วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การปรับแต่ง registry ของ windows เพื่อเพิ่มความเร็วและการกู้คืนส่วนที่เสียหาย

การปรับแต่ง registry ของ windows เพื่อเพิ่มความเร็วและการกู้คืนส่วนที่เสียหาย

เนื้อหาของเรื่องการปรับแต่ง
การ ฺbackup registry
การกู้คือ registry
การปรับแต่ง

รู้จักกับ registry กันก่อน

Registry คือ ฐานข้อมูลส่วนกลางของ windowซึ่งตัว registry นั้นจะเป็นที่เก็บค่าการทำงานทุกอย่างเอา
ไว้ไม่ว่าเป็นการตั้งค่าต่างๆของตัว window, การตั้งค่าของโปรแกรมต่าง, การควบคุม hardwareหรือแม้แต่
กระทั้งค่า User และ password ที่เราใช้ logon เข้า window นั้นก็จะถูกเข้ารหัสและเก็บเอาไว้ในส่วนนี้เช่น
กัน ดังนั้น registry จึงเป็นส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมากและถ้าเกิดว่า registry ถูกปรับแต่งให้เสียหายแม้เพียง
นิดเดียวก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานของ window โดยรวมทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย



การ backup registry และการกู้คืน registry

ก่อนที่เราจะเริ่มการปรับแต่งส่วนต่างๆของ registry นั้นอย่างแรกที่เราต้องทำก็คือการ backup registry
เอาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยเพราะว่า registry นั้นเป็นส่วนที่สำคัญการใส่ค่าผิดเพียงเล้กน้อยก็จะสามารถ
ส่งผลกระทบต่อการทำงานได้เพราะฉะนั้นเรามาเรียนรู้การ backup และ การกู้คืนกัน

***หมายเหตุ การที่เราใช้ system restore ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการที่ backup และ restore ได้เช่นกัน

การ Backup Registry

1. เข้าไปที่ Start > Run





2. พิมพ์คำสั่งคำว่า regedit





3. เมื่อปรากฏหน้าจอ registry Editor ขึ้นมาแล้วให้เข้าไปที่ File > Export





4. ตั้งชื่อ file ตามต้องการแล้วกด save






การกู้คืน Registry


ถ้าเกิดว่าการปรับแต่งของเราเกิดการผิดพลาดขึ้นมาเราก็สามารถกู้คืนได้ง่ายๆโดยเราต้องเข้าไปที่ file ที่เรา
save เอาไว้แล้ว Double click ขึ้นมาแล้วมันจะปรากฏหน้าจอขึ้นมาถามเราว่าต้องการปรับ registry จริงไหม
ให้เราตอบ yesไป







การปรับแต่ registry ในส่วนทเสียหายและเพิมความเร็ว >> หน้าต่อไป

รู้จัก Registry ก่อนเข้าเจอะระบบ

รู้จัก Registry ก่อนเข้าเจอะระบบ
Registry คือฐานข้อมูลส่วนกลางที่มีความสำคัญสำหรับ Windows เป็นอย่างยิ่งเพราะข้อมูลแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การปรับแต่งค่าต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งรหัสผ่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกบรรจุอยู่ใน Registry ทั้งหมด
Registry จึงมีผลต่อเสถียรภาพของ Windows หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นใน Registry เพียงแห่งเดียว ก็อาจส่งผลให้ Windows ทำงานผิดเพี้ยนหรือล่มไปทั้งระบบก็เป็นได้ ดังนั้นการที่เราจะสามารถควบคุม Windows ได้เหนือผู้ใช้งานทั่วไป การปรับแต่ง Registry จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้
หน้าที่ของ 6 คีย์หลักใน Registry
ภายใน Registry จะประกอบด้วยคีย์หลัก 6 คีย์ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละคีย์ก็ล้วนเชื่มต่อข้อมูลกับไฟล์ System.dat และ User.dat โดยแต่ละคีย์จะมีหน้าที่ดังนี้
HKEY_CLASSES_ROOT เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ติดตั้งภายในเครื่อง
HKEY_CURRENT_CONFIG เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกียวกับการกำหนดค่าต่างๆ ของฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด
HKEY_LOCAL_MACHINE เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการตั้งค่าอื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลภายในคีย์จะนำไปใช้กับผู้ใช้ทุกคนที่เข้ามาในวินโดวส์
HKEY_USERS เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้ทั้งหมดเช่นรายชื่อของผู้ใช้ที่เข้ามาใช้งานหรือรายชื่อผู้ใช้งานเครือข่าย โดยจะมีความสัมพันธ์และเป็นข้อมุลชุดเดียวกับคีย์ HKEY_CURRENT_USER
HKEY_CURRENT_USER เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใช้ปัจจุบันที่เข้ามาใช้งานเท่านั้น โดยจะมีความสัมพันธ์และเป็นข้อมูลชุดเดียวกับกับคีย์ HKEY_USERS
HKEY_DYN_DATA เป็นคีย์สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งค่าในระบบ Plug and play รวมถึงค่ารหัสต่าง ๆ ของอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วง สำหรับใน Windows XP จะไม่ปรากฎคีย์นี้

ความเป็นมาและไฟล์สำคัญของ Registry
ในสมัย Windows 3.X การจัดเก็บฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับ Windows ในรูปแบบของ Registry ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะใช้ ไฟล์นามสกุล .ini ชนิด Text file เช่น WIN.INI คอยเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบและค่าต่างๆ ของ Windows แทนแต่ก็มีข้อจำกัดมากมาย เช่น ทำงานได้ช้า ไฟล์จะมีขนาดใหญ่เกินกว่า 64 KB ไม่ได้ การค้นหา และการจัดระเบียบต่าง ๆ ภายในไฟล์ก็ทำได้ไม่ดีนักต่อมาใน Windows 95/98/ME/2000/NT จนถึง XP ทาง Microsoft จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อมูลส่วนกลางของ Windows ในรูปแบบของโปรแกรม Registry ซึ่งทำให้ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตหมดไป โดย Registry จะประกอบด้วยไฟล์สำคัญ ดังนี้

SYSTEM.DAT สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง อยู่ภายในเครื่อง รวมไปถึงค่าต่าง ๆ ของระบบ Windows โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกโปรแกรม Registry นำไปใช้มนคีย์ที่ชื่อ HKEY_CLASSES_ROOT , HKEY_LOCAL_MACHINE , HKEY_CURRENT_CONFIG ,HKEY_DYN_DATA
USER.DAT สำหรับจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้แต่ละคน รวมไปถึงหน้าตาและการแสดงผล ของ Windows ด้วยเช่น หน้าจอเดสก์ทอป Registry นำไปใช้ในคีย์ชื่อ HKEY_USERS , HKEY_CURRENT_USER
สำหรับใน Windows Me ทาง Microsoft ได้แยกข้อมูลบางส่วน (ส่วนที่เป็น CLASS OBJECT) ออกมาเก็บไว้อีกไฟล์ ซึ่งมีชื่อว่า CLASSES.DAT
โดยเราสามารถค้นหาไฟล์ทั้ง 3 ได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้

1. ไฟล์ทั้ง 3 เป็นไฟล์ที่มีความสำคัญต่อระบบ ดังนั้นจึงไม่ได้ปรากฎให้เป็นเหมือนไฟล์ปกติทั่วไป ก่อนอื่นเราต้องเข้าไปกำหนดให้ Windows แสดงไฟล์ที่ถูกซ่อนทั้งหมดออกมาเสียก่อน โดยเข้าดูไปที่หน้าต่าง c:\windows





2. คลิกเมนู Tool > Folder Options
3. เมื่อปรากฎหน้าต่าง Folder Options ให้คลิกแท็บ View
4. คลิกเลือกช่อง Show hidden files and folders




5. คลิกปุ่ม OK
6. จากนั้นไฟล์สำคัญที่ถูกซ่อนอยู่จะปรากฎให้เห็น ซึ่งรวมถึงไฟล์ SYSTEM.DAT, USER.DAT และ CLASES.DAT ด้วย
7. สำหรับไฟล์ USER.DAT ที่แสดงใน C:\WINDOWS จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางของผู้ใช้แต่ละคนในขณะที่มีการ Logoff ออกจากระบบ แต่ไฟล์ USER.DAT ที่เก็บข้อมูลเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคนจะอยู่ที่
C:\WINDOWS \Profiles\โฟล์เดอร์ที่เป็นชื่อของผู้ใช้แต่ละคน

เทคนิคการปรับแต่ง Registry

โชว์ Background แบบเต็มๆด้วยการซ่อน Desktop
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDesktop ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Background Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispBackgroundPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Appearance Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispAppearancePage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Display Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispSettingsPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อนหน้า Screensaver Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispScrSavPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน Device Manager
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDevMgrPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน Drive ไม่ให้คนอื่นเห็น
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDrives ให้ Double Click ขึ้นมา เลือกใส่ค่าแบบ Decimal แล้วใส่ค่า Value Data เป็นค่าตัวเลขตาม Drive ที่ต้องการให้ซ่อนดังนี้



หากต้องการซ่อนหลายไดรว์พร้อมกัน ก็นำค่าของแต่ละไดรว์มาบวกกัน เช่น ต้องการซ่อนไดรว์ A: D: และ F: ก็ใส่ค่าเท่ากับ 41 เป็นต้น หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก และ Restart เครื่อง


ซ่อนไอคอน Network Neighbourhood
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoNetHood ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


กันไว้ไม่ให้ใครมาเพิ่ม Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoAddPrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


กันไว้ไม่ให้ใครมาลบ Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDeletePrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ซ่อน My Pictures ตรง Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoSMMyPictures ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


ลบลูกศรที่ Shortcut
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CLASSES_ROOT\lnkfile] คลิก Name ที่ชื่อว่า IsShortcut แล้วกดปุ่ม Delete เพื่อลบออกไป หรือ Double Click แล้วใส่ค่าเป็น No


แสดงไฟล์ Operating System ที่ซ่อนอยู่
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า ShowSuperHidden ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง


สรุป Command Line
คลิกขวาในพื้นที่ว่างๆบน Desktop ของคุณ หรือพื้นที่บริเวณว่างๆตรง Background ของคุณนั่นเอง และเลือกที่ New >> Shortcut ในช่อง Command line: ให้คุณเลือกข้อความจากด้านล่างนี้ไปใส่ตาม Shortcut ที่คุณต้องการจะสร้าง

C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\USER.EXE,ExitWindows (สำหรับการสั่ง Shutdown)
C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 2 (สำหรับการสั่ง Restart)
C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 0 (สำหรับการสั่ง Logoff)

สำหรับ Win Xp
คลิกขาวบน Desktop เลือก New >> Shortcut จากนั้นพิมพ์

shutdown.exe -s -t 00 (สำหรับการสั่ง Shutdown)
shutdown.exe -r -t 00 (สำหรับการสั่ง Restart)
shutdown.exe -l -t 00 (สำหรับการสั่ง Logoff)


Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรม
ให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมด

เมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepad

ข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ
1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด
2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด

จากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้


วิธีการทำให้สามารถคลิก Mouse ขวาได้ใน Web Site ที่มีการป้องกัน
ซึ่งจะเป็นการปิด Active Scripting ไม่ให้ทำงานนั่นเอง แต่การปิด Active Scripting ควรปิดชั่วคราว ไม่ควรปิดไว้ตลอด เพราะว่าพวก Script ต่างๆในแต่ละ Web Site นั้น บาง Script ก็มีประโยชน์ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่บาง Script ก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่ความน่ารำคาญ เพราะว่าถ้าปิดไม่ให้พวก Script ที่มีประโยชน์ทำงานนั้น มันก็จะกลายเป็นเรื่องไม่ดีไป บางทีอาจจะใช้งานสิ่งต่างๆใน Web Site ของเขาไม่ได้ไปเลยก็มี

วิธีการปิด Active Scripting ทำได้โดยคลิกไปที่เมนู Tools >> Internet Options จากนั้นจะพบกับหน้าต่าง Internet Properties ซึ่งที่หน้าต่างนี้ ให้คลิกเลือกไปที่หัวข้อ Security และคลิกที่ Internet หนึ่งครั้ง และกดปุ่ม Custom Level. คราวนี้จะพบกับหน้าต่าง Security Settings เลื่อนลงมาที่ส่วนของ Scripting >> Active scripting และเลือกให้เป็น Disable แล้วกด OK และตอบ Yes ไปจนเสร็จ จำเป็นที่จะต้องกด Refresh หน้าเว็บนั้นๆด้วย และลองคลิก Mouse ขวาดู ก็จะเห็นว่าคราวนี้สามารถคลิกได้แล้ว


วิธี Download เพลง, หนังที่ปกติจะให้เปิดเล่นแบบ Online
วิธีการโหลดเพลงที่ปกติจะให้เล่นแบบ Online ผ่าน Real Player มาเก็บไว้ที่เครื่องเลยนั้น สามารถทำได้โดย เริ่มต้นให้คลิกขวาตรง Link ใน Web ที่เอาไฟล์สำหรับเปิดเพลงนั้นๆ เลือกไปที่ Save Target As... และรอสักครู่ ต่อจากนั้นก็จะมีหน้าต่าง Save As ปรากฏขึ้นมา ให้ทำการ Save (ในขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ที่ 1 ชื่อ music8569.ram) และเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ Notepad เปิดเจ้าไฟล์ๆนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งหากไม่มีอะไรผิดพลาด ภายในไฟล์จะต้องเป็น URL ซึ่งอาจจะมีหลายๆ URL ก็เป็นไปได้ (หากภายในไฟล์ไม่มี URL แสดงว่า Link ที่ทำการคลิกขวาในข้อ 1 นั้นยังไม่ได้เป็น Link สุดท้าย) จะเห็นว่าไฟล์ที่ได้ทำการ Save Target As... มาเก็บไว้ที่เครื่องในตอนแรกนั้น มันจะบรรจุ URL จริงๆของไฟล์เพลง และคราวนี้เมื่อทราบ URL จริงๆของไฟล์เพลงนั้นแล้ว ก็สามารถทำการ Download ได้ (จะใช้โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดก็ได้)


วิธีการเพิ่มความเร็วให้กับ Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop] ต่อจากนั้นคลิกขวาที่ Folder ชื่อ Desktop นี้แล้วเลือก New >> String Value และให้เปลี่ยนชื่อเป็น MenuShowDelay เรียบร้อยแล้ว คลิกขวาแล้วเลือก Modify ที่ช่อง Value Data ให้คุณใส่เลข 1 ลงไป จากนั้นกด OK เรียบร้อยแล้ว Restart เครื่องใหม่


วิธีการสร้าง Control Panel ขึ้นมาเป็นของตัวเอง
เปิดหน้าต่าง Control Panel ปกติขึ้นมาค้างไว้ก่อน สร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ โดยให้ไปที่ File >> New >> Folder และให้คลิกที่ Folder ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ให้เปิดออกมา พร้อมกับเอาเจ้าหน้าต่าง Control Panel จริงๆที่เปิดเอาไว้มาวางใกล้ๆ จากนั้นให้ลากเครื่องมือที่ต้องการจากใน Control Panel จริงๆนั้นมาใส่และตอบ Yes ได้เลย ซึ่งตรงนี้อยากได้เครื่องมืออะไรก็สามารถลากเข้ามาได้เลย ซึ่งเครื่องมือต่างๆที่ได้ลากเข้ามานี้ จะมีข้อความนำหน้าชื่อว่า Shortcut to ซึ่งสามารถเปลี่ยนมันเป็นชื่ออะไรก็ได้


วิธีการทำ Start Menu ให้มี List ในแนวนอน
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> String Value แล้วตั้งชื่อว่า StartMenuScrollPrograms ให้ Double Click ขึ้นมาแล้วใส่ค่า Value Data เป็น False หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก


ท่านใดที่กลับมาใช้ Office97 แล้วมีปัญหากับ Access
สำหรับท่านใดที่เคยลง Office 2000 และรู้สึกคุ้นเคยหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้ต้องการกลับมาติดตั้ง Office 97 แทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะทำให้มีปัญหากับโปรแกรม Access 97 แน่นอน (แต่โปรแกรมอื่นๆสามารถใช้ได้ปกติ) คือจะมีข้อความว่า "Microsoft Access ไม่สามารถเริ่มต้นการทำงาน เนื่องจากไม่มีใบอนุญาต (License) สำหรับมันในเครื่องนี้"

วิธีแก้ไขให้ทำดังนี้ คือว่าให้ค้นหาไฟล์ที่ชื่อ hatten.ttf จากเครื่อง ซึ่งปกติไฟล์นี้จะอยู่ที่ C:\WINDOWS\FONTS นั่นเอง จากนั้นลบไฟล์นี้ทิ้ง ต่อจากนั้นให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 97 ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อความแน่นอน ก็น่าจะ Restart เครื่องด้วย คราวนี้ก็จะสามารถกลับมาใช้ Access 97 ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้ว


วิธีการลงทะเบียนชื่อ ใน IRC อย่างถาวร
ขั้นแรกให้ใช้ Pirch Login และทำการ Connect เข้ามาให้เรียบร้อยก่อน วิธีในการลงทะเบียนคือ ให้พิมพ์คำว่า /msg nickserv register E-Mail แต่ตอนลงทะเบียน คุณต้องใช้ชื่อที่เราต้องการลงทะเบียนก่อน ถ้าเกิดว่ายังเป็น Guest????? อยู่ ก็ให้ทำการเปลี่ยนชื่อก่อน โดยพิมพ์ว่า /nick และตามด้วยชื่อที่ต้องการ

จากในตัวอย่างนี้ ต้องการที่จะลงทะเบียนชื่อ TestRegister เอาไว้ โดยใช้ Password ว่า Test และ E-Mail คือ test@yahoo.com ก็ต้องเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น TestRegister ให้ได้ก่อน แล้วพิมพ์คำว่า /msg nickserv register test@yahoo.com และกด Enter ได้เลย และเมื่อทุกอย่างไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : The nickname TestRegister has now been registered to you. นั่นก็หมายความว่า ทำการจองชื่อ TestRegister เอาไว้ได้เรียบร้อยแล้ว

วิธีการต่อไปก็คือให้คุณทำการ Set Kill On โดยให้พิมพ์ว่า /msg nickserv set kill on จากนั้นกดปุ่ม Enter จะมีข้อความขึ้นมาว่า [NickServ] : Nickname Protection has been enabled for the nickname TestRegister ซึ่งก็หมายถึงว่า ชื่อของคุณนั้นถูกทำการ Protection เอาไว้เรียบร้อยแล้ว

วิธีในการยืนยันว่าชื่อเป็นของเรา เมื่อคุณเข้า IRC มาใหม่ หลังจากที่คุณทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว และทำการ Set Kill On แล้วด้วย หากคุณหรือใครๆใช้ชื่อหรือ Nickname ว่า TestRegister เข้า IRC มาในครั้งต่อไป จะมีข้อความขึ้นมาว่า

[NickServ] : This nickname is owned by someone else. Please choose another.
[NickServ] : If this is your nickname, please use /NickServ IDENTIFY
[NickServ] : You have 60 seconds to comply before your nickname is changed.

ก็คือว่า ต้องทำการยืนยันชื่อภายใน 60 seconds โดยพิมพ์ว่า /msg nickserv identify อย่างในตัวอย่างนี้ ก็ต้องพิมพ์คำว่า /msg nickserv identify ก็เพราะว่า Password คือ test นั่นเอง และเมื่อกด Enter ก็จะมีข้อความ [NickServ] : Password accepted for the nick TestRegister

ข้อแตกต่างของการตั้ง Set Kill On กับไม่ได้ Set
ถ้าไม่ได้ Set Kill On ไว้ เมื่อมีคนมาใช้ชื่อเรา เค้าก็จะใช้ชื่อเราได้จนกว่าเราจะมาทำการ Kill ชื่อ โดยการใส่คำสั่ง /ns ghost แต่ถ้าเรา Set Kill On ไว้ คนอื่นที่ใช้ชื่อของเรานั้น จะถูกเปลี่ยนชื่อภายใน 60 วินาที

สำหรับเทคนิคนี้ จะใช้กับ Server irc.webmaster.com ถ้าเป็น Microsoft irc.au.ac.th (server abac) ก็เปลี่ยนคำสั่งนิดหน่อย พิมพ์ว่า /msg nickserv register ไม่ต้องใส่ E-Mail แต่การยืนยันชื่อเหมือนกันกับ irc.webmaster.com เช่นเดิม


การแก้ปัญหาลืม Password ใน WinRoute
วิธีการแก้ไขก็คือ ให้คลิกขวาที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอ และเลือกไปที่ Stop WinRoute Engine จากนั้นจะเห็นว่า Icon ของ WinRoute จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะที่มีเครื่องหมายลบสีแดงทับอยู่ ต่อจากนั้นให้เปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Kerio\WinRoute\User\0] ซึ่งเมื่อพบแล้ว ให้ลบคีย์ 0 นี้ทิ้ง จากนั้นให้คลิกที่คีย์ User และไปที่เมนู Registry >> Export Registry File เพื่อทำการ Export เก็บเป็น Registry File เอาไว้

ต่อไปให้คุณย้อนขึ้นไปคลิกที่คีย์ชื่อ WinRoute และฝั่งขวาให้มองหา AdminUserAdded เมื่อพบแล้ว ให้ดับเบิลคลิกมันขึ้นมา แล้วแก้ Value Data เป็น 0 และกด OK คราวนี้ให้คุณทำการ Start The WinRoute Engine แล้วทำการดับเบิลคลิกที่ Icon ของ WinRoute ตรงมุมขวาล่างของหน้าจอขึ้นมา เพื่อทำการ Login โดยที่ช่อง Username นั้นก็ใส่คำว่า Admin เอาไว้เหมือนเดิม ส่วนช่อง Password ปล่อยเป็นว่างๆเอาไว้ ไม่ต้องใส่อะไร และกดปุ่ม OK ได้เลย ซึ่งหลังจากกด OK ก็จะเห็นได้ว่า สามารถทำการ Login เข้าไปใช้งาน WinRoute ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใส่ Password แต่อย่างใด

แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้ คราวนี้จำเป็นที่จะต้องทำการ Stop The WinRoute Engine อีกครั้ง จากนั้นไฟล์ที่เรา Export เอาไว้ ให้ดับเบิลคลิกมันและตอบ Yes และ OK ได้ทันที เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ให้ทำการ Start The WinRoute Engine อีกครั้ง ใช้งานได้ตามปกติ และก็จะสามารถเข้าไปใช้งาน WinRoute ในส่วนของ Admin ได้แล้ว แต่ยังไงก็อย่าลืมเข้าไปเปลี่ยนหรือกำหนด Password ต่างๆใหม่ด้วย ที่เมนู Settings >> Accounts แล้วทีนี้ก็จำไว้ดีๆ อย่าลืมอีก


ปรับขนาดซิสเต็มรีสโตร์
สามารถแก้ไขได้โดยเปิด Regedit และไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows
\CurrentVersion\StateMgr\Cfg\ReservedDiskSpace] และที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\StateMgr\ReservedDiskSpace] จากนั้นเปลี่ยนค่า Max และ Min เป็นค่าที่ต้องการโดยใช้ชนิดของข้อมูลแบบ DWORD


ปรับค่าคอนฟิคในการต่อเน็ตให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ RcvWindow และ DefaultTTL ให้ดีที่สุด ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\MSTCP] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultRcvWindow ชนิด String Value เป็น 4288 และลองหาหรือเพิ่มค่า DefaultTTL ชนิด String Value เป็น 128 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่


ปรับค่าเดียลอัพให้ดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าการรับข้อมูลของ Dialup ให้ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\Class\NetTrans] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMTU ชนิด String Value เป็น 576 และลองหาหรือเพิ่มค่า MaxMSS ชนิด String Value เป็น 536 จากนั้น Save แล้วออกจากโปรแกรมแล้ว Restart ใหม่


เพิ่มค่าเซสชั่นในการเชื่อมต่อให้มากขึ้น
ในวินโดวส์นั้นกำหนดค่าสูงสุดของ HTTP Sessions ไว้จำกัดสำหรับ HTTP 1.0 เป็น 4 ซึ่งทำให้ควรเปิดหน้าต่างอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ได้สูงสุด 4 หน้าต่าง แต่ถ้าใช้ HTTP 1.1 นั้นเป็น 2 ซึ่งยิ่งน้อยไปใหญ่ ถ้าคุณจะเพิ่มค่าก็ทำได้โดยเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion
\Internet Settings] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า MaxConnectionsPerServer (สำหรับ 1.1) และ MaxConnectionsPer1_0Server (สำหรับ 1.0) เป็นค่าแบบ DWORD Value แล้วกำหนดค่าเป็น 8 ทั้งสองตัวก็ได้


ปรับแต่งรีจีสเตอร์ให้ใช้บล็อคไฟล์ที่มีขนาดดีที่สุด
ถ้าจะปรับแต่งค่าของขนาดของไฟล์ในแต่ละบล็อคที่ดีที่สุด เพราะค่าของวินโดวส์ที่กำหดให้มานั้นไม่เหมาะสม ให้เปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\FileSystem] แล้วลองหาหรือเพิ่มค่า ContigFileAllocSize ชนิด DWORD Value เป็น 512 สำหรับค่าแบบ Decimal หรือเป็น 200 สำหรับค่าแบบ Hex


เพิ่มแคชในการรีเฟรชหน้าจอ
เปิด Regedit [HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer] ใส่ค่าสตริงใหม่ลงที่หน้าต่างด้านซ้าย โดยเลือก Edit >> New >> String Value หรือแก้ไขค่า Max Cached Icons กำหนดค่าเป็น 819


เพิ่มประสิทธิภาพดิสก์แคชแบบแมพแคช
โดยปกติวินโดว์ส 98 จะใช้ส่วนของหน่วยความจำเป็นดิสก์แคช เพื่อเพิ่มความเร็วประสิทธิภาพกับระบบที่มีเมมโมรีมากกว่า 64 MB ของหน่วยความจำ โชคร้ายที่หน่วยความจำทั้งหมดที่ไม่ใช้สำหรับแอปพลิเคชั่น และซึ่งหมายถึงหน่วยความจำของจะน้อยกว่า 64 MB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และหน่วยความจำจะเชื่องช้า ถ้ามีโปรแกรมมากกว่าหนึ่งในการใช้ในคราวเดียว โชคดีที่สามารถระงับความสามารถอย่างนี้โดยการแก้ไขรีจีสเตอร์วินโดว์ส

ใช้ Regedit จากนั้นให้ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\System\CurrentControlSet\Services\VxD\VMM] คลิกขวาพื้นที่ว่างเปล่าในด้านขวาของวินโดว์ส และเลือก New แล้วเลือกเป็น Binary Value ใส่ MapCache และกด Enter โดยไม่ต้องใส่ค่าใดๆ


ลบค่าเก่าในคำสั่ง Find ทิ้ง
เราสามารถลบค่าเก่าใน Find ได้โดยการเปิด Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\Explorer Bars\{C4EE31F3-4768-11D2-BE5C-00A0C9A83DA1}\FilesNamedMRU] ในหน้าต่างด้านขวา ให้ลบค่าที่ไม่ต้องการออก


ลบค่าเก่าๆในคำสั่ง Run ทิ้ง
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer
\RunMRU] ที่หน้าต่างด้านขวา ลบค่าที่ไม่ต้องการออก


ลบค่าใน Address Bar เฉพาะค่าที่ต้องการไม่ลบทั้งหมด
ต้องการลบโดยปราศจากการเคลียร์ History ทั้งหมด เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Internet Explorer\TypedURLs] และลบค่าที่ไม่ต้องการออก


เอา Task Scheduler ออก
Task Scheduler ถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติในบางเวอร์ชั่นของวินโดว์ส และยังมีเมื่อติดตั้งอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ สามารถที่จะลบมันออกจากระบบดังนี้

เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_LOCAL_MACHINE\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\RunServices] ที่ค่า SchedulingAgent กำหนดเป็น mstask.exe เพียงลบค่าดังกล่าวออกไปเท่านั้น


เมื่อ Windows Update ไม่สำเร็จควรทำอย่าไร
วินโดวส์ ME อาจจะมีปัญหาขณะใช้ Windows Update เครื่องอาจจะค้างขณะดาว์นโหลดหรือติดตั้งมัน และบังคับให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ทราบว่าอัพเดทเรียบร้อยดีหรือยัง แต่ไม่เป็นไร ใน Windows Update ได้สร้างค่าชุดของคอนฟิคไฟล์เรียกว่า OEMx.INF สร้างขึ้นโดยอินเตอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์โดยบันทึกเซกชั่นต่างๆไว้ ให้ลบไฟล์ OEMx.INF ต่างๆนี้ทิ้งไป โดยไปที่ Start >> Find Files or Folders แล้วพิมพ์ OEM*.INF ช่องชื่อไฟล์ในไดเรกทอรี่ \Windows\Inf เมื่อค้นหาหมดแล้ว ขยายหน้าต่างให้เต็มจอ หาไฟล์ INF ที่มีขนาด 0 ไบต์ แล้วลบออกให้หมด


เพิ่มความเร็วของ Register
เมื่อใช้วินโดวส์ไปแล้วรู้สึกช้าจากรีจีสตรี้ ให้ลองปรับแต่งรีจีสตรี้ด้วยตัวเอง โดยเปิดดอสพร้อมขึ้นมา แล้วพิมพ์ SCANREG /OPT จากนั้นนั่งรอวินโดวส์จะแพ็คข้อมูลให้


ปรับแต่ง Cache สำหรับ Floppy Disk
ไปที่ System Properties และคลิกแถบ Performance และคลิก File System คลิกแถบ Removable Disk และเลือกค่า Enable write-behind caching on all removable disk drives


เพิ่มประสิทธิภาพ Hard Disk
วินโดว์ 98 จะเห็นฮาร์ดดิสก์บนช่อง IDE อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของดิสก์ โดยไปที่ System Properties จากนั้นเลือกแถบ Device Manager แล้วเปิดส่วน Hard Disk Controller จะเห็นดีไวซ์คอนโทรลเลอร์อุปกรณ์ที่ด้านบนของรายการ (ที่เขียนว่า BUS MASTER Controller) จากนั้นเลือกปุ่ม Properties และเลือกแถบ Settings จากนั้นเลือก Both IDE Channels Enabled


ให้วินโดวส์ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ
ถ้าต้องการให้ปิดงานที่ไม่มีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สามารถทำได้ดังนี้ โดยเปิด Regedit แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Control Panel\Desktop\AutoEndTasks] ให้แก้ไขค่าเป็น 1 แล้วแก้ค่า WaitToKillAppTimeout เป็นจำนวนวินาทีที่คุณต้องการ เช่นเปลี่ยนเป็น 10


ให้วินโดวส์ใช้แรมให้หมดก่อนจึงค่อยใช้ Virtual Memory มา Swap File
ไปที่ Start >> Run พิมพ์ system.ini หาบรรทัดที่มีหัวข้อว่า [386Enh] แล้วพิมพ์คำว่า ConservativeSwapfileUsage=1 ต่อท้ายบรรทัดล่างสุด วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีแรมมากกว่า 128 ขึ้นไป เพราะมันจะเอาพื้นที่ของ Ram ไปทำ Cache วิธีนี้ทำให้ Com เร็วขึ้น 40% เลยทีเดียว


วิธีเก็บไฟล์ Windows Update ไว้ในเครื่อง
แบบที่อัพเดทอัตโนมัติมาลงเครื่อง พอครบร้อยเปอร์เซ็นต์ จะมีกรอบมาให้ Install อย่าเพิ่ง Install ให้ไป Copy มาก่อน โดยจะซ่อนอยู่ใน Program Files ให้โชว์ All Files และก็อปโฟลเดอร์ชื่อ WindowsUpdate มาไว้ก่อน แล้วค่อย Install เพราะเมื่อ Install แล้ว วินโดว์จะลบโฟลเดอร์นี้ออกไปแบบอัตโนมัติ ไฟล์ Update นี้สามารถเอาไปลงเครื่องอื่นได้ด้วย


เคลียร์การจำการใช้งานใน Document ใน Start Menu
เราสามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าเราใช้งานอะไรบ้าง ทำได้โดยเปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น ClearRecentDocsOnExit ดับเบิลคลิก ใส่ค่าเป็น 1


เคลียร์ Bios ด้วยการ Debug
Start >> Program >> Accesories >> MS-DOS Prompt
พอหน้าจอขึ้น C:\ ให้พิมพ์คำว่า
Debug (Then the cursor change to - )
- o 70 2e (โอ วรรค เจ็ดศูนย์ วรรค สองอี)
- o 71 ff (โอ วรรค เจ็ดหนึ่ง วรรค เอฟเอฟ)
- q (คิว)


ตั้งเวลา Shutdown ใน Windows
ใน WinMe
สร้าง ShortCut ใน Scheduled Tasks แล้วให้รัน windows/rundll.exe;user.exe,exitwindows

ใน WinXP
ใช้คำสั่ง [c:\windows\system32\]shutdown.exe [-s|-r|-l] [-t sec]

-s = shutdown
-r = restart
-l = logoff
-t = timeout

ยกตัวอย่างเช่น shutdown.exe -s -t 60 นั่นหมายความว่าให้ Shutdown โดยนับถอยหลัง 60 วินาที


Enable/Disable Registry Editor
วิธี Disable Registry
เปิด Regedit ไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] ที่หน้าต่างด้านขวา ให้หาหรือเพิ่มค่าชนิด DWORD Value แล้วใส่ชื่อเป็น DisableRegisrtyTools ใส่ค่าเท่ากับ 1

วิธี Enable Registry
เปิด Notepad สร้างไฟล์ Enable.reg ขึ้นมา แล้วเขียนตามนี้...

REGEDIT4
[HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System]
"DisableRegistryTools"=dword:00000000

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS

ประวัติและพัฒนาการของระบบปฏิบัติการ DOS
DOS ย่อมาจากคำว่า Disk Operating System หมายถึงระบบปฏิบัติการที่อยู่บนแผ่นดิสก์ เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ ที่นิยมในอดีตและพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะและข้อจำกัดของระบบปฏิบัติการ DOS
1. ต้องพิมพ์คำสั่งต่อจากเครื่องหมาย C:\>
2. ต้องจดคำสั่งและรูปแบบการใช้งาน
3. ยากต่อการใช้งานสำหรับคนที่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์
4. ต้องพิมพ์คำสั่งเดิมๆซ้ำกันบ่อยๆ
5. เปิดโปรแกรมได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น
6. ใช้หน่วยความจำของเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธภาพ
7. ใช้เมาท์ได้เป็นบางครั้ง
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ DOS หรือ MS-DOS
ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมควบคุมระบบ ( Operating System หรือ OS ) คือ ส่วนทีสำคัญของซอฟแวร์ระบบ ซึ่งจะจัดการดำเนินการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ต้องมีใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โปรแกรมควบคุมระบบที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกัน เช่น MS-DOS ( Microsoft Disk Operating System ) Windows 95/98/NT, PC-DOS ฯลฯ มีหน้าที่ดังนี้ คือ
1 เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่ายอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิม์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
2 จัดการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
3 จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นต้องทำการนำโปรแกรมจัดระบบงาน DOS เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน เราเรียกวิธีการนี้ว่า Boot DOS มี 2 วิธีคือ
1 Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2 Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้
CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)
หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.
เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
CURRENT TIME IS 08:30:15.15
ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )
หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)
เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt
A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง
Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญญลักษณ์ต่อไปนี้
$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
t คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <
d คือ วัน b คือ เครื่องหมาย :
p คือ ระบบปฏิบัติการ q คือ เครื่องหมาย =
v คือ หมายเลขรุ่น e คือ เครื่องหมาย -
n คือ ตัวอักษรที่แสดงชื่อไดร์ฟ h คื่อ การลบตัวอักษรท้ายไป
เหลือแต่เคอร์เซอร์
ตัวอย่าง เช่น C:\>PROMPT $ SOMCHAI กด ENTER
ผลคือ SOMCHAI
หรือ SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ C:\>
การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>
หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า
" BAD COMMAND OR FILE NAME "
ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\
การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95

เริ่มที่เมนู Start
ลือกที่ Programs
เลือกที่ MS-DOS Prompt ดังรูปต่อไปนี้
แสดงการเลือกเมนู เริ่ม start และคลิกเลือก MS-DOS Prompt

แสดงหน้าจอของ MS-DOS Prompt ของ Windows98
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทไฟล์โปรแกรม
ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ และระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)

การทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท
แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้
1 ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก
2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร?

ระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการประกอบขึ้นจากชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ และประสานการทำงานระหว่างทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ให้เป็นไปย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปใช้ระบบปฏิบัติการที่จัดเก็บอยู่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอ็มเอสดอส (Microsort Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชัน ระบบปฏิบัติการนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ใช้และพัฒนาการทางด้านซอฟต์แวร์และฮารด์แวร์
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
การเริ่มต้นทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติจากส่วนของชุดคำสั่งที่จัดเก็บอยู่ บนหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อ่านได้อย่างเดียวที่เรียกว่ารอม (Read Only Memory : ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานและทำการบรรจุระบบปฏิบัติการจากแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ ขึ้นสู่หน่วยความจำหลัก หลังจากนี้การควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะถูกบรรจ ุไปอยู่บนหน่วยความจำหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอสที่ถูกบรรจุคือ โปรแกรมคำสั่งที่มีชื่อว่า command.com และกระบวนการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เรียกกันทั่วไปว่า การบูทเครื่อง (boot) คอมพิวเตอร์
การบูทเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ
1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
2. Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]
หมายถึง
Drive เช่น A:, B:
[path]
หมายถึง
ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]
หมายถึง
ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]
หมายถึง
ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN)
ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น
CLS
DATE
แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM
DATE
TIME
แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM
TIME
VER (VERSION)
ดูหมายเลข (version) ของดอส
VER
VOL (VOLUME)
แสดงชื่อของ DISKETTE
VOL [d:]
DIR (DIRECTORY)
ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์
DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE
แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด
TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY
ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้
COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME]
เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม)
REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE)
ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์
DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND
เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ
PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY)
สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล
MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY)
เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ
CD [d:] [path] [Dir_name]CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORYCD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)
ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD
RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
TREE
แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด
TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM)
เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)
SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK)
ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่
CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL
เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์
LABEL [d:] [volume label]
FORMAT
กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้ กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
/s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE
เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ
DISKCOPY [d:] [d:]
เรียบเรียงโดย มันทนา ไปเร็ว, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระบบปฏิบัติการ DOS(DOS Operating System)

1.DOS คืออะไร
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเลคโทรนิคที่ประกอบขึ้นดวยอุปกรณ์ส่วนต่างๆหลายชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดการและควบคุมเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของโปรแกรมที่เราเรียกว่า โปรแกรมจัดระบบงาน(OS:Operating System)สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มี OS ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอยู่หลายชนิด ได้แก่ DOS ,Window 95 , Window NT ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล จัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมควบคุมระบบ (System Software) เป็นระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) มีหน้าที่ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับการอ่าน/เขียนข้อมูล บนแผ่นจานเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ เรียกว่า Disk Operating System (DOS) กล่าวคือเป็น Software ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลนั่นเอง เนื่องจากการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (Disk) ทั้งชนิดที่ใช้หลักการทางแสง (Optical Disk) และชนิดที่ใช้หลักการทางแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เสมอDOS เป็นระบบปฏิบัติการที่มิได้จัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบถาวร (ROM) เหมือนระบบปฏิบัติการอื่นๆ(BIOS) แต่ถูกเก็บบนแผ่นจานเก็บข้อมูลแทน เมื่อเริ่มต้นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (Boot Up) ระบบนี้บางส่วนจะถูกนำเข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราว (RAM) โดยอัตโนมัติ
2.ส่วนประกอบของDOS
DOS มีโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ1. ระบบปฏิบัติการ(Operating System)2.คำสั่งจัดการ(Command)1.ระบบปฏิบัติการ(Operating System)คือส่วนประกอบที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ส่วนควบคุมและคำสั่งพื้นฐาน ในการอ่านการเขียนข้อมูลลงในแผ่นจานเก็บข้อมูล ซึ่งทั้งสองส่วนอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ ณ ตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล IO.SYS , IBM.COM และ MSDOS.SYS ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุม และ COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นส่วนเก็บคำสั่งพื้นฐาน เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal Command)แผ่นจานเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยส่วนควบคุมและส่วนสั่งงานพื้นฐานนี้ เรียกว่า System DOS Disk หรือ Master Disk (โดยทั่วไปเรียก แผ่นดอส) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผ่นจานเก็บข้อมูลแบบอ่อน (Floppy Disk) หรือแผ่นาจานเก็บข้อมูลแบบแข็ง (Hard disk) ส่วนประกอบทั้งสอง จะถูกอ่านจากตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล (Track#0) เข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราวของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) หลังจากขบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ (Boot)ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Boot Record2. IO.SYS , IBM.COM3. MSDOS.SYS4. COMMAND.COM
1. Boot Record เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot) โดยตรง เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกบันทึกไว้ที่ส่วนนี้ หากส่วนนี้ชำรุดจะทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ได้ (ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้) เพราะการจัดการข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลมีส่วนสำคัญต่อการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดให้เครื่องอ่านส่วนของ Boot Record ทันทีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน2. IO.SYS , IBM.COM คือส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล คำสั่งและสัญญาณควบคุม ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เข้ากับส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ และ เชื่อมโยงข้อมูลสู่กันได้ ซึ่งโดยทั่วไปใช้มาตรฐานของบริษัท IBM3. MSDOS.SYS คือศูนย์รวมงานบริการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS Service Routine) เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวก โดยกำหนดให้มีลำดับการทำงานต่อจาก IO.SYS ส่วนประกอบนี้สร้างขึ้นโดยบริษัท Microsoft4. COMMAND.COM คือส่วนที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ- เป็นศูนย์รวมคำสั่งพื้นฐาน ที่ใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal command)- ทำหน้าที่แปลคำสั่ง จากภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยมีลักษณะการแปลแบบคำสั่งต่อคำสั่ง (Interjperter)
2. ส่วนจัดการคำสั่ง (DOS Command)คือ ส่วนของคำสั่งควบคุมการทำงานขั้นประยุกต์ (ส่วนคำสั่งพื้นฐานบรรจุในส่วนของระบบปฏิบัติการ) ส่วนคำสั่งจัดการนี้มิได้ถูกอ่านเข้าสู่ส่วนความจำหลักของเตรื่องคอมพิวเตอร์ แต่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้โดยอ่านจากแผ่นจานเก็บข้อมูล คำสั่งประเภทนี้เรียกว่าคำสั่งภายนอก (External Command)การใช้งานคำสั่งประเภทภายนอก จำเป็นจะต้องเรียกใช้คำสั่งนั้นๆจากแผ่นจานเก็บข้อมูลที่มีคำสั่งบรรจุอยู่ และต้องเป็นคำสั่งในกลุ่มหรือรุ่น (DOS Version) เดียวกันกับคำสั่งควบคุมที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบด้วย
3.การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
เนื่องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเกี่ยวข้องกับการอ่าน/เขียนข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงทำให้ต้องนำระบบควบคุมการอ่าน/เขียนข้อมูลลงบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนเสมอ การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำ DOS เข้าเก็บในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียกว่า ขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot DOS) หรือนิยมเรียกสั้นๆว่า การบูต
การเริ่มต้นระบบสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ1. Cold Boot2.Warm Boot1. Cold Bootหมายถึง การเริ่มต้นระบบ เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำด้วยวิธีการเปิดสวิตซ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ (Power ON) หลังจากที่ได้ปิดสวิตซ์ลงแล้ว (Power OFF) การเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องขึ้นใหม่นี้ ถือว่าเป็นการกระทำในขณะที่เครื่องเย็น (Cold) แม้ว่าจะปิดแล้วเปิดใหม่ในทันทีก็ตาม2. Warm Bootหมายถึง การเริ่มต้นของระบบ ในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ เป็นการกระทำด้วยวิธี Reset เป็นการกระทำในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำขณะอุ่น(Warm) การ Reset สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ1. System Reset2. Software Reset
1. System คือการเริ่มต้นของระบบโดยกดปุ่ม Reset ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีนี้เป็นการเริ่มต้นของระบบโดยส่งสัญญาณคำสั่งถึงตัว CPU โดยตรง2. Software คือการกดปุ่มเริ่มต้นระบบ โดยกดแป้น Ctrl , Alt และแป้น Del ด้วยกัน(ไม่จำเป็นต้องกดพร้อมกัน) หรือกำหนดคำสั่งเริ่มต้นของระบบในโปรแกรม มักนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีปุ่ม ResetWarm Boot เป็นการเริ่มต้นระบบที่นิยมใช้(และควรใช้) เนื่องจากการปิดและการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Cold Boot) ที่เร็วเกินไป(ปิด/เปิดทันทีทันใด) อาจทำให้จานเก็บข้อมูลที่กำลังหมุนด้วยความเร็วสูง (หรือส่วนประกอบอื่นที่มีการหมุน) เช่น Harddisk เกิดกระชากในขณะที่ยังไม่หยุดนิ่งสนิท และชำรุดได้ในที่สุด3. Clean BootClean Boot ไม่ได้เป็นการ Boot แบบที่สาม แต่เป็นการเริ่มต้นระบบแบบลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Cold Boot และ Warm Bootโดยปกติ ทั้ง Clod Boot และ Warm Boot เป็นขบวนการนำส่วนควบคุมและส่วนสั่งการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆและต้องการให้คอมพิวเตอร์อ่านค่าที่กำหนดนั้นๆด้วย เช่น ถ้าต้องการให้เครื่องรู้จักกับเครื่องอ่าน CD-ROM หรือการจัดการกับระบบความจำ เป็นต้น ในกรณีนี้เครื่องคอมพิวเตอร์อาจต้องอ่านแฟ้มข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกสองชุด คือ แฟ้มข้อมูล CONFIG.SYS ที่ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆของระบบ และแฟ้มข้อมูล (AUTOEXEC.BAT) ที่ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งให้เครื่องทำงานอัตโนมัติหลังจากการเริ่มต้นระบบในบางครั้ง การอ่านแฟ้มข้อมูลทั้งสองอาจไม่สำเร็จ หากบางคำสั่งในแฟ้มข้อมูลทั้งสองไม่ถูกต้อง หรือเมื่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเกิดขัดข้อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้อย่างสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้(ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้)ดังนั้น Clean Boot จึงถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องยกเลิกหรือละเว้นการอ่านบางคำสั่งหรือยกเลิกการอ่านทุกคำสั่งจากแฟ้มข้อมูลทั้งสองได้ เปรียบเสมือนเป็นการเริ่มต้นระบบแบบสะอาดปราศจากแฟ้มข้อมูลที่มีปัญหา ( Clean )
4.เครื่องหมายแสดงความพร้อม(Prompt Sign)
เครื่องหมายแสดงความพร้อม คือสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อขบวนการเริ่มต้นของระบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทราบว่า….- ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) ได้ถูกบรรจุในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียบร้อยแล้ว- ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่ออยู่กับเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจานประเภทใด (Current Drive) และสารบัญแฟ้มข้อมูล (Current Directory Name)- เครื่องพร้อมรับข้อมูลจากผู้ใช้ (Promting)Prompt sign ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Current Drive2. Directoty Name3.Cursor
1. Current Driveคืออักษรแสดงชื่อของเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจาน (Disk Drive) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อครั้งหลังสุด ซึ่งแสดงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น A:> , B:> , C:> หรือ D:>เป็นต้น อักษรแสดง Current drive นอกจากเป็นตัวแสดงชื่อของ Disk Drive แล้ว ยังเป็นตัวระบุประเภทของแผ่นจานเก็บข้อมูลอีกด้วยCurrent Drive แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้1. Physical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลที่มีตัวตนสามารถมองเห็นได้(เป็นรูปธรรม) เช่น Harddisk ,CD-ROM หรือ Tape เป็นต้น ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Harddisk ชื่อ C:> อยู่แล้ว 1 ตัว และได้ติดตั้ง Harddisk ชื่อ D:> เพิ่มขึ้นอีก 1ตัว Disk Drive D:> ที่เพิ่มนี้เรียกว่า Physical drive2. Logical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลโดยไม่ได้มีตัวตน(เป็นนามธรรม) ถูกสร้างขึ้นจากส่วนของหน่วยความจำหลัก (RAM) หรือส่วนหนึ่งของ (Harddisk) เช่น การกำหนด Disk drive ชื่อ D:> ขึ้นใช้งาน โดยอาศัยพื้นที่บางส่วนของส่วนความจำหลัก เรียกว่า RAM Drive ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ RAM (หมดสภาพความเป็นส่วนความจำทันทีที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) ขนาดความจุของข้อมูลขึ้นอยู่กับขนาดของส่วนความจำหลักนั่นเองRAM Drive มักสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากการอ่าน/เขียนข้อมูลผ่าน RAM Drive กระทำได้รวดเร็วกว่าการอ่านเขียนแผ่นผ่าน Disk Drive นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลบน Harddisk ด้วยนอกจากนั้น Logical drive ยังหมายรวมถึงการใช้พื้นที่บางส่วนของ Harddisk สร้างเป็น Disk drive ตัวใหม่ด้วย โดยอาจกำหนดชื่อเป็น D:> ,E:> ,F:> ฯลฯ ซึ่งมักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบเครือข่าย ซึ่งต้องใช้พื้นที่ของ Harddisk C:> สร้างส่วนเก็บข้อมูลลูกข่ายความจุของส่วนเก็บเก็บข้อมูลประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความจุของ Harddisk C:> นั่นเอง
2. Directory NameDirectoryหรือ Folder คือชื่อของสารบัญที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล คล้ายห้องที่ใช้เก็บของ โดยทั่วไปมักถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะกับแผ่นจานบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง เช่น High Density Floppy Disk (HD) , Harddisk หรือ CD-ROM เป็นต้น เพื่อให้แฟ้มข้มูลต่างๆถูกจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและการเรียกใช้งาน สารบัญแฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสารบัญหลัก (Main Directory or Root Directory )และสารบัญย่อย (Sub- Directory) โดยปกติแผ่นจานเก็บข้อมูลที่ใช้งานได้มักมี สารบัญหลัก (Main/Root Directory) เป็นส่วนประกอบหลักเสมอ และสารบัญย่อย (Sub Directory) ที่ผู้ใช้จะสร้างขึ้นเองภายหลังซึ่งอาจมีหลายสารบัญย่อยในสารบัญหลัก หรือหลายสารบัญย่อยในสารบัญย่อยอื่นๆได้สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสารบัญหลัก คือเครื่องหมาย Blash Slash (\) ส่วนสารบัญย่อยจะแสดงเป็นชื่อของสารบัญย่อยนั้นๆ
3. Cursorคือเครื่องหมายแสดงตำแหน่งการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นแถบแสงหรือขีดกระพริบ (เปลี่ยนรูปร่างได้ตามลักษณะการใช้งานแต่ละโปรแกรม) ณ ตำแหน่ง Cursor นี้ ผู้ใช้สามารถกำหนด คำสั่ง (Command) หรือชื่อของแฟ้มข้อมูล (File name) ที่ต้องการให้เครื่องทำงานเท่านั้น หารกำหนดเป็นอย่างอื่น เครื่องจะปฏิเสธและแสดงข้อความผิดพลาด (Error Massage) ว่า Bad Command or file name บนจอภาพทันที
5.คำสังหลักๆของDos
วิธีการดูรูปแบบคำสั่งการแสดงรูปแบบคำสั่งของ DOS จะใช้สัญลักษณ์และรูปแบบมาตรฐานตามหลักสากลที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่หมายถึง ตัวคำสั่งหรือข้อความที่เวลาเราใช้ต้องสะกดให้ถูกต้องข้อความที่เป็นตัวพิมพ์เล็กหมายถึง องค์ประกอบต่างๆที่ใช้ประกอบในคำสั่งนั้นๆ[] เป็นเครื่องหมายที่ใช้ครอบส่วนที่เราสามารถละเว้นได้ (จะมีหรือไม่มีในคำสั่งก็ได้) เป็นเครื่องหมายที่ใช้คั่นสิ่งที่เราสามารถเลือกอันใดอันหนึ่งตัวอย่างเช่น จากรูปแบบคำสั่งต่อไปนี้
เราสามารถสรุปได้ว่าFORMAT เป็นตัวคำสั่งที่ต้องสะกดให้ถูกต้องในเวลาใช้งานDrive: เป็นองค์ประกอบที่ต้องระบุคู่กับคำสั่ง FORMAT เสมอ/S เป็นองค์ประกอบของคำสั่งที่สามารถละได้คำสั่ง FORMATเป็นคำสั่งการจัดเตรียมเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆได้ โดยจะแบ่งเนื้อที่ออกเป็นห้องๆที่เรียกว่า “เซกเตอร์(SECTOR).” ซึ่งห้องเหล่านี้จะถูกจัดเรียงกันไว้เป็นวงกลมซ้อนๆกันหลายวง แต่ละวงเราเรียกว่า “แทรค(TRACK)"รูปแบบคำสั่ง
Drive: หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราจะให้ทำการ FORMATแผ่นดิสก์/S เป็นการกำหนดให้เครื่องฯบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์ที่มีการ FORMAT เสร็จแล้วด้วยตัวอย่างFORMAT A:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A
FORMAT B:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว BFORMAT A: /Sหมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A แล้วบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์นั้นด้วย
คำสั่ง HELPในกรณีที่เราต้องการทราบรายละเอียดและวิธีใช้คำสั่งต่างๆของ DOS ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง HELP ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
รูปแบบคำสั่งtopic หมายถึง ชื่อหัวเรื่อง หรือ คำสั่งที่เราต้องการดูรายละเอียด
ตัวอย่างHELP หมายถึงการให้เครื่องฯแสดงรายชื่อของหัวเรื่อง หรือคำสั่ง เพื่อให้เราเลือกดูรายละเอียดวิธีใช้ ตามที่เราต้องการ
HELP FORMATหมายถึง การขอดูรายละเอียดวิธีใช้ ของคำสั่ง FORMAT
คำสั่ง DIRในกรณีที่เราต้องการทราบว่าดิสก์ที่เราใช้อยู่นั้นมีแฟ้มอะไรเก็บอยู่บ้าง และยังคงเหลือเนื้อที่ว่างในดิสก์อีกเท่าไร ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆ โดยการใช้คำสั่ง DIR ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการใช้งาน ดังนี้รูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราต้องการขอดูรายละอียดpath หมายถึง เส้นทาง ที่เราต้องการขอดูรายละเอียดfilename หมายถึง ชื่อและนามสกุลของแฟ้มที่เราต้องการขอดูรายละเอียด/P เป็นการขอดูรายละอียดทีละ 1 หน้าจอ/W เป็นการขอดูรายละเอียดเฉพาะส่วนที่เป็นชื่อและนามสกุลของแฟ้มเท่านั้น
ตัวอย่างDIR Aหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว A
DIR C:หมายถึง ขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:/Wหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:Pหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C ทีละ 1 หน้าจอ
DIR A:/W/Pหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งเก็บไว้ในไดร์ว A ทีละ 1 หน้าจอ
DIR C:\COMMAND.COMหมายถึง ขอดูรายละเอียดของแฟ้ม COMMAND.COM ในไดร์ว C
หมายเหตุ ในกรณีที่เราต้องการดูรายละเอียด เฉพาะแฟ้มเป็นบางกลุ่มที่มีชื่อหรือนามสกุลที่เหมือนกัน ก็สามารถนำเครื่องหมาย * มาใช้ประกอบคำสั่ง DIR ได้ โดยเครื่องหมาย * นี้จะมีความหมายแทนคำว่า “ อะไรก็ได้ ” ตัวอย่างเช่น
DIR *.COM แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึง การขอดูรายละเอียดของชื่อแฟ้มอะไรก็ได้(ทุกๆชื่อ) ที่มีนามสกุล .COM
DIR COMMAND.* แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึงการขอดูรายละเอียดของแฟ้มที่มีชื่อว่า COMMAND นามสกุลอะไรก็ได้
คำสั่ง CLS (ลบจอภาพ)ในกรณีที่เราต้องการลบจอภาพให้ว่าง ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆโดยใช้คำสั่ง CLS ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คำสั่ง COPYเป็นคำสั่งคัดลอกแฟ้มที่เราต้องการไปสร้างแฟ้มใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
sourse หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มต้นทาง(ต้นฉบับ) ที่เราต้องการคัดลอกไปใช้destination หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มปลายทาง ที่ได้จากการคัดลอก
ตัวอย่าง
COPY C: COMMAND.COM A:ABC.XYZหมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C (ฮาร์ดดิสก์) ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ ABC นามสกุล XYZ ในไดร์ว
COPY C: COMMAND.COM A:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ-นามสกุลเดิม (COMMAND) ในไดร์ว A (หมายเหตุ การไม่ระบุชื่อแฟ้มปลายทางจะถือว่าใช้ชื่อ-นามสกุลเดิม)
COPY C:*EXE A:หมายถึงการคัดลอกทุกแฟ้ม(ชื่ออะไรก็ได้) ที่มีนามสกุล EXE จากไดร์ว C ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว A โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
COPY A:ABC.* C:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ ABC นามสกุลอะไรก็ได้ จากไดร์ว A ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว C โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
คำสั่ง REN เป็นคำสั่งให้เครื่องฯเปลี่ยนชื่อแฟ้มไปเป็นชื่อใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive : หมายถึง ไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อpath: หมายถึงเส้นทางที่เป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อfilename1 หมายถึง ชื่อแฟ้มเดิมfilename2 หมายถึง ชื่อแฟ้มใหม่
ตัวอย่าง
REN A:ABC.XYZ MYFILE.PPPหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์วA จากเดิมชื่อ ABC นามสกุล XYZ ไปเป็นชื่อ MYFILE นามสกุล PPP
REN A:MYFILE.PPP TESTหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์ว A จากเดิมชื่อ MYFILE นามสกุล PPP ไปเป็นชื่อ TEST ไม่มีนามสกุล
คำสั่ง DEL [ERASE]เป็นคำสั่งให้เครื่องฯ ลบแฟ้มที่เราไม่ต้องการใช้รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึงไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการลบpath หมายถึง เส้นทาง(ชื่อไดเรกทอรี่) ซึ่งเป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการลบfilename หมายถึง ชื่อแฟ้มที่เราต้องการลบ/P เป็นการกำหนดว่า ก่อนที่จะลบแฟ้ม ให้เครื่องฯแสดงข้อความขึ้นมารอให้เราตอบยืนยันอีกครั้งว่าต้องการลบแน่ๆ
หมายเหตุ เราจะใช้คำสั่ง DEL หรือ ERASE ก็ได้ ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างDEL A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดร์ว A
ERASE A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดรว์ A
DEL A:DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์ว A
DEL DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์วปัจจุบันที่มีเครื่องหมายพร๊อมท์อยู่ เช่น ถ้าตอนนี้บนจอภาพมีเครื่องหมาย C:\> (ซี-พร๊อม)ปรากฎอยู่ ก็จะเป็นการลบแฟ้มในไดร์ว นั่นเอง
DEL A:*.COMหมายถึง ให้เครื่องฯ ลบแฟ้มชื่ออะไรก็ได้(ทุกชื่อ) ที่มีนามสกุล COM ในไดร์ว A
DEL A:*.* หมายถึง ให้เครื่องฯ ลบทุกแฟ้มในไดร์ว A (ชื่ออะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้)

การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)ในปัจจุบัน ดิสก์แต่ละแผ่นถูกประดิษฐ์ให้มีเนื้อที่อย่างเพียงพอที่จะเก็บแฟ้มต่างๆได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์(Harddisk)ด้วยแล้ว ก็สามารถที่จะเก็บแฟ้มได้เป็นหมื่นๆหรือเป็นแสนเป็นล้านแฟ้มเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานแฟ้มต่างๆเหล่านี้สามารถทำได้โดยสะดวก เราจึงจำเป็นต้องมีจัดรายละเอียดชื่อแฟ้มต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ โดยนำแฟ้มที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือต้องใช้ร่วมกันมาเก็บรวมไว้เป็นกลุ่มๆภายในชื่อที่เรากำหนดขึ้น โดยที่เราจะเรียกชื่อเหล่านี้ว่า “สับไดเรกทอรี่ (SubDirectory)” หรือเราเรียกสั้นๆว่า “ไดเรกทอรี่ (Directory)” นั่นเอง

6.การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)
โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์ก็มีลักษณะคล้ายๆกับสารบัญของหนังสือทั่วๆไปนั่นเอง กล่าวคือ ในหนังสือเล่มหนึ่งจะมีหน้าสารบัญ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นที่เราสามารถมองเห็นรายละเอียดชื่อบทต่างๆ ในแต่ละบทก็จะมีรายชื่อหัวข้อย่อยต่างๆลงไปเป็นชั้นๆเพื่อแสดงให้ทราบว่าในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาอะไรเก็บอยู่ในนั้นบ้างสำหรับดิสก์ชนิดต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ก็ตาม ในตอนที่เราสั่ง Format เครื่องฯก็จะสร้างไดเรกทอรี่แรกซึ่งเปรียบเสมือนหน้าสารบัญของหนังสือลงในดิสก์ที่ถูก Format ให้เราเสมอ เราเรียกไดเรกทอรี่ที่เกิดขึ้นอันแรกนี้ว่า “รูทไดเรกทอรี่ (Root Directoty ) ” จากนั้นเมื่อเรามีการสร้างแฟ้มใหม่และบันทึกข้อมูลต่างๆลงในดิสก์ หรือคัดลอกแฟ้มจากที่อื่นมาไว้ในดิสก์แผ่นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะนำชื่อและรายละเอียดต่างๆของแฟ้มนั้น (เช่น ขนาดของแฟ้ม วัน/เดือน/ปี เวลา ที่เราสร้างหรือแก้ไขแฟ้ม) มาเก็บไว้ในรูทไดเรกทอรี่ด้วยเราสามารถสร้างไดเรกทอรี่ของเราเอง ลงไปเป็นส่วนย่อยของรูทไดเรกทอรี่ ในลักษณะเช่นเดียวกับชื่อบทต่างๆในหนังสือ และยังสามารถสร้างไดเรกทอรี่ย่อยๆลงไปในแต่ละไดเรกทอรี่ที่เราสร้างได้ด้วยตัวอย่างเช่น สมมติว่า เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่ในดิสก์แผ่นหนึ่งให้มีโครงสร้างและจัดเก็บแฟ้มต่างๆ
จะเห็นว่าในรูทไดเรกทอรี่นี้(เครื่องหมาย \ หมายถึง รูทไดเรกทอรี่) มี 2 ไดเรกทอรี่ย่อย คือ SOMCHAI และ OS โดยภายในไดเรกทอรี่ OS มีแฟ้มเก็บอยู่ 2 แฟ้มคือ แฟ้ม TEST และ DATA.JOB ส่วนไดเรกทอรี่.นั้นมีไดเรกทอรี่ย่อยอีก 2 ไดเรกทอรี่ คือ THACHER และ OTHER โดยไดเรกทอรี่ TEACHER ใช้เก็บแฟ้ม CONFIG.SYS และ COMMAND.COM ส่วนไดเรกทอรี่ OTHER นั้น ใช้เก็บแฟ้ม ABC.XYZ
การจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่ในการจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่นั้น มีคำสั่งที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม 3 คำสั่ง คือคำสั่ง MDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯสร้างไดเรกทอรี่ ในไดรว์และตำแหน่งที่อยู่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ที่เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่path : หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่และตำแหน่งที่อยู่ที่เราต้องการสร้าง
ตัวอย่าง
MD A:\SOMCHAIหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ SOMCHAI ในรูทไดเรกทอรี่ ( \ ) ของไดร์ว A
MD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงสร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ TEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
MD C:\MYDIRหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ MYDIR ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว C
ดังนั้น การสร้างไดเรกทอรี่ตามโครงสร้าง ของรูปที่ผ่านมาจึงสามารถทำได้โดยป้อนคำสั่งตามลำดับดังนี้MD A:\SOMCHAI แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\TEACHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\OTHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\OS แล้วกดปุ่ม Enter
คำสั่ง CDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯย้ายเข้าไปทำงานในไดเรกทอรี่ที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive:หมายถึง ไดร์วที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงานpath: หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงาน
ตัวอย่างCD \หมายถึง ย้ายเข้ามาทำงานที่ รูทไดเรกทอรี่(ของไดร์วที่เราใช้งานอยู่)
CD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อTEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
CD A:\OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์ว A
CD \ OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์วที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง RDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯลบไดเรกทอรี่ที่เราไม่ต้องการใช้แล้ว
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์ที่มีไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบpath หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ
ตัวอย่าง
RD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงลบไดเรกทอรี่ชื่TEACHER ซึ่งอยู่ในไดเรกทอรี่ SOMCHAIของไดร์ว A
RD A:\OSหมายถึง ลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ของไดร์ว A
หมายเหตุ ไดเรกทอรี่ที่เราจะลบทิ้งได้ จะต้องเป็นไดเรกทอรี่ว่าง กล่าวคือไม่มีแฟ้มหรือไดเรกทอรี่อื่นใดอยู่ในนั้นเลยยกเว้น . กับ .. เท่านั้นตัวอย่างเช่น ถ้าจะลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ซึ่งอยู่ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว A ขั้นแรกก็จะต้องลบแฟ้มต่างๆที่เก็บอยู่ในไดเรกทอรี่ OS นี้ให้หมดเสียก่อน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น (ให้เลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง) จากวิธีที่1 จะเห็นว่า เป็นวิธีที่เราสั่งลบแฟ้มและไดเรกทอรี่โดยที่เราไม่ต้องย้ายไดเรกทอรี่เลยส่วนวิธีที่ 2 เป็นการย้ายเข้าไปอยู่เหนือไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ แล้วสั่งลบแฟ้มทุกแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS (คำสั่ง DEL OS ) จากนั้นสั่งลบไดเรกทอรี่ OS ตามลำดับ (สั่ง RD OSได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกเส้นทางเนื่องจากตอนนี้เราอยู่ในตำแหน่งเหนือถัดขึ้นมาจากไดเรกทอรี่ OS พอดี )หมายเหตุ คำสั่ง DEL นั้นเป็นคำสั่งลบแฟ้ม ดังนั้นหากเราสั่ง DEL แล้วตามด้วยชื่อไดเรกทอรี่ เช่น DEL OS ก็จะเป็นการสั่งลบแฟ้มทุกๆแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS นั่นเองประโยชน์ที่ได้จากการสร้างไดเรกทอรี่การสร้างไดเรกทอรี่ขึ้นมาในแผ่นดิสก์นั้นนอกจากจะทำให้เราสามารถจัดแฟ้มต่างๆแยกเป็นหมวดหมู่ได้แล้ว ยังเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลต่างๆของเราด้วย กล่าวคือ ถ้ามีการย้ายเข้าไปทำงานภายในไดเรกทอรี่ใดเราจะเห็นเฉพาะแฟ้มที่อยู่ในไดเรกทอรี่นั้น ดังนั้น โอกาสที่จะเผลอลบแฟ้มที่ไม่เกี่ยวข้องโดยไม่ตั้งใจก็แทบจะไม่มีเลย
คำสั่งอื่นๆของ DOSคำสั่ง DISKCOPYDISKCOPY เป็นคำสั่งที่มีความแตกต่างไปจาก COPY กล่าวคือ คำสั่ง COPY ธรรมดานั้น จะเป็นการเลือกคัดลอกเอาเฉพาะบางแฟ้มที่เราต้องการเท่านั้น ต่างจากคำสั่ง DISKCOPY ที่เป็นการคัดลอกแผ่นดิสก์ทั้งแผ่นซึ่งจะเลือกเอาเฉพาะบางแฟ้มไม่ได้รูปแบบคำสั่ง
drive1: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นต้นฉบับdrive2: หมายถึงไดร์วที่มีแผ่นเปล่าหรือแผ่นเป้าหมายที่เราจะคัดลอดสิ่งต่างๆจากต้นฉบับลงไป
ตัวอย่างDISKCOPY A: A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว A (ใช้ไดร์วเดียวต้องคอยสลับแผ่นไปมา)DISKCOPY A: B:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว BDISKCOPYหมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันDISKCOPY A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง DATEเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งวันที่(วัน-เดือน-ปี) ของเครื่องฯรูปแบบคำสั่ง
date หมายถึง เดือน-วัน-ปี ที่เรากำหนดให้เครื่องฯหมายเหตุ หากเราไม่ระบุ DATE เครื่องฯก็จะแสดง เดือน- วัน-ปี ปัจจุบันของเครื่องฯ และรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
ตัวอย่าง
DATE 12 – 01 - 1999หมายถึง การตั้งวันที่ของเครื่องฯเป็นวันที่ 1 ธันวาคม 1999DATEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดง เดือน-วัน-ปีปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง TIMEในลักษณะเดียวกันกับคำสั่ง DATE คำสั่ง TIME เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งเวลาของเครื่องฯ
รูปแบบคำสั่ง
time หมายถึง เวลาที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ หากเราไม่ระบุ time เครื่องฯก็จะแสดง เวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เวลา ที่ต้องการตั้งใหม่

ตัวอย่าง
TIME 11.30หมายถึง การตั้งเวลาของเครื่องฯให้เป็น 11.30 น.TIMEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงเวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อนเวลาที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง LABELเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตังชื่อดิสก์(แผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์)หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วปัจจุบันออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นที่เราต้องการตั้งชื่อlabel หมายถึง ชื่อของดิสก์ ที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ 1. หากเราไม่ระบุ drive: เครื่องฯจะถือว่าเป็นการทำงานที่ไดร์วปัจจุบัน2. หากเราไม่ระบุ label เครื่องฯจะแสดงชื่อเดิมของดิสก์ออกมาและรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์ใหม่ตามที่เราต้องการ3. ชื่อของแผ่นที่เราจะตั้งขึ้นนั้น จะเป็นชื่ออะไรก็ได้ แต่จะต้องมีความยาวไม่เกิน 11 ตัวอักษร
ตัวอย่างLABEL A:SYSTEMหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ A ว่า SYSTEM
LABEL PAPAYAหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่า PAPAYA
LABEL A:หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์ว A ออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ

การสร้างคำสั่งใหม่ด้วยแบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)เป็นการนำคำสั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาเขียนเรียงต่อกัน แล้วป้อนเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล .BAT จากนั้น เมื่อเราต้องการใช้งานคำสั่งชุดดังกล่าว ก็เพียงแต่ป้อนชื่อแฟ้มแล้วกด Enter คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานตามคำสั่งเหล่านั้น ต่อเนื่องกันไปทีละคำสั่งโดยอัตโนมัติ เราเรียกแฟ้มที่มีนามสกุลBAT นี้ว่า “แบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)”
วิธีการสร้างและเรียกใช้ BATCH FILEสมมติว่าเราต้องการสร้างแบทช์ไฟล์ชื่อ SUPDIR.BAT เพื่อให้สามารถเรียกดูรายชื่อแฟ้มทั้งจากไดรว์ A และไดร์ว B ได้พร้อมกันโดยมีคำสั่งดังต่อไปนี้ คือ1. ลบจอภาพ (คำสั่ง CLS)2. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR A:)3. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR B:)
ดังนั้น เราจะต้องป้อน 3 คำสั่งนี้เข้าไปเก็บไว้ในแฟ้มชื่อ SUPDIR.BATโดยป้อนคำสั่งจากนั้น ให้ป้อนคำสั่งที่เตรียมไว้จนครบทั้ง 3 คำสั่ง แล้วกดปุ่ม F6 เพื่อบอกการจบของคำสั่งสุดท้าย แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องฯก็จะนำคำสั่งที่เราป้อนทั้ง 3คำสั่ง ไปเก็บไว้ในแฟ้ม SUPDIR.BAT ให้เราตามต้องการหลังจากที่สร้างแฟ้ม SUPDIR.BAT เสร็จแล้วเราสามารถเรียกใช้งานแฟ้มนี้ได้ โดยป้อนคำว่า SUPDIR แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องก็จะทำงานตามคำสั่งต่างๆที่เก็บอยู่ในแบทช์ไฟล์นี้ให้เราตามต้องการ
คำสั่ง ECHOเราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนจอภาพตามต้องการได้ โดยใช้คำสั่ง ECHO ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้รูปแบบคำสั่ง
message หมายถึง ข้อความที่เรากำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงออกมาบนจอภาพ
ตัวอย่าง สมมติว่า เรามีแบทช์ไฟล์ชื่อ XDIR.BAT ซึ่งเก็บคำสั่งต่อไปนี้
ECHO OFF CLS ECHO ****************************ECHO * XTRA DIR SERVICE *ECHO ****************************DIR A:ECHO SEE YOU AGAIN!ECHO ****************************ECHO ON
อธิบายคำสั่งECHO OFF เป็นคำสั่งที่กำหนดว่า ต่อจากนี้ไปให้คอมพิวเตอร์แสดงเฉพาะผลลัพธ์จากการทำงานเท่านั้น ไม่ต้องแสดงคำสั่งที่กำลังทำงานออกมาด้วย เพื่อที่เวลาแสดงข้อความต่างๆจะได้แสดงออกมาอย่างสวยงามCLS เป็นคำสั่ง ลบจอภาพECHO ตามด้วยข้อความ เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสงข้อความนั้นออกมาทางจอภาพDIR A: เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสดงรายละเอียดชื่อแฟ้มในไดร์วECHO ON เป็นคำสั่งให้เครื่องฯกลับมาแสดงตัวคำสั่งที่กำลังทำงานตามเดิม

การเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายกับเน็ตแวร์

ก. เครื่องลูกข่าย DOS - แบบ Bindery Service
ใช้ในการจัดการบริหารเน็ตแวร์ 3 ไม่สามารถจัดการเน็ตแวร์ 4 ได้ อย่างไรก็ตามยังสามารถเข้าใช้เซอร์ฟเวอร์เน็ตแวร์ 4 ในลักษณะเป็นผู้ใช้งานได้
บูทเครื่องลูกข่ายด้วย DOS
ป้อนคำสั่งที่ DOS Prompt ดังนี้ => IPX.COM[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้
Novell IPX/SPX v3.10 (911121) (C) Copyright 1985, 1991 Novell Inc. All Rights Reserved. LAN Option: Plug-and-Play Ethernet Card V2.01c (950905) Hardware Configuration : IRQ = 3, I/O Base = 300h
ป้อนคำสังต่อไปที่ DOS Prompt => NETX.EXE[enter] ปรากฏข้อความบนจอภาพดังนี้
NetWare Workstation Shell V3.32(931117) PTF
(C) Copyright 1993 Novell Inc. All Rights Reserved. Patent Pending. Running on DOS V6.22 Attached to server <ชื่อServer> 09-02-98 7:01:56 am
Login เข้าสู่ Netware ดังนี้ F:[enter] F:\LOGIN> Login ชื่อเซอร์ฟเวอร์/supervisor (ตัวอย่างเช่น Login ISECNW/supervisor) Enter your password :
ใส่รหัสผ่าน[enter] จะปรากฏข้อความดังนี้
Drive A: map to a Local disk.
Drive B: map to a Local disk.
Drive C: map to a Local disk.
Drive F: = <ชื่อServer>: \SYSTEM
-----
SEARCH1: = Z:[<ชื่อServer>\SYS: \PUBLIC]
SEARCH2: = Y:[<ชื่อServer>\SYS: \]
F:\SYSTEM>

คำสัง Unix linux พื้นฐาน ใช้ได้ freebsd

*** คำสัง Unix linux พื้นฐาน ใช้ได้ freebsd ก็อ่านได้ ก๊อออมาเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง *** ls เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file] option ที่มักใช้กันใน ls คือ -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่างการใช้งาน ls -l ls -al ls -F adduser คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root useradd คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser) รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root userdel คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username) ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย passwd คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน passwd [Username] ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา) alias คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้) รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ] ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้ bash คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bash ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell) bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file] ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน cp เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy รูปแบบคำสั่ง cp source target ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1 cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) cat คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cat ตัวอย่าง cat /home/user1 more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ C Compiler คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cc [filename] ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1 cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS) รูบแบบการใช้งาน cd [directory] ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น chfin คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) รูบแบบการใช้งาน chfn [username] ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1 chgrp คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File) ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root chmod คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File) ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r * ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0 การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ 1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม 2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต) กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้ สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว chown คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile) ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1 chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname. chsh คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User) รูบแบบการใช้งาน chsh [Username] ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter] clear คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos) รูบแบบการใช้งาน clear ตัวอย่าง clear [Enter] cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ date ใช้แสดง วันที่ และ เวลา ตัวอย่าง date 17 May 2004 df คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์) รูบแบบการใช้งานdf [option] [file] ตัวอย่าง df [Enter] dmesg คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot) รูบแบบการใช้งาน dmesg ตัวอย่าง dmesg more [Enter] หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ echo คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS) รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล) ตัวอย่าง echo my name is user1 echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2 ed คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS) รูบแบบการใช้งาน ed (fileName) ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq) สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน emacs คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file ) รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName) ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c) exit คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ ) รูบแบบการใช้งาน exit ตัวอย่าง exit finger คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า) รูบแบบการใช้งาน finger [username] ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1 fsck คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos) รูบแบบการใช้งาน fsck [option] ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1 ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ ) รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server) ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก grep คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข ) รูบแบบการใช้งาน grep (option) ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test groupadd คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ groupdel คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ gzip/gunzip คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์) รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file] ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba halt คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน) รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p] ตัวอย่าง #halt คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot history คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key) รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ] ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว ifconfig คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card) รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option] ตัวอย่าง #ifconfig ipchains คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option] ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน jobs ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process) รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID) ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย login คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName) ตัวอย่าง #login:root mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม) -p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง mkdir /home mkdir -p -m755 ~/้home/user1 mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move รูปแบบคำสั่ง mv source target ตัวอย่าง mv *.tar /backup mv test.txt old.txt mv bin oldbin more คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ รูปแบบคำสั่ง more file ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้ = แสดงเลขบรรทัด q ออกจากโปรแกรม เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป h แสดง help ตัวอย่าง more test.txt man คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง) รูบแบบการใช้งานman (Command) ตัวอย่าง #man ls หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ) รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint ตัวอย่าง # การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom #การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount) rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory โครงสร้างคำสั่ง rmdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ -c ทำการสร้างใหม่ (backup) -t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้ -v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล -f ผลลัพธ์ของมาที่ file -x ทำการ restore ตัวอย่าง tar -xvf data.tar talk คำสั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้ รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty] กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.comwrite คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น รูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น ตัวอย่าง write m2k who am i คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น) file คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ รูปแบบคำสั่ง file [option]... file ตัวอย่าง file /bin/sh file report1.doc free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte ตัวอย่าง free free -b free -k pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd uname คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง ตัวอย่าง uname -a hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่ ตัวอย่าง hostname tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่าง tty id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน ต้วอย่าง id ls เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file] option ที่มักใช้กันใน ls คือ -l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย -a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด -F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้ ตัวอย่างการใช้งาน ls -l ls -al ls -F adduser คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root useradd คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser) รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User) ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root userdel คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username) ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย passwd คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน passwd [Username] ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา) alias คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้) รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ] ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้ bash คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bash ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell) bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file] ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน cp เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy รูปแบบคำสั่ง cp source target ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1 cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) cat คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cat ตัวอย่าง cat /home/user1 more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ C Compiler คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS) รูบแบบการใช้งาน cc [filename] ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1 cd คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS) รูบแบบการใช้งาน cd [directory] ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น chfin คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) รูบแบบการใช้งาน chfn [username] ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1 chgrp คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File) ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root chmod คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File) ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r * ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0 การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ 1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม 2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต) กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้ สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว chown คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์) รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile) ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1 chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname. chsh คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User) รูบแบบการใช้งาน chsh [Username] ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter] clear คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos) รูบแบบการใช้งาน clear ตัวอย่าง clear [Enter] cal คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux รูบแบบการใช้งาน cal ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน) cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน) mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้ date ใช้แสดง วันที่ และ เวลา ตัวอย่าง date 17 May 2004 df คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์) รูบแบบการใช้งานdf [option] [file] ตัวอย่าง df [Enter] dmesg คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot) รูบแบบการใช้งาน dmesg ตัวอย่าง dmesg more [Enter] หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ echo คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS) รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล) ตัวอย่าง echo my name is user1 echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2 ed คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS) รูบแบบการใช้งาน ed (fileName) ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq) สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน emacs คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file ) รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName) ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c) exit คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ ) รูบแบบการใช้งาน exit ตัวอย่าง exit finger คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า) รูบแบบการใช้งาน finger [username] ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1 fsck คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos) รูบแบบการใช้งาน fsck [option] ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1 ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ ) รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server) ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก grep คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข ) รูบแบบการใช้งาน grep (option) ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test groupadd คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ groupdel คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User) รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName ) ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ gzip/gunzip คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์) รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file] ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz #gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba halt คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน) รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p] ตัวอย่าง #halt คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot history คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key) รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ] ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว ifconfig คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card) รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option] ตัวอย่าง #ifconfig ipchains คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option] ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall) รูบแบบการใช้งาน jobs ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process) รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID) ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย login คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName) ตัวอย่าง #login:root mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม) -p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง mkdir /home mkdir -p -m755 ~/้home/user1 mv เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move รูปแบบคำสั่ง mv source target ตัวอย่าง mv *.tar /backup mv test.txt old.txt mv bin oldbin more คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ รูปแบบคำสั่ง more file ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้ = แสดงเลขบรรทัด q ออกจากโปรแกรม เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป h แสดง help ตัวอย่าง more test.txt man คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง) รูบแบบการใช้งานman (Command) ตัวอย่าง #man ls หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ) รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint ตัวอย่าง # การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom #การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount) rmdir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory โครงสร้างคำสั่ง rmdir [option] [file] โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home tar เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive รูปแบบคำสั่ง tar [option]... [file]... โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ -c ทำการสร้างใหม่ (backup) -t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้ -v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล -f ผลลัพธ์ของมาที่ file -x ทำการ restore ตัวอย่าง tar -xvf data.tar talk คำสั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้ รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty] กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.comwrite คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น รูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น ตัวอย่าง write m2k who am i คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น) file คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ รูปแบบคำสั่ง file [option]... file ตัวอย่าง file /bin/sh file report1.doc free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte ตัวอย่าง free free -b free -k pwd เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd uname คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง ตัวอย่าง uname -a hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่ ตัวอย่าง hostname tty แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่าง tty id ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน ต้วอย่าง id