วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การปรับแต่ง registry ของ windows เพื่อเพิ่มความเร็วและการกู้คืนส่วนที่เสียหาย

การปรับแต่ง registry ของ windows เพื่อเพิ่มความเร็วและการกู้คืนส่วนที่เสียหาย

เนื้อหาของเรื่องการปรับแต่ง
การ ฺbackup registry
การกู้คือ registry
การปรับแต่ง

รู้จักกับ registry กันก่อน

Registry คือ ฐานข้อมูลส่วนกลางของ windowซึ่งตัว registry นั้นจะเป็นที่เก็บค่าการทำงานทุกอย่างเอา
ไว้ไม่ว่าเป็นการตั้งค่าต่างๆของตัว window, การตั้งค่าของโปรแกรมต่าง, การควบคุม hardwareหรือแม้แต่
กระทั้งค่า User และ password ที่เราใช้ logon เข้า window นั้นก็จะถูกเข้ารหัสและเก็บเอาไว้ในส่วนนี้เช่น
กัน ดังนั้น registry จึงเป็นส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมากและถ้าเกิดว่า registry ถูกปรับแต่งให้เสียหายแม้เพียง
นิดเดียวก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานของ window โดยรวมทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย



การ backup registry และการกู้คืน registry

ก่อนที่เราจะเริ่มการปรับแต่งส่วนต่างๆของ registry นั้นอย่างแรกที่เราต้องทำก็คือการ backup registry
เอาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยเพราะว่า registry นั้นเป็นส่วนที่สำคัญการใส่ค่าผิดเพียงเล้กน้อยก็จะสามารถ
ส่งผลกระทบต่อการทำงานได้เพราะฉะนั้นเรามาเรียนรู้การ backup และ การกู้คืนกัน

***หมายเหตุ การที่เราใช้ system restore ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่ backup และ restore ได้เช่นกัน

การ Backup Registry

1. เข้าไปที่ Start > Run





2. พิมพ์คำสั่งคำว่า regedit





3. เมื่อปรากฏหน้าจอ registry Editor ขึ้นมาแล้วให้เข้าไปที่ File > Export





4. ตั้งชื่อ file ตามต้องการแล้วกด save






การกู้คืน Registry


ถ้าเกิดว่าการปรับแต่งของเราเกิดการผิดพลาดขึ้นมาเราก็สามารถกู้คืนได้ง่ายๆโดยเราต้องเข้าไปที่ file ที่เรา
save เอาไว้แล้ว Double click ขึ้นมาแล้วมันจะปรากฏหน้าจอขึ้นมาถามเราว่าต้องการปรับ registry จริงไหม
ให้เราตอบ yesไป







การปรับแต่ registry ในส่วนทเสียหายและเพิมความเร็ว >> หน้าต่อไป

รู้จัก Registry ก่อนเข้าเจอะระบบ

รู้จัก Registry ก่อนเข้าเจอะระบบ
Registry คือฐานข้อมูลส่วนกลางที่มีความสำคัญสำหรับ Windows เป็นอย่างยิ่งเพราะข้อมูลแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การปรับแต่งค่าต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งรหัสผ่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกบรรจุอยู่ใน Registry ทั้งหมด
Registry จึงมีผลต่อเสถียรภาพของ Windows หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นใน Registry เพียงแห่งเดียว ก็อาจส่งผลให้ Windows ทำงานผิดเพี้ยนหรือล่มไปทั้งระบบก็เป็นได้ ดังนั้นการที่เราจะสามารถควบคุม Windows ได้เหนือผู้ใช้งานทั่วไป การปรับแต่ง Registry จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้
หน้าที่ของ 6 คีย์หลักใน Registry
ภายใน Registry จะประกอบด้วยคีย์หลัก 6 คีย์ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละคีย์ก็ล้วนเชื่มต่อข้อมูลกับไฟล์ System.dat และ User.dat โดยแต่ละคีย์จะมีหน้าที่ดังนี้
HKEY_CLASSES_ROOT เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งภายในเครื่อง
HKEY_CURRENT_CONFIG เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกียวกับการกำหนดค่าต่างๆ ของฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด
HKEY_LOCAL_MACHINE เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการตั้งค่าอื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลภายในคีย์จะนำไปใช้กับผู้ใช้ทุกคนที่เข้ามาในวินโดวส์
HKEY_USERS เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้ทั้งหมดเช่นรายชื่อของผู้ใช้ที่เข้ามาใช้งานหรือรายชื่อผู้ใช้งานเครือข่าย โดยจะมีความสัมพันธ์และเป็นข้อมุลชุดเดียวกับคีย์ HKEY_CURRENT_USER
HKEY_CURRENT_USER เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้ปัจจุบันที่เข้ามาใช้งานเท่านั้น โดยจะมีความสัมพันธ์และเป็นข้อมูลชุดเดียวกับกับคีย์ HKEY_USERS
HKEY_DYN_DATA เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งค่าในระบบ Plug and play รวมถึงค่ารหัสต่าง ๆ ของอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วง สำหรับใน Windows XP จะไม่ปรากฎคีย์นี้

ความเป็นมาและไฟล์สำคัญของ Registry
ในสมัย Windows 3.X การจัดเก็บฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับ Windows ในรูปแบบของ Registry ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะใช้ ไฟล์นามสกุล .ini ชนิด Text file เช่น WIN.INI คอยเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบและค่าต่างๆ ของ Windows แทนแต่ก็มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ทำงานได้ช้า ไฟล์จะมีขนาดใหญ่เกินกว่า 64 KB ไม่ได้ การค้นหา และการจัดระเบียบต่าง ๆ ภายในไฟล์ก็ทำได้ไม่ดีนักต่อมาใน Windows 95/98/ME/2000/NT จนถึง XP ทาง Microsoft จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลางของ Windows ในรูปแบบของโปรแกรม Registry ซึ่งทำให้ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตหมดไป โดย Registry จะประกอบด้วยไฟล์สำคัญ ดังนี้

SYSTEM.DAT สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง อยู่ภายในเครื่อง รวมไปถึงค่าต่าง ๆ ของระบบ Windows โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกโปรแกรม Registry นำไปใช้มนคีย์ที่ชื่อ HKEY_CLASSES_ROOT , HKEY_LOCAL_MACHINE , HKEY_CURRENT_CONFIG ,HKEY_DYN_DATA
USER.DAT สำหรับจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้แต่ละคน รวมไปถึงหน้าตาและการแสดงผล ของ Windows ด้วยเช่น หน้าจอเดสก์ทอป Registry นำไปใช้ในคีย์ชื่อ HKEY_USERS , HKEY_CURRENT_USER
สำหรับใน Windows Me ทาง Microsoft ได้แยกข้อมูลบางส่วน (ส่วนที่เป็น CLASS OBJECT) ออกมาเก็บไว้อีกไฟล์ ซึ่งมีชื่อว่า CLASSES.DAT
โดยเราสามารถค้นหาไฟล์ทั้ง 3 ได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้

1. ไฟล์ทั้ง 3 เป็นไฟล์ที่มีความสำคัญต่อระบบ ดังนั้นจึงไม่ได้ปรากฎให้เป็นเหมือนไฟล์ปกติทั่วไป ก่อนอื่นเราต้องเข้าไปกำหนดให้ Windows แสดงไฟล์ที่ถูกซ่อนทั้งหมดออกมาเสียก่อน โดยเข้าดูไปที่หน้าต่าง c:\windows





2. คลิกเมนู Tool > Folder Options
3. เมื่อปรากฎหน้าต่าง Folder Options ให้คลิกแท็บ View
4. คลิกเลือกช่อง Show hidden files and folders




5. คลิกปุ่ม OK
6. จากนั้นไฟล์สำคัญที่ถูกซ่อนอยู่จะปรากฎให้เห็น ซึ่งรวมถึงไฟล์ SYSTEM.DAT, USER.DAT และ CLASES.DAT ด้วย
7. สำหรับไฟล์ USER.DAT ที่แสดงใน C:\WINDOWS จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางของผู้ใช้แต่ละคนในขณะที่มีการ Logoff ออกจากระบบ แต่ไฟล์ USER.DAT ที่เก็บข้อมูลเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคนจะอยู่ที่
C:\WINDOWS \Profiles\โฟล์เดอร์ที่เป็นชื่อของผู้ใช้แต่ละคน

เทคนิคการปรับแต่ง Registry

โชว์ Background แบบเต็มๆด้วยการซ่อน Desktop
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDesktop ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Background Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispBackgroundPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Appearance Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispAppearancePage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Display Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispSettingsPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Screensaver Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispScrSavPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน Device Manager
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDevMgrPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน Drive ไม่ให้คนอื่นเห็น
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDrives ให้ Double Click ขึ้นมา เลือกใส่ค่าแบบ Decimal แล้วใส่ค่า Value Data เป็นค่าตัวเลขตาม Drive ที่ต้องการให้ซ่อนดังนี้



หากต้องการซ่อนหลายไดรว์พร้อมกัน ก็นำค่าของแต่ละไดรว์มาบวกกัน เช่น ต้องการซ่อนไดรว์ A: D: และ F: ก็ใส่ค่าเท่ากับ 41 เป็นต้น หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก และ Restart เครื่อง


ซ่อนไอคอน Network Neighbourhood
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoNetHood ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


กันไว้ไม่ให้ใครมาเพิ่ม Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoAddPrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


กันไว้ไม่ให้ใครมาลบ Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDeletePrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน My Pictures ตรง Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoSMMyPictures ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ลบลูกศรที่ Shortcut
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CLASSES_ROOT\lnkfile] คลิก Name ที่ชื่อว่า IsShortcut แล้วกดปุ่ม Delete เพื่อลบออกไป หรือ Double Click แล้วใส่ค่าเป็น No


แสดงไฟล์ Operating System ที่ซ่อนอยู่
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า ShowSuperHidden ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


สรุป Command Line
คลิกขวาในพื้นที่ว่างๆบน Desktop ของคุณ หรือพื้นที่บริเวณว่างๆตรง Background ของคุณนั่นเอง และเลือกที่ New >> Shortcut ในช่อง Command line: ให้คุณเลือกข้อความจากด้านล่างนี้ไปใส่ตาม Shortcut ที่คุณต้องการจะสร้าง

C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\USER.EXE,ExitWindows (สำหรับการสั่ง Shutdown)
C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 2 (สำหรับการสั่ง Restart)
C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 0 (สำหรับการสั่ง Logoff)

สำหรับ Win Xp
คลิกขาวบน Desktop เลือก New >> Shortcut จากนั้นพิมพ์

shutdown.exe -s -t 00 (สำหรับการสั่ง Shutdown)
shutdown.exe -r -t 00 (สำหรับการสั่ง Restart)
shutdown.exe -l -t 00 (สำหรับการสั่ง Logoff)


Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรม
ให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมด

เมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepad

ข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ
1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด
2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด

จากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้


วิธีการทำให้สามารถคลิก Mouse ขวาได้ใน Web Site ที่มีการป้องกัน
ซึ่งจะเป็นการปิด Active Scripting ไม่ให้ทำงานนั่นเอง แต่การปิด Active Scripting ควรปิดชั่วคราว ไม่ควรปิดไว้ตลอด เพราะว่าพวก Script ต่างๆในแต่ละ Web Site นั้น บาง Script ก็มีประโยชน์ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่บาง Script ก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่ความน่ารำคาญ เพราะว่าถ้าปิดไม่ให้พวก Script ที่มีประโยชน์ทำงานนั้น มันก็จะกลายเป็นเรื่องไม่ดีไป บางทีอาจจะใช้งานสิ่งต่างๆใน Web Site ของเขาไม่ได้ไปเลยก็มี

วิธีการปิด Active Scripting ทำได้โดยคลิกไปที่เมนู Tools >> Internet Options จากนั้นจะพบกับหน้าต่าง Internet Properties ซึ่งที่หน้าต่างนี้ ให้คลิกเลือกไปที่หัวข้อ Security และคลิกที่ Internet หนึ่งครั้ง และกดปุ่ม Custom Level. คราวนี้จะพบกับหน้าต่าง Security Settings เลื่อนลงมาที่ส่วนของ Scripting >> Active scripting และเลือกให้เป็น Disable แล้วกด OK และตอบ Yes ไปจนเสร็จ จำเป็นที่จะต้องกด Refresh หน้าเว็บนั้นๆด้วย และลองคลิก Mouse ขวาดู ก็จะเห็นว่าคราวนี้สามารถคลิกได้แล้ว


วิธี Download เพลง, หนังที่ปกติจะให้เปิดเล่นแบบ Online
วิธีการโหลดเพลงที่ปกติจะให้เล่นแบบ Online ผ่าน Real Player มาเก็บไว้ที่เครื่องเลยนั้น สามารถทำได้โดย เริ่มต้นให้คลิกขวาตรง Link ใน Web ที่เอาไฟล์สำหรับเปิดเพลงนั้นๆ เลือกไปที่ Save Target As... และรอสักครู่ ต่อจากนั้นก็จะมีหน้าต่าง Save As ปรากฏขึ้นมา ให้ทำการ Save (ในขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ที่ 1 ชื่อ music8569.ram) และเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ Notepad เปิดเจ้าไฟล์ๆนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไม่มีอะไรผิดพลาด ภายในไฟล์จะต้องเป็น URL ซึ่งอาจจะมีหลายๆ URL ก็เป็นไปได้ (หากภายในไฟล์ไม่มี URL แสดงว่า Link ที่ทำการคลิกขวาในข้อ 1 นั้นยังไม่ได้เป็น Link สุดท้าย) จะเห็นว่าไฟล์ที่ได้ทำการ Save Target As... มาเก็บไว้ที่เครื่องในตอนแรกนั้น มันจะบรรจุ URL จริงๆของไฟล์เพลง และคราวนี้เมื่อทราบ URL จริงๆของไฟล์เพลงนั้นแล้ว ก็สามารถทำการ Download ได้ (จะใช้โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดก็ได้)


วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop] ต่อจากนั้นคลิกขวาที่ Folder ชื่อ Desktop นี้แล้วเลือก New >> String Value และให้เปลี่ยนชื่อเป็น MenuShowDelay เรียบร้อยแล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Modify ที่ช่อง Value Data ให้คุณใส่เลข 1 ลงไป จากนั้นกด OK เรียบร้อยแล้ว Restart เครื่องใหม่


วิธีการสร้าง Control Panel ขึ้นมาเป็นของตัวเอง
เปิดหน้าต่าง Control Panel ปกติขึ้นมาค้างไว้ก่อน สร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ โดยให้ไปที่ File >> New >> Folder และให้คลิกที่ Folder ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ให้เปิดออกมา พร้อมกับเอาเจ้าหน้าต่าง Control Panel จริงๆที่เปิดเอาไว้มาวางใกล้ๆ จากนั้นให้ลากเครื่องมือที่ต้องการจากใน Control Panel จริงๆนั้นมาใส่และตอบ Yes ได้เลย ซึ่งตรงนี้อยากได้เครื่องมืออะไรก็สามารถลากเข้ามาได้เลย ซึ่งเครื่องมือต่างๆที่ได้ลากเข้ามานี้ จะมีข้อความนำหน้าชื่อว่า Shortcut to ซึ่งสามารถเปลี่ยนมันเป็นชื่ออะไรก็ได้


วิธีการทำ Start Menu ให้มี List ในแนวนอน
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> String Value แล้วตั้งชื่อว่า StartMenuScrollPrograms ให้ Double Click ขึ้นมาแล้วใส่ค่า Value Data เป็น False หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก


ท่านใดที่กลับมาใช้ Office97 แล้วมีปัญหากับ Access
สำหรับท่านใดที่เคยลง Office 2000 และรู้สึกคุ้นเคยหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้ต้องการกลับมาติดตั้ง Office 97 แทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะทำให้มีปัญหากับโปรแกรม Access 97 แน่นอน (แต่โปรแกรมอื่นๆสามารถใช้ได้ปกติ) คือจะมีข้อความว่า "Microsoft Access ไม่สามารถเริ่มต้นการทำงาน เนื่องจากไม่มีใบอนุญาต (License) สำหรับมันในเครื่องนี้"

วิธีแก้ไขให้ทำดังนี้ คือว่าให้ค้นหาไฟล์ที่ชื่อ hatten.ttf จากเครื่อง ซึ่งปกติไฟล์นี้จะอยู่ที่ C:\WINDOWS\FONTS นั่นเอง จากนั้นลบไฟล์นี้ทิ้ง ต่อจากนั้นให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 97 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อความแน่นอน ก็น่าจะ Restart เครื่องด้วย คราวนี้ก็จะสามารถกลับมาใช้ Access 97 ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว


วิธีการลงทะเบียนชื่อ ใน IRC อย่างถาวร
ขั้นแรกให้ใช้ Pirch Login และทำการ Connect เข้ามาให้เรียบร้อยก่อน วิธีในการลงทะเบียนคือ ให้พิมพ์คำว่า /msg nickserv register E-Mail แต่ตอนลงทะเบียน คุณต้องใช้ชื่อที่เราต้องการลงทะเบียนก่อน ถ้าเกิดว่ายังเป็น Guest????? อยู่ ก็ให้ทำการเปลี่ยนชื่อก่อน โดยพิมพ์ว่า /nick และตามด้วยชื่อที่ต้องการ

จากในตัวอย่างนี้ ต้องการที่จะลงทะเบียนชื่อ TestRegister เอาไว้ โดยใช้ Password ว่า Test และ E-Mail คือ test@yahoo.com ก็ต้องเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น TestRegister ให้ได้ก่อน แล้วพิมพ์คำว่า /msg nickserv register test@yahoo.com และกด Enter ได้เลย และเมื่อทุกอย่างไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : The nickname TestRegister has now been registered to you. นั่นก็หมายความว่า ทำการจองชื่อ TestRegister เอาไว้ได้เรียบร้อยแล้ว

วิธีการต่อไปก็คือให้คุณทำการ Set Kill On โดยให้พิมพ์ว่า /msg nickserv set kill on จากนั้นกดปุ่ม Enter จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : Nickname Protection has been enabled for the nickname TestRegister ซึ่งก็หมายถึงว่า ชื่อของคุณนั้นถูกทำการ Protection เอาไว้เรียบร้อยแล้ว

วิธีในการยืนยันว่าชื่อเป็นของเรา เมื่อคุณเข้า IRC มาใหม่ หลังจากที่คุณทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว และทำการ Set Kill On แล้วด้วย หากคุณหรือใครๆใช้ชื่อหรือ Nickname ว่า TestRegister เข้า IRC มาในครั้งต่อไป จะมีข้อความขึ้นมาว่า

[NickServ] : This nickname is owned by someone else. Please choose another.
[NickServ] : If this is your nickname, please use /NickServ IDENTIFY
[NickServ] : You have 60 seconds to comply before your nickname is changed.

ก็คือว่า ต้องทำการยืนยันชื่อภายใน 60 seconds โดยพิมพ์ว่า /msg nickserv identify อย่างในตัวอย่างนี้ ก็ต้องพิมพ์คำว่า /msg nickserv identify ก็เพราะว่า Password คือ test นั่นเอง และเมื่อกด Enter ก็จะมีข้อความ [NickServ] : Password accepted for the nick TestRegister

ข้อแตกต่างของการตั้ง Set Kill On กับไม่ได้ Set
ถ้าไม่ได้ Set Kill On ไว้ เมื่อมีคนมาใช้ชื่อเรา เค้าก็จะใช้ชื่อเราได้จนกว่าเราจะมาทำการ Kill ชื่อ โดยการใส่คำสั่ง /ns ghost แต่ถ้าเรา Set Kill On ไว้ คนอื่นที่ใช้ชื่อของเรานั้น จะถูกเปลี่ยนชื่อภายใน 60 วินาที

สำหรับเทคนิคนี้ จะใช้กับ Server irc.webmaster.com ถ้าเป็น Microsoft irc.au.ac.th (server abac) ก็เปลี่ยนคำสั่งนิดหน่อย พิมพ์ว่า /msg nickserv register ไม่ต้องใส่ E-Mail แต่การยืนยันชื่อเหมือนกันกับ irc.webmaster.com เช่นเดิม


การแก้ปัญหาลืม Password ใน WinRoute
วิธีการแก้ไขก็คือ ให้คลิกขวาที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอ และเลือกไปที่ Stop WinRoute Engine จากนั้นจะเห็นว่า Icon ของ WinRoute จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีเครื่องหมายลบสีแดงทับอยู่ ต่อจากนั้นให้เปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Kerio\WinRoute\User\0] ซึ่งเมื่อพบแล้ว ให้ลบคีย์ 0 นี้ทิ้ง จากนั้นให้คลิกที่คีย์ User และไปที่เมนู Registry >> Export Registry File เพื่อทำการ Export เก็บเป็น Registry File เอาไว้

ต่อไปให้คุณย้อนขึ้นไปคลิกที่คีย์ชื่อ WinRoute และฝั่งขวาให้มองหา AdminUserAdded เมื่อพบแล้ว ให้ดับเบิลคลิกมันขึ้นมา แล้วแก้ Value Data เป็น 0 และกด OK คราวนี้ให้คุณทำการ Start The WinRoute Engine แล้วทำการดับเบิลคลิกที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอขึ้นมา เพื่อทำการ Login โดยที่ช่อง Username นั้นก็ใส่คำว่า Admin เอาไว้เหมือนเดิม ส่วนช่อง Password ปล่อยเป็นว่างๆเอาไว้ ไม่ต้องใส่อะไร และกดปุ่ม OK ได้เลย ซึ่งหลังจากกด OK ก็จะเห็นได้ว่า สามารถทำการ Login เข้าไปใช้งาน WinRoute ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใส่ Password แต่อย่างใด

แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ คราวนี้จำเป็นที่จะต้องทำการ Stop The WinRoute Engine อีกครั้ง จากนั้นไฟล์ที่เรา Export เอาไว้ ให้ดับเบิลคลิกมันและตอบ Yes และ OK ได้ทันที เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ให้ทำการ Start The WinRoute Engine อีกครั้ง ใช้งานได้ตามปกติ และก็จะสามารถเข้าไปใช้งาน WinRoute ในส่วนของ Admin ได้แล้ว แต่ยังไงก็อย่าลืมเข้าไปเปลี่ยนหรือกำหนด Password ต่างๆใหม่ด้วย ที่เมนู Settings >> Accounts แล้วทีนี้ก็จำไว้ดีๆ อย่าลืมอีก


ปรับขนาดซิสเต็มรีสโตร์
สามารถแก้ไขได้โดยเปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows
\CurrentVersion\StateMgr\Cfg\ReservedDiskSpace] และที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\StateMgr\ReservedDiskSpace] จากนั้นเปลี่ยนค่า Max และ Min เป็นค่าที่ต้องการโดยใช้ชนิดของข้อมูลแบบ DWORD


ปรับค่าคอนฟิคในการต่อเน็ตให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ RcvWindow และ DefaultTTL ให้ดีที่สุด ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\MSTCP] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultRcvWindow ชนิด String Value เป็น 4288 และลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultTTL ชนิด String Value เป็น 128 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่


ปรับค่าเดียลอัพให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ Dialup ให้ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\Class\NetTrans] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMTU ชนิด String Value เป็น 576 และลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMSS ชนิด String Value เป็น 536 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่


เพิ่มค่าเซสชั่นในการเชื่อมต่อให้มากขึ้น
ในวินโดวส์นั้นกำหนดค่าสูงสุดของ HTTP Sessions ไว้จำกัดสำหรับ HTTP 1.0 เป็น 4 ซึ่งทำให้ควรเปิดหน้าต่างอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ได้สูงสุด 4 หน้าต่าง แต่ถ้าใช้ HTTP 1.1 นั้นเป็น 2 ซึ่งยิ่งน้อยไปใหญ่ ถ้าคุณจะเพิ่มค่าก็ทำได้โดยเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Internet Settings] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxConnectionsPerServer (สำหรับ 1.1) และ MaxConnectionsPer1_0Server (สำหรับ 1.0) เป็นค่าแบบ DWORD Value แล้วกำหนดค่าเป็น 8 ทั้งสองตัวก็ได้


ปรับแต่งรีจีสเตอร์ให้ใช้บล็อคไฟล์ที่มีขนาดดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าของขนาดของไฟล์ในแต่ละบล็อคที่ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\FileSystem] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า ContigFileAllocSize ชนิด DWORD Value เป็น 512 สำหรับค่าแบบ Decimal หรือเป็น 200 สำหรับค่าแบบ Hex


เพิ่มแคชในการรีเฟรชหน้าจอ
เปิด Regedit [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer] ใส่ค่าสตริงใหม่ลงที่หน้าต่างด้านซ้าย โดยเลือก Edit >> New >> String Value หรือแก้ไขค่า Max Cached Icons กำหนดค่าเป็น 819


เพิ่มประสิทธิภาพดิสก์แคชแบบแมพแคช
โดยปกติวินโดว์ส 98 จะใช้ส่วนของหน่วยความจำเป็นดิสก์แคช เพื่อเพิ่มความเร็วประสิทธิภาพกับระบบที่มีเมมโมรีมากกว่า 64 MB ของหน่วยความจำ โชคร้ายที่หน่วยความจำทั้งหมดที่ไม่ใช้สำหรับแอปพลิเคชั่น และซึ่งหมายถึงหน่วยความจำของจะน้อยกว่า 64 MB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหน่วยความจำจะเชื่องช้า ถ้ามีโปรแกรมมากกว่าหนึ่งในการใช้ในคราวเดียว โชคดีที่สามารถระงับความสามารถอย่างนี้โดยการแก้ไขรีจีสเตอร์วินโดว์ส

ใช้ Regedit จากนั้นให้ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\VMM] คลิกขวาพื้นที่ว่างเปล่าในด้านขวาของวินโดว์ส และเลือก New แล้วเลือกเป็น Binary Value ใส่ MapCache และกด Enter โดยไม่ต้องใส่ค่าใดๆ


ลบค่าเก่าในคำสั่ง Find ทิ้ง
เราสามารถลบค่าเก่าใน Find ได้โดยการเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\Explorer Bars\{C4EE31F3-4768-11D2-BE5C-00A0C9A83DA1}\FilesNamedMRU] ในหน้าต่างด้านขวา ให้ลบค่าที่ไม่ต้องการออก


ลบค่าเก่าๆในคำสั่ง Run ทิ้ง
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer
\RunMRU] ที่หน้าต่างด้านขวา ลบค่าที่ไม่ต้องการออก


ลบค่าใน Address Bar เฉพาะค่าที่ต้องการไม่ลบทั้งหมด
ต้องการลบโดยปราศจากการเคลียร์ History ทั้งหมด เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\TypedURLs] และลบค่าที่ไม่ต้องการออก


เอา Task Scheduler ออก
Task Scheduler ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติในบางเวอร์ชั่นของวินโดว์ส และยังมีเมื่อติดตั้งอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ สามารถที่จะลบมันออกจากระบบดังนี้

เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\RunServices] ที่ค่า SchedulingAgent กำหนดเป็น mstask.exe เพียงลบค่าดังกล่าวออกไปเท่านั้น


เมื่อ Windows Update ไม่สำเร็จควรทำอย่าไร
วินโดวส์ ME อาจจะมีปัญหาขณะใช้ Windows Update เครื่องอาจจะค้างขณะดาว์นโหลดหรือติดตั้งมัน และบังคับให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทราบว่าอัพเดทเรียบร้อยดีหรือยัง แต่ไม่เป็นไร ใน Windows Update ได้สร้างค่าชุดของคอนฟิคไฟล์เรียกว่า OEMx.INF สร้างขึ้นโดยอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์โดยบันทึกเซกชั่นต่างๆไว้ ให้ลบไฟล์ OEMx.INF ต่างๆนี้ทิ้งไป โดยไปที่ Start >> Find Files or Folders แล้วพิมพ์ OEM*.INF ช่องชื่อไฟล์ในไดเรกทอรี่ \Windows\Inf เมื่อค้นหาหมดแล้ว ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ หาไฟล์ INF ที่มีขนาด 0 ไบต์ แล้วลบออกให้หมด


เพิ่มความเร็วของ Register
เมื่อใช้วินโดวส์ไปแล้วรู้สึกช้าจากรีจีสตรี้ ให้ลองปรับแต่งรีจีสตรี้ด้วยตัวเอง โดยเปิดดอสพร้อมขึ้นมา แล้วพิมพ์ SCANREG /OPT จากนั้นนั่งรอวินโดวส์จะแพ็คข้อมูลให้


ปรับแต่ง Cache สำหรับ Floppy Disk
ไปที่ System Properties และคลิกแถบ Performance และคลิก File System คลิกแถบ Removable Disk และเลือกค่า Enable write-behind caching on all removable disk drives


เพิ่มประสิทธิภาพ Hard Disk
วินโดว์ 98 จะเห็นฮาร์ดดิสก์บนช่อง IDE อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของดิสก์ โดยไปที่ System Properties จากนั้นเลือกแถบ Device Manager แล้วเปิดส่วน Hard Disk Controller จะเห็นดีไวซ์คอนโทรลเลอร์อุปกรณ์ที่ด้านบนของรายการ (ที่เขียนว่า BUS MASTER Controller) จากนั้นเลือกปุ่ม Properties และเลือกแถบ Settings จากนั้นเลือก Both IDE Channels Enabled


ให้วินโดวส์ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ
ถ้าต้องการให้ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สามารถทำได้ดังนี้ โดยเปิด Regedit แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop\AutoEndTasks] ให้แก้ไขค่าเป็น 1 แล้วแก้ค่า WaitToKillAppTimeout เป็นจำนวนวินาทีที่คุณต้องการ เช่นเปลี่ยนเป็น 10


ให้วินโดวส์ใช้แรมให้หมดก่อนจึงค่อยใช้ Virtual Memory มา Swap File
ไปที่ Start >> Run พิมพ์ system.ini หาบรรทัดที่มีหัวข้อว่า [386Enh] แล้วพิมพ์คำว่า ConservativeSwapfileUsage=1 ต่อท้ายบรรทัดล่างสุด วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีแรมมากกว่า 128 ขึ้นไป เพราะมันจะเอาพื้นที่ของ Ram ไปทำ Cache วิธีนี้ทำให้ Com เร็วขึ้น 40% เลยทีเดียว


วิธีเก็บไฟล์ Windows Update ไว้ในเครื่อง
แบบที่อัพเดทอัตโนมัติมาลงเครื่อง พอครบร้อยเปอร์เซ็นต์ จะมีกรอบมาให้ Install อย่าเพิ่ง Install ให้ไป Copy มาก่อน โดยจะซ่อนอยู่ใน Program Files ให้โชว์ All Files และก็อปโฟลเดอร์ชื่อ WindowsUpdate มาไว้ก่อน แล้วค่อย Install เพราะเมื่อ Install แล้ว วินโดว์จะลบโฟลเดอร์นี้ออกไปแบบอัตโนมัติ ไฟล์ Update นี้สามารถเอาไปลงเครื่องอื่นได้ด้วย


เคลียร์การจำการใช้งานใน Document ใน Start Menu
เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าเราใช้งานอะไรบ้าง ทำได้โดยเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น ClearRecentDocsOnExit ดับเบิลคลิก ใส่ค่าเป็น 1


เคลียร์ Bios ด้วยการ Debug
Start >> Program >> Accesories >> MS-DOS Prompt
พอหน้าจอขึ้น C:\ ให้พิมพ์คำว่า
Debug (Then the cursor change to - )
- o 70 2e (โอ วรรค เจ็ดศูนย์ วรรค สองอี)
- o 71 ff (โอ วรรค เจ็ดหนึ่ง วรรค เอฟเอฟ)
- q (คิว)


ตั้งเวลา Shutdown ใน Windows
ใน WinMe
สร้าง ShortCut ใน Scheduled Tasks แล้วให้รัน windows/rundll.exe;user.exe,exitwindows

ใน WinXP
ใช้คำสั่ง [c:\windows\system32\]shutdown.exe [-s|-r|-l] [-t sec]

-s = shutdown
-r = restart
-l = logoff
-t = timeout

ยกตัวอย่างเช่น shutdown.exe -s -t 60 นั่นหมายความว่าให้ Shutdown โดยนับถอยหลัง 60 วินาที


Enable/Disable Registry Editor
วิธี Disable Registry
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น DisableRegisrtyTools ใส่ค่าเท่ากับ 1

วิธี Enable Registry
เปิด Notepad สร้างไฟล์ Enable.reg ขึ้นมา แล้วเขียนตามนี้...

REGEDIT4
[HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System]
"DisableRegistryTools"=dword:00000000

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS
DOS ย่อมาจากคำว่า Disk Operating System หมายถึงระบบปฏิบัติการที่อยู่บนแผ่นดิสก์ เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ ที่นิยมในอดีตและพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะและข้อจำกัดของระบบปฏิบัติการ DOS
1. ต้องพิมพ์คำสั่งต่อจากเครื่องหมาย C:\>
2. ต้องจดคำสั่งและรูปแบบการใช้งาน
3. ยากต่อการใช้งานสำหรับคนที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์
4. ต้องพิมพ์คำสั่งเดิมๆซ้ำกันบ่อยๆ
5. เปิดโปรแกรมได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น
6. ใช้หน่วยความจำของเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธภาพ
7. ใช้เมาท์ได้เป็นบางครั้ง
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ DOS หรือ MS-DOS
ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมควบคุมระบบ ( Operating System หรือ OS ) คือ ส่วนทีสำคัญของซอฟแวร์ระบบ ซึ่งจะจัดการดำเนินการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ต้องมีใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โปรแกรมควบคุมระบบที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกัน เช่น MS-DOS ( Microsoft Disk Operating System ) Windows 95/98/NT, PC-DOS ฯลฯ มีหน้าที่ดังนี้ คือ
1 เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่ายอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิม์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2 จัดการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
3 จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นต้องทำการนำโปรแกรมจัดระบบงาน DOS เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน เราเรียกวิธีการนี้ว่า Boot DOS มี 2 วิธีคือ
1 Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2 Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้
CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)
หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.
เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
CURRENT TIME IS 08:30:15.15
ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )
หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)
เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt
A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง
Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญญลักษณ์ต่อไปนี้
$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
t คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <
d คือ วัน b คือ เครื่องหมาย :
p คือ ระบบปฏิบัติการ q คือ เครื่องหมาย =
v คือ หมายเลขรุ่น e คือ เครื่องหมาย -
n คือ ตัวอักษรที่แสดงชื่อไดร์ฟ h คื่อ การลบตัวอักษรท้ายไป
เหลือแต่เคอร์เซอร์
ตัวอย่าง เช่น C:\>PROMPT $ SOMCHAI กด ENTER
ผลคือ SOMCHAI
หรือ SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ C:\>
การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>
หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า
" BAD COMMAND OR FILE NAME "
ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\
การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95

เริ่มที่เมนู Start
ลือกที่ Programs
เลือกที่ MS-DOS Prompt ดังรูปต่อไปนี้
แสดงการเลือกเมนู เริ่ม start และคลิกเลือก MS-DOS Prompt

แสดงหน้าจอของ MS-DOS Prompt ของ Windows98
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทไฟล์โปรแกรม
ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ และระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)

การทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท
แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้
1 ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]
หมายถึง
Drive เช่น A:, B:
[path]
หมายถึง
ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]
หมายถึง
ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]
หมายถึง
ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN)
ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น
CLS
DATE
แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM
DATE
TIME
แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM
TIME
VER (VERSION)
ดูหมายเลข (version) ของดอส
VER
VOL (VOLUME)
แสดงชื่อของ DISKETTE
VOL [d:]
DIR (DIRECTORY)
ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์
DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE
แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด
TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY
ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้
COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]
เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)
REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE)
ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์
DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND
เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ
PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY)
สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล
MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)
เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ
CD [d:] [path] [Dir_name]CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORYCD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)
ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD
RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
TREE
แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด
TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)
เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)
SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)
ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่
CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL
เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์
LABEL [d:] [volume label]
FORMAT
กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้ กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE
เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ
DISKCOPY [d:] [d:]
เรียบเรียงโดย มันทนา ไปเร็ว, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์