนขยาย /V - Verifiles ตรวจสอบข้อมูลระหว่างไฟล์ต้นฉบับ (Source) และไฟล์สำเนา (Destination)
REN = Rename File (Internal)หน้าที่เปลี่ยนชื่อไฟล์รูปแบบ REN (Drive:)(Path)(File)(.ext)(File2 )(.ext)ตัวอย่าง REN TEST.DAT SAMPLE.TXT
DEL = Delete Files (Internal)หน้าที่ ลบไฟล์จาก Driictoryรูปแบบ DEL A:TEXT.DAT ,DEL T*.*กฏ 1. ถ้าไม่กำหนด Path ถือเป็น Directory ที่กำลังทำงาน 2. ถ้าไม่กำหนด Drive จะถือเป็น Directory ที่กำลังทำงาน3. สามารถใช้อักษรพิเศษ "*" และ"?"ได้4. ถ้าใช้ DEL *.* จะมี Message ARE YOU SURE (y/n)
TYPE = Type Fili on Screen (internal)หน้าที่ แสดงข้อมูลเนื้อหาของ File บนจอ รูปแบบ Type(Drive:)(Path) Filename(.ext)ตัวอย่าง Type Test.dat
VOL = Display Volume Label (Internal)หน้าที่แสดง Volume Label ของ Diskรูปแบบ VOL (Drive:)
VER = Display Version Number (Internal)มีหน้าที่ แสดงหมายเลขเวอร์ชั่นของ Dosรูปแบบ VERตัวอย่าง VER ผล DOS version 6
CLS = Clear Sceenหน้าที่ ลบข้อความบนจอรูปแบบ CLS กฏ 1. ข้อความบนจอภาพจะถูกลบหายไป เคอร์เซอร์ (Cursor) จะถูกเลื่อนไปยังจุดของจอ2. คำสั่งจะมีผลเฉพาะจอภาพไม่มีผลกับ Memory
MD หรือ MKDIR = Mark Directory (Internal)หน้าที่สร้าง Directoryรูปแบบ MD (Drive:) Pathตัวอย่าง MD B:\ROOT\d4
CD หรือ CHDIR = Change Directory (Enternal)หน้าที่ สร้าง Directory หรือแสดง Driectory ปัจจุบัน รูปแบบ CD (Drive:) Pathกฏ 1. ถ้าไม่ระบุ Drive ถือว่าเป็น Drive ปัจจุบัน2. การเปลี่ยน Directory จะเริ่มจาก Directory ปัจจุบัน จนถึง Directory สุดท้ายระบุใน Path3. ถ้าต้องการจะเริ่มจาก Root Directory ต้องระบุด้วยเครื่องหมาย Backslash (\)
RD = Remove Directory (Internal)หน้าที่ ลบ Directoryรูปแบบ RD (Drive:)(Path)ตัวอย่าง RD Subdir กฏ 1. Directory ที่กำลังใช้งานปัจจุบันและ Root Directory จะ Remove ไม่ได้2. Directory ที่จะ Remove ต้องเป็น Directory ที่ว่างเปล่า
ROMPT = Set The System Promptหน้าที่ กำหนดค่า Promptรูปแบบ Prompt Prompt Stringกฏ 1. ถ้าไม่กำหนด Prompt String จะแสดง Standrad System Prompy (A>)2. Prompt String คือ รูปแบบของ Prompt ที่แสดงจ้องขึ้นต้นด้วย $3. Prompy ใหม่จะคงอยู่จนกระทั่ง Boot Dos ใหม่ หรือ กำหนด Prompt ใหม่
DISKCOPY = Copy Entire Diskette (External)หน้าที่ Copy ข้อมูลทั้งหมดจาก Diskette รูปแบบ Disk copy (drive:)(volume Label)ตัวอย่าง Label A:VOL 1
FORMAT = Format disk (External)หน้าที่ เตรียม disk สำหรับใช้งาน และจะล้างข้อมูลเดิมที่มีอยู่ รูปแบบ Format (Drive:)(/s)(/1)(/8)(/v)(/b)(/4)(/n:ss)(/t:tt) Pathส่วนขยาย /s - Copy Operation System เข้าไว้ในแผ่นที่ Format , /1 format เฉพาะหน้าแรกของ Disk/8 - Format เฉพาะหน้าแรกของ Disk , /v - เมื่อต้องการกำหนด Volume Label,/b - จองที่ Disk ไว้สำหรับ Operating System แต่ไม่ Copy Operating System (ss) จาก 1 ถึง 99/t:tt - กำหนดจำนวน Track (tt) ต่อหน้าจาก 1 ถึง 99ตัวอย่าง Format B:, Format B:/s
LABEL = Volumn Label (External)หน้าที่สร้าง , เปลี่ยน หรือลง Volumn Label บน Diskรูปแบบ Label (Drive:)(Path)Filename(.ext)ตัวอย่าง Label A:VOL 1
SYS = Place the Operating on the Disk (External)หน้าที่ Copy Operating System (DOS) ลงใน Disk ที่กำหนดรูปแบบ SYS Driveตัวอย่าง SYS B:
CHKDSK = Cheek Disk (External)หน้าที่ ตรวจสอบ Directory Files ของ Disk Drive ที่กำหนด รูปแบบ CHKDSK (Drive:)(Path)(Filename(.ext))ส่วนขยาย / F แก้ไข Error บน Disk ,/V แสดง File ของ Disk บนจอ ตัวอย่าง Chkdsk , Chkdsk A:./F
TREE = Display all Directories (Extermal)หน้าที่ แสดง Directory ทั้งหมด ที่อยู่ใน Diskรูปแบบ TREE(Drive:)(/F)ส่วนขยาย / F - แสดง File ที่อยู่ใน Directory ด้วยตัวอย่าง TREE B:TopSYSTEM CONFIGURATION (การปรับแต่งระบบ)เป็นไฟล์ข้อความที่บรรจุคำสั่งของดอส อุปกรณ์ (Device) และโปรแกรมต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันได้ตามที่เราต้องการ โดยการกำหนดค่าต่างๆ ที่ระบบต้องการCONFIG.SYSเป็นไฟล์ข้อความที่บรรจุคำสั่งสำหรับการปรับแต่งระบบ เช่น หน่วยความจำ แป้นพิมพ์ไฟล์ เมาส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้นซึ่งเป็นการปรับแต่ง Config ทำได้โดยใช้ Text Editor ทั่งไปแต่ควรทำอย่างระมัดระวังเพราะอาจทำให้ระบบ BOOT ไม่ได้AUTOEXEC.BAT(การปรับแต่งระบบ)เป็นแบตซ์ไฟล์ที่บรรจุคำสั่งต่างๆ หรือโปรแกรมที่ต้องการให้ดอสทำเมื่อเริ่มระบบ ซึ่งเป็นการรวบรวมคำสั่งที่ต้องทำต่อเนื่องกันไว้เป็นไฟล์ เมื่อต้องใช้งานก็เพียงเรียกไฟล์ที่หร้างมาใช้ Dos จะนำคำสั่งที่สร้างไว้มาทีละคำสั่งโดยอัตโนมัติ Batch file จะถูกเก็บอยู่ในรูป Text File นามสกุล .BAT สามารถใช้ TEXT EDITOR ทั่วไปสร้างได้ คำสั่งใน CONFIG.SYSBREAK = คำสั่งในดอสตรวจสอบการกด CTRL + C เพื่อหยุดการทำงานของดอสค่าปกติ คือ OFF และการ BREAK นี้คือ ...อยู่ในระหว่างการใช้อุปกรณ์ I/Oอยู่ระหว่างการใช้เครื่องพิมพ์อยู่ระหว่างการใช้อุปกรณ์เสริม BUFFERS = กำหนดขนาดของดิสค์บัฟเฟอร์ DISK BUFFERBUFFERS = N,[M]ดิสค์บัฟเฟอร์คือที่พักข้อมูลที่จะทำการถ่ายเทระหว่างหน่วยความจำกับดิสค์n คือ จำนวนบัฟเฟอร์ โดยที่ 1 บัฟเฟอร์ = 532 byte มีค่าเท่ากับ 1 ถึง 99 m คือ บัฟเฟอร์แคล (Cache) มีค่าเท่ากับ 0 - 8 RAM DISK BUFFERS BYTE<128k>360 3 -128K - 255K - 5 2672256K - 511K - 10 5328512K - 640K - 15 7984ข้อควรพิจารณา1. การกำหนด ค่า บัฟเฟอร์ต้องใช้วิธีลองกำหนดดูจนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสม (Word ~ 10 - 20)2. ถ้ามีไดเรคเทอรี่มาก ~ 20 - 30 3. กำหนดขนาดมากข้อมูลจะค้างในบัฟเฟอร์มาก4. ถ้าคิดตั้ง Smartdrv ไม่ต้องมีบัฟเฟอร์ก็ได้5. ถ้าบัฟเฟอร์โตเกินไปจะติดตั้งบน HMA ไม่ได้

คำสั่ง dos

เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมคอม ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่ CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้ รูปแบบคำสั่ง CD [drive :] [path] CD[..] เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\ กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows> CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์ CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น) รูปแบบคำสั่ง CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V] [drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ /F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ /V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์ Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา รูปแบบคำสั่ง COPY [Source] [Destination] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง รูปแบบคำสั่ง DIR /P /W /P แสดงผลทีละหน้า/W แสดงในแนวนอนของจอภาพตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก รูปแบบคำสั่ง DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D FDISK ( Fixed Disk) เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้ รูปแบบคำสั่ง FDISK /STATUS ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์ FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดิสก์ รูปแบบคำสั่ง FORMAT drive: [/switches]/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format) /S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos รูปแบบคำสั่ง MD [drive:] pathตัวอย่างการใช้คำสั่ง
D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้ รูปแบบคำสั่ง REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD SCANDISK คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำการแก้ไขรูปแบบคำสั่ง SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX /AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก รูปแบบคำสั่ง DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D FDISK ( Fixed Disk) เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้ รูปแบบคำสั่ง FDISK /STATUS ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์ FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดิสก์ รูปแบบคำสั่ง FORMAT drive: [/switches]/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format) /S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos รูปแบบคำสั่ง MD [drive:] pathตัวอย่างการใช้คำสั่ง
D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้ รูปแบบคำสั่ง REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD SCANDISK คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์ สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำการแก้ไขรูปแบบคำสั่ง SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX /AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และแก้ไขอัตโนมัติ
C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้