วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ระบบปฏิบัติการ DOS(DOS Operating System)

1.DOS คืออะไร
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเลคโทรนิคที่ประกอบขึ้นดวยอุปกรณ์ส่วนต่างๆหลายชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดการและควบคุมเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของโปรแกรมที่เราเรียกว่า โปรแกรมจัดระบบงาน(OS:Operating System)สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มี OS ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอยู่หลายชนิด ได้แก่ DOS ,Window 95 , Window NT ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล จัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมควบคุมระบบ (System Software) เป็นระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) มีหน้าที่ควบคุมและจัดการเกี่ยวกับการอ่าน/เขียนข้อมูล บนแผ่นจานเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ เรียกว่า Disk Operating System (DOS) กล่าวคือเป็น Software ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลนั่นเอง เนื่องจากการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (Disk) ทั้งชนิดที่ใช้หลักการทางแสง (Optical Disk) และชนิดที่ใช้หลักการทางแม่เหล็ก (Magnetic Disk) เสมอDOS เป็นระบบปฏิบัติการที่มิได้จัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบถาวร (ROM) เหมือนระบบปฏิบัติการอื่นๆ(BIOS) แต่ถูกเก็บบนแผ่นจานเก็บข้อมูลแทน เมื่อเริ่มต้นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (Boot Up) ระบบนี้บางส่วนจะถูกนำเข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราว (RAM) โดยอัตโนมัติ
2.ส่วนประกอบของDOS
DOS มีโครงสร้างหลัก 2 ส่วนคือ1. ระบบปฏิบัติการ(Operating System)2.คำสั่งจัดการ(Command)1.ระบบปฏิบัติการ(Operating System)คือส่วนประกอบที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ส่วนควบคุมและคำสั่งพื้นฐาน ในการอ่านการเขียนข้อมูลลงในแผ่นจานเก็บข้อมูล ซึ่งทั้งสองส่วนอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ ณ ตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูล IO.SYS , IBM.COM และ MSDOS.SYS ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุม และ COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นส่วนเก็บคำสั่งพื้นฐาน เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal Command)แผ่นจานเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยส่วนควบคุมและส่วนสั่งงานพื้นฐานนี้ เรียกว่า System DOS Disk หรือ Master Disk (โดยทั่วไปเรียก แผ่นดอส) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผ่นจานเก็บข้อมูลแบบอ่อน (Floppy Disk) หรือแผ่นาจานเก็บข้อมูลแบบแข็ง (Hard disk) ส่วนประกอบทั้งสอง จะถูกอ่านจากตำแหน่งริมนอกสุดของแผ่นจานเก็บข้อมูล (Track#0) เข้าสู่ส่วนความจำชั่วคราวของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) หลังจากขบวนการเริ่มต้นของระบบคอมพิวเตอร์ (Boot)ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Boot Record2. IO.SYS , IBM.COM3. MSDOS.SYS4. COMMAND.COM
1. Boot Record เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot) โดยตรง เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกบันทึกไว้ที่ส่วนนี้ หากส่วนนี้ชำรุดจะทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ได้ (ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้) เพราะการจัดการข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลมีส่วนสำคัญต่อการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดให้เครื่องอ่านส่วนของ Boot Record ทันทีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน2. IO.SYS , IBM.COM คือส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูล คำสั่งและสัญญาณควบคุม ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เข้ากับส่วนประกอบต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ และ เชื่อมโยงข้อมูลสู่กันได้ ซึ่งโดยทั่วไปใช้มาตรฐานของบริษัท IBM3. MSDOS.SYS คือศูนย์รวมงานบริการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS Service Routine) เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวก โดยกำหนดให้มีลำดับการทำงานต่อจาก IO.SYS ส่วนประกอบนี้สร้างขึ้นโดยบริษัท Microsoft4. COMMAND.COM คือส่วนที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ- เป็นศูนย์รวมคำสั่งพื้นฐาน ที่ใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล เรียกว่า คำสั่งภายใน (Internal command)- ทำหน้าที่แปลคำสั่ง จากภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยมีลักษณะการแปลแบบคำสั่งต่อคำสั่ง (Interjperter)
2. ส่วนจัดการคำสั่ง (DOS Command)คือ ส่วนของคำสั่งควบคุมการทำงานขั้นประยุกต์ (ส่วนคำสั่งพื้นฐานบรรจุในส่วนของระบบปฏิบัติการ) ส่วนคำสั่งจัดการนี้มิได้ถูกอ่านเข้าสู่ส่วนความจำหลักของเตรื่องคอมพิวเตอร์ แต่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้โดยอ่านจากแผ่นจานเก็บข้อมูล คำสั่งประเภทนี้เรียกว่าคำสั่งภายนอก (External Command)การใช้งานคำสั่งประเภทภายนอก จำเป็นจะต้องเรียกใช้คำสั่งนั้นๆจากแผ่นจานเก็บข้อมูลที่มีคำสั่งบรรจุอยู่ และต้องเป็นคำสั่งในกลุ่มหรือรุ่น (DOS Version) เดียวกันกับคำสั่งควบคุมที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบด้วย
3.การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
เนื่องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเกี่ยวข้องกับการอ่าน/เขียนข้อมูลบนแผ่นจานเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงทำให้ต้องนำระบบควบคุมการอ่าน/เขียนข้อมูลลงบนแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนเสมอ การนำ DOS เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำ DOS เข้าเก็บในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียกว่า ขบวนการเริ่มต้นของระบบ (Boot DOS) หรือนิยมเรียกสั้นๆว่า การบูต
การเริ่มต้นระบบสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ1. Cold Boot2.Warm Boot1. Cold Bootหมายถึง การเริ่มต้นระบบ เมื่อเริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำด้วยวิธีการเปิดสวิตซ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ (Power ON) หลังจากที่ได้ปิดสวิตซ์ลงแล้ว (Power OFF) การเริ่มเปิดสวิตซ์เครื่องขึ้นใหม่นี้ ถือว่าเป็นการกระทำในขณะที่เครื่องเย็น (Cold) แม้ว่าจะปิดแล้วเปิดใหม่ในทันทีก็ตาม2. Warm Bootหมายถึง การเริ่มต้นของระบบ ในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ เป็นการกระทำด้วยวิธี Reset เป็นการกระทำในขณะที่เครื่องกำลังเปิดใช้งานอยู่ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำขณะอุ่น(Warm) การ Reset สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ1. System Reset2. Software Reset
1. System คือการเริ่มต้นของระบบโดยกดปุ่ม Reset ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีนี้เป็นการเริ่มต้นของระบบโดยส่งสัญญาณคำสั่งถึงตัว CPU โดยตรง2. Software คือการกดปุ่มเริ่มต้นระบบ โดยกดแป้น Ctrl , Alt และแป้น Del ด้วยกัน(ไม่จำเป็นต้องกดพร้อมกัน) หรือกำหนดคำสั่งเริ่มต้นของระบบในโปรแกรม มักนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรม หรือในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีปุ่ม ResetWarm Boot เป็นการเริ่มต้นระบบที่นิยมใช้(และควรใช้) เนื่องจากการปิดและการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Cold Boot) ที่เร็วเกินไป(ปิด/เปิดทันทีทันใด) อาจทำให้จานเก็บข้อมูลที่กำลังหมุนด้วยความเร็วสูง (หรือส่วนประกอบอื่นที่มีการหมุน) เช่น Harddisk เกิดกระชากในขณะที่ยังไม่หยุดนิ่งสนิท และชำรุดได้ในที่สุด3. Clean BootClean Boot ไม่ได้เป็นการ Boot แบบที่สาม แต่เป็นการเริ่มต้นระบบแบบลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Cold Boot และ Warm Bootโดยปกติ ทั้ง Clod Boot และ Warm Boot เป็นขบวนการนำส่วนควบคุมและส่วนสั่งการเกี่ยวกับแผ่นจานเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในกรณีที่ผู้ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆและต้องการให้คอมพิวเตอร์อ่านค่าที่กำหนดนั้นๆด้วย เช่น ถ้าต้องการให้เครื่องรู้จักกับเครื่องอ่าน CD-ROM หรือการจัดการกับระบบความจำ เป็นต้น ในกรณีนี้เครื่องคอมพิวเตอร์อาจต้องอ่านแฟ้มข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกสองชุด คือ แฟ้มข้อมูล CONFIG.SYS ที่ใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆของระบบ และแฟ้มข้อมูล (AUTOEXEC.BAT) ที่ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งให้เครื่องทำงานอัตโนมัติหลังจากการเริ่มต้นระบบในบางครั้ง การอ่านแฟ้มข้อมูลทั้งสองอาจไม่สำเร็จ หากบางคำสั่งในแฟ้มข้อมูลทั้งสองไม่ถูกต้อง หรือเมื่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเกิดขัดข้อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้อย่างสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเริ่มต้นระบบได้(ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้)ดังนั้น Clean Boot จึงถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องยกเลิกหรือละเว้นการอ่านบางคำสั่งหรือยกเลิกการอ่านทุกคำสั่งจากแฟ้มข้อมูลทั้งสองได้ เปรียบเสมือนเป็นการเริ่มต้นระบบแบบสะอาดปราศจากแฟ้มข้อมูลที่มีปัญหา ( Clean )
4.เครื่องหมายแสดงความพร้อม(Prompt Sign)
เครื่องหมายแสดงความพร้อม คือสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อขบวนการเริ่มต้นของระบบเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทราบว่า….- ระบบปฏิบัติการแผ่นจานเก็บข้อมูล (DOS) ได้ถูกบรรจุในส่วนหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เรียบร้อยแล้ว- ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดต่ออยู่กับเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจานประเภทใด (Current Drive) และสารบัญแฟ้มข้อมูล (Current Directory Name)- เครื่องพร้อมรับข้อมูลจากผู้ใช้ (Promting)Prompt sign ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ1. Current Drive2. Directoty Name3.Cursor
1. Current Driveคืออักษรแสดงชื่อของเครื่องอ่าน/เขียนแผ่นจาน (Disk Drive) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อครั้งหลังสุด ซึ่งแสดงด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น A:> , B:> , C:> หรือ D:>เป็นต้น อักษรแสดง Current drive นอกจากเป็นตัวแสดงชื่อของ Disk Drive แล้ว ยังเป็นตัวระบุประเภทของแผ่นจานเก็บข้อมูลอีกด้วยCurrent Drive แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้1. Physical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลที่มีตัวตนสามารถมองเห็นได้(เป็นรูปธรรม) เช่น Harddisk ,CD-ROM หรือ Tape เป็นต้น ในกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Harddisk ชื่อ C:> อยู่แล้ว 1 ตัว และได้ติดตั้ง Harddisk ชื่อ D:> เพิ่มขึ้นอีก 1ตัว Disk Drive D:> ที่เพิ่มนี้เรียกว่า Physical drive2. Logical drive หมายถึงส่วนที่อ่าน/เขียนข้อมูลโดยไม่ได้มีตัวตน(เป็นนามธรรม) ถูกสร้างขึ้นจากส่วนของหน่วยความจำหลัก (RAM) หรือส่วนหนึ่งของ (Harddisk) เช่น การกำหนด Disk drive ชื่อ D:> ขึ้นใช้งาน โดยอาศัยพื้นที่บางส่วนของส่วนความจำหลัก เรียกว่า RAM Drive ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ RAM (หมดสภาพความเป็นส่วนความจำทันทีที่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) ขนาดความจุของข้อมูลขึ้นอยู่กับขนาดของส่วนความจำหลักนั่นเองRAM Drive มักสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากการอ่าน/เขียนข้อมูลผ่าน RAM Drive กระทำได้รวดเร็วกว่าการอ่านเขียนแผ่นผ่าน Disk Drive นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลบน Harddisk ด้วยนอกจากนั้น Logical drive ยังหมายรวมถึงการใช้พื้นที่บางส่วนของ Harddisk สร้างเป็น Disk drive ตัวใหม่ด้วย โดยอาจกำหนดชื่อเป็น D:> ,E:> ,F:> ฯลฯ ซึ่งมักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบเครือข่าย ซึ่งต้องใช้พื้นที่ของ Harddisk C:> สร้างส่วนเก็บข้อมูลลูกข่ายความจุของส่วนเก็บเก็บข้อมูลประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความจุของ Harddisk C:> นั่นเอง
2. Directory NameDirectoryหรือ Folder คือชื่อของสารบัญที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล คล้ายห้องที่ใช้เก็บของ โดยทั่วไปมักถูกกำหนดให้ใช้เฉพาะกับแผ่นจานบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง เช่น High Density Floppy Disk (HD) , Harddisk หรือ CD-ROM เป็นต้น เพื่อให้แฟ้มข้มูลต่างๆถูกจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและการเรียกใช้งาน สารบัญแฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสารบัญหลัก (Main Directory or Root Directory )และสารบัญย่อย (Sub- Directory) โดยปกติแผ่นจานเก็บข้อมูลที่ใช้งานได้มักมี สารบัญหลัก (Main/Root Directory) เป็นส่วนประกอบหลักเสมอ และสารบัญย่อย (Sub Directory) ที่ผู้ใช้จะสร้างขึ้นเองภายหลังซึ่งอาจมีหลายสารบัญย่อยในสารบัญหลัก หรือหลายสารบัญย่อยในสารบัญย่อยอื่นๆได้สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสารบัญหลัก คือเครื่องหมาย Blash Slash (\) ส่วนสารบัญย่อยจะแสดงเป็นชื่อของสารบัญย่อยนั้นๆ
3. Cursorคือเครื่องหมายแสดงตำแหน่งการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นแถบแสงหรือขีดกระพริบ (เปลี่ยนรูปร่างได้ตามลักษณะการใช้งานแต่ละโปรแกรม) ณ ตำแหน่ง Cursor นี้ ผู้ใช้สามารถกำหนด คำสั่ง (Command) หรือชื่อของแฟ้มข้อมูล (File name) ที่ต้องการให้เครื่องทำงานเท่านั้น หารกำหนดเป็นอย่างอื่น เครื่องจะปฏิเสธและแสดงข้อความผิดพลาด (Error Massage) ว่า Bad Command or file name บนจอภาพทันที
5.คำสังหลักๆของDos
วิธีการดูรูปแบบคำสั่งการแสดงรูปแบบคำสั่งของ DOS จะใช้สัญลักษณ์และรูปแบบมาตรฐานตามหลักสากลที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่หมายถึง ตัวคำสั่งหรือข้อความที่เวลาเราใช้ต้องสะกดให้ถูกต้องข้อความที่เป็นตัวพิมพ์เล็กหมายถึง องค์ประกอบต่างๆที่ใช้ประกอบในคำสั่งนั้นๆ[] เป็นเครื่องหมายที่ใช้ครอบส่วนที่เราสามารถละเว้นได้ (จะมีหรือไม่มีในคำสั่งก็ได้) เป็นเครื่องหมายที่ใช้คั่นสิ่งที่เราสามารถเลือกอันใดอันหนึ่งตัวอย่างเช่น จากรูปแบบคำสั่งต่อไปนี้
เราสามารถสรุปได้ว่าFORMAT เป็นตัวคำสั่งที่ต้องสะกดให้ถูกต้องในเวลาใช้งานDrive: เป็นองค์ประกอบที่ต้องระบุคู่กับคำสั่ง FORMAT เสมอ/S เป็นองค์ประกอบของคำสั่งที่สามารถละได้คำสั่ง FORMATเป็นคำสั่งการจัดเตรียมเนื้อที่ในแผ่นดิสก์ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆได้ โดยจะแบ่งเนื้อที่ออกเป็นห้องๆที่เรียกว่า “เซกเตอร์(SECTOR).” ซึ่งห้องเหล่านี้จะถูกจัดเรียงกันไว้เป็นวงกลมซ้อนๆกันหลายวง แต่ละวงเราเรียกว่า “แทรค(TRACK)"รูปแบบคำสั่ง
Drive: หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราจะให้ทำการ FORMATแผ่นดิสก์/S เป็นการกำหนดให้เครื่องฯบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์ที่มีการ FORMAT เสร็จแล้วด้วยตัวอย่างFORMAT A:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A
FORMAT B:หมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว BFORMAT A: /Sหมายถึงการ Format แผ่นดิสก์ในไดร์ว A แล้วบันทึกแฟ้มระบบของ DOS ลงในแผ่นดิสก์นั้นด้วย
คำสั่ง HELPในกรณีที่เราต้องการทราบรายละเอียดและวิธีใช้คำสั่งต่างๆของ DOS ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง HELP ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
รูปแบบคำสั่งtopic หมายถึง ชื่อหัวเรื่อง หรือ คำสั่งที่เราต้องการดูรายละเอียด
ตัวอย่างHELP หมายถึงการให้เครื่องฯแสดงรายชื่อของหัวเรื่อง หรือคำสั่ง เพื่อให้เราเลือกดูรายละเอียดวิธีใช้ ตามที่เราต้องการ
HELP FORMATหมายถึง การขอดูรายละเอียดวิธีใช้ ของคำสั่ง FORMAT
คำสั่ง DIRในกรณีที่เราต้องการทราบว่าดิสก์ที่เราใช้อยู่นั้นมีแฟ้มอะไรเก็บอยู่บ้าง และยังคงเหลือเนื้อที่ว่างในดิสก์อีกเท่าไร ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆ โดยการใช้คำสั่ง DIR ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการใช้งาน ดังนี้รูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ว(Disk Drive : เครื่องอ่าน-บันทึกแผ่นดิสก์) ที่เราต้องการขอดูรายละอียดpath หมายถึง เส้นทาง ที่เราต้องการขอดูรายละเอียดfilename หมายถึง ชื่อและนามสกุลของแฟ้มที่เราต้องการขอดูรายละเอียด/P เป็นการขอดูรายละอียดทีละ 1 หน้าจอ/W เป็นการขอดูรายละเอียดเฉพาะส่วนที่เป็นชื่อและนามสกุลของแฟ้มเท่านั้น
ตัวอย่างDIR Aหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว A
DIR C:หมายถึง ขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:/Wหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C
DIR C:Pหมายถึง การขอดูรายละเอียดของสิ่งที่เก็บไว้ในไดร์ว C ทีละ 1 หน้าจอ
DIR A:/W/Pหมายถึง การขอดูเฉพาะชื่อและนามสกุลของสิ่งเก็บไว้ในไดร์ว A ทีละ 1 หน้าจอ
DIR C:\COMMAND.COMหมายถึง ขอดูรายละเอียดของแฟ้ม COMMAND.COM ในไดร์ว C
หมายเหตุ ในกรณีที่เราต้องการดูรายละเอียด เฉพาะแฟ้มเป็นบางกลุ่มที่มีชื่อหรือนามสกุลที่เหมือนกัน ก็สามารถนำเครื่องหมาย * มาใช้ประกอบคำสั่ง DIR ได้ โดยเครื่องหมาย * นี้จะมีความหมายแทนคำว่า “ อะไรก็ได้ ” ตัวอย่างเช่น
DIR *.COM แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึง การขอดูรายละเอียดของชื่อแฟ้มอะไรก็ได้(ทุกๆชื่อ) ที่มีนามสกุล .COM
DIR COMMAND.* แล้วกดปุ่ม Enterหมายถึงการขอดูรายละเอียดของแฟ้มที่มีชื่อว่า COMMAND นามสกุลอะไรก็ได้
คำสั่ง CLS (ลบจอภาพ)ในกรณีที่เราต้องการลบจอภาพให้ว่าง ก็สามารถทำได้โดยง่ายๆโดยใช้คำสั่ง CLS ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คำสั่ง COPYเป็นคำสั่งคัดลอกแฟ้มที่เราต้องการไปสร้างแฟ้มใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
sourse หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มต้นทาง(ต้นฉบับ) ที่เราต้องการคัดลอกไปใช้destination หมายถึง ตำแหน่งที่อยู่และชื่อของแฟ้มปลายทาง ที่ได้จากการคัดลอก
ตัวอย่าง
COPY C: COMMAND.COM A:ABC.XYZหมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C (ฮาร์ดดิสก์) ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ ABC นามสกุล XYZ ในไดร์ว
COPY C: COMMAND.COM A:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ COMMAND นามสกุล COM จากไดร์ว C ไปสร้างเป็นแฟ้มชื่อ-นามสกุลเดิม (COMMAND) ในไดร์ว A (หมายเหตุ การไม่ระบุชื่อแฟ้มปลายทางจะถือว่าใช้ชื่อ-นามสกุลเดิม)
COPY C:*EXE A:หมายถึงการคัดลอกทุกแฟ้ม(ชื่ออะไรก็ได้) ที่มีนามสกุล EXE จากไดร์ว C ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว A โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
COPY A:ABC.* C:หมายถึง การคัดลอกแฟ้มชื่อ ABC นามสกุลอะไรก็ได้ จากไดร์ว A ไปสร้างแฟ้มในไดร์ว C โดยใช้ชื่อ-นามสกุลตามแฟ้มเดิม
คำสั่ง REN เป็นคำสั่งให้เครื่องฯเปลี่ยนชื่อแฟ้มไปเป็นชื่อใหม่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive : หมายถึง ไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อpath: หมายถึงเส้นทางที่เป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการเปลี่ยนชื่อfilename1 หมายถึง ชื่อแฟ้มเดิมfilename2 หมายถึง ชื่อแฟ้มใหม่
ตัวอย่าง
REN A:ABC.XYZ MYFILE.PPPหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์วA จากเดิมชื่อ ABC นามสกุล XYZ ไปเป็นชื่อ MYFILE นามสกุล PPP
REN A:MYFILE.PPP TESTหมายถึง ให้เปลี่ยนชื่อแฟ้มในไดร์ว A จากเดิมชื่อ MYFILE นามสกุล PPP ไปเป็นชื่อ TEST ไม่มีนามสกุล
คำสั่ง DEL [ERASE]เป็นคำสั่งให้เครื่องฯ ลบแฟ้มที่เราไม่ต้องการใช้รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึงไดร์วที่มีแฟ้มที่เราต้องการลบpath หมายถึง เส้นทาง(ชื่อไดเรกทอรี่) ซึ่งเป็นที่อยู่ของแฟ้มที่เราต้องการลบfilename หมายถึง ชื่อแฟ้มที่เราต้องการลบ/P เป็นการกำหนดว่า ก่อนที่จะลบแฟ้ม ให้เครื่องฯแสดงข้อความขึ้นมารอให้เราตอบยืนยันอีกครั้งว่าต้องการลบแน่ๆ
หมายเหตุ เราจะใช้คำสั่ง DEL หรือ ERASE ก็ได้ ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างDEL A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดร์ว A
ERASE A:TESTหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ TEST (ไม่มีนามสกุล) ในไดรว์ A
DEL A:DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์ว A
DEL DATA.JOBหมายถึง ให้เครื่องฯลบแฟ้มชื่อ DATA นามสกุล JOB ในไดร์วปัจจุบันที่มีเครื่องหมายพร๊อมท์อยู่ เช่น ถ้าตอนนี้บนจอภาพมีเครื่องหมาย C:\> (ซี-พร๊อม)ปรากฎอยู่ ก็จะเป็นการลบแฟ้มในไดร์ว นั่นเอง
DEL A:*.COMหมายถึง ให้เครื่องฯ ลบแฟ้มชื่ออะไรก็ได้(ทุกชื่อ) ที่มีนามสกุล COM ในไดร์ว A
DEL A:*.* หมายถึง ให้เครื่องฯ ลบทุกแฟ้มในไดร์ว A (ชื่ออะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้)

การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)ในปัจจุบัน ดิสก์แต่ละแผ่นถูกประดิษฐ์ให้มีเนื้อที่อย่างเพียงพอที่จะเก็บแฟ้มต่างๆได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์(Harddisk)ด้วยแล้ว ก็สามารถที่จะเก็บแฟ้มได้เป็นหมื่นๆหรือเป็นแสนเป็นล้านแฟ้มเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานแฟ้มต่างๆเหล่านี้สามารถทำได้โดยสะดวก เราจึงจำเป็นต้องมีจัดรายละเอียดชื่อแฟ้มต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ โดยนำแฟ้มที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือต้องใช้ร่วมกันมาเก็บรวมไว้เป็นกลุ่มๆภายในชื่อที่เรากำหนดขึ้น โดยที่เราจะเรียกชื่อเหล่านี้ว่า “สับไดเรกทอรี่ (SubDirectory)” หรือเราเรียกสั้นๆว่า “ไดเรกทอรี่ (Directory)” นั่นเอง

6.การจัดการไดเรกทอรี่(Directory)
โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์โครงสร้างของไดเรกทอรี่ในดิสก์ก็มีลักษณะคล้ายๆกับสารบัญของหนังสือทั่วๆไปนั่นเอง กล่าวคือ ในหนังสือเล่มหนึ่งจะมีหน้าสารบัญ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นที่เราสามารถมองเห็นรายละเอียดชื่อบทต่างๆ ในแต่ละบทก็จะมีรายชื่อหัวข้อย่อยต่างๆลงไปเป็นชั้นๆเพื่อแสดงให้ทราบว่าในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาอะไรเก็บอยู่ในนั้นบ้างสำหรับดิสก์ชนิดต่างๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ก็ตาม ในตอนที่เราสั่ง Format เครื่องฯก็จะสร้างไดเรกทอรี่แรกซึ่งเปรียบเสมือนหน้าสารบัญของหนังสือลงในดิสก์ที่ถูก Format ให้เราเสมอ เราเรียกไดเรกทอรี่ที่เกิดขึ้นอันแรกนี้ว่า “รูทไดเรกทอรี่ (Root Directoty ) ” จากนั้นเมื่อเรามีการสร้างแฟ้มใหม่และบันทึกข้อมูลต่างๆลงในดิสก์ หรือคัดลอกแฟ้มจากที่อื่นมาไว้ในดิสก์แผ่นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะนำชื่อและรายละเอียดต่างๆของแฟ้มนั้น (เช่น ขนาดของแฟ้ม วัน/เดือน/ปี เวลา ที่เราสร้างหรือแก้ไขแฟ้ม) มาเก็บไว้ในรูทไดเรกทอรี่ด้วยเราสามารถสร้างไดเรกทอรี่ของเราเอง ลงไปเป็นส่วนย่อยของรูทไดเรกทอรี่ ในลักษณะเช่นเดียวกับชื่อบทต่างๆในหนังสือ และยังสามารถสร้างไดเรกทอรี่ย่อยๆลงไปในแต่ละไดเรกทอรี่ที่เราสร้างได้ด้วยตัวอย่างเช่น สมมติว่า เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่ในดิสก์แผ่นหนึ่งให้มีโครงสร้างและจัดเก็บแฟ้มต่างๆ
จะเห็นว่าในรูทไดเรกทอรี่นี้(เครื่องหมาย \ หมายถึง รูทไดเรกทอรี่) มี 2 ไดเรกทอรี่ย่อย คือ SOMCHAI และ OS โดยภายในไดเรกทอรี่ OS มีแฟ้มเก็บอยู่ 2 แฟ้มคือ แฟ้ม TEST และ DATA.JOB ส่วนไดเรกทอรี่.นั้นมีไดเรกทอรี่ย่อยอีก 2 ไดเรกทอรี่ คือ THACHER และ OTHER โดยไดเรกทอรี่ TEACHER ใช้เก็บแฟ้ม CONFIG.SYS และ COMMAND.COM ส่วนไดเรกทอรี่ OTHER นั้น ใช้เก็บแฟ้ม ABC.XYZ
การจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่ในการจัดการและการใช้งานไดเรกทอรี่นั้น มีคำสั่งที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม 3 คำสั่ง คือคำสั่ง MDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯสร้างไดเรกทอรี่ ในไดรว์และตำแหน่งที่อยู่ตามที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่งdrive : หมายถึง ไดร์ที่เราต้องการสร้างไดเรกทอรี่path : หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่และตำแหน่งที่อยู่ที่เราต้องการสร้าง
ตัวอย่าง
MD A:\SOMCHAIหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ SOMCHAI ในรูทไดเรกทอรี่ ( \ ) ของไดร์ว A
MD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงสร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ TEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
MD C:\MYDIRหมายถึง สร้างไดเรกทอรี่ที่ชื่อ MYDIR ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว C
ดังนั้น การสร้างไดเรกทอรี่ตามโครงสร้าง ของรูปที่ผ่านมาจึงสามารถทำได้โดยป้อนคำสั่งตามลำดับดังนี้MD A:\SOMCHAI แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\TEACHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\SOMCHAI\OTHER แล้วกดปุ่ม EnterMD A:\OS แล้วกดปุ่ม Enter
คำสั่ง CDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯย้ายเข้าไปทำงานในไดเรกทอรี่ที่เรากำหนดรูปแบบคำสั่ง
drive:หมายถึง ไดร์วที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงานpath: หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการย้ายเข้าไปทำงาน
ตัวอย่างCD \หมายถึง ย้ายเข้ามาทำงานที่ รูทไดเรกทอรี่(ของไดร์วที่เราใช้งานอยู่)
CD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อTEACHER ในไดเรกทอรี่ SOMCHAI ของไดร์ว A
CD A:\OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์ว A
CD \ OSหมายถึง ย้ายเข้าไปทำงานที่ไดเรกทอรี่ที่ชื่อ OS ของไดร์วที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง RDเป็นคำสั่งให้เครื่องฯลบไดเรกทอรี่ที่เราไม่ต้องการใช้แล้ว
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์ที่มีไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบpath หมายถึง ชื่อไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ
ตัวอย่าง
RD A:\SOMCHAI\TEACHERหมายถึงลบไดเรกทอรี่ชื่TEACHER ซึ่งอยู่ในไดเรกทอรี่ SOMCHAIของไดร์ว A
RD A:\OSหมายถึง ลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ของไดร์ว A
หมายเหตุ ไดเรกทอรี่ที่เราจะลบทิ้งได้ จะต้องเป็นไดเรกทอรี่ว่าง กล่าวคือไม่มีแฟ้มหรือไดเรกทอรี่อื่นใดอยู่ในนั้นเลยยกเว้น . กับ .. เท่านั้นตัวอย่างเช่น ถ้าจะลบไดเรกทอรี่ชื่อ OS ซึ่งอยู่ในรูทไดเรกทอรี่ของไดร์ว A ขั้นแรกก็จะต้องลบแฟ้มต่างๆที่เก็บอยู่ในไดเรกทอรี่ OS นี้ให้หมดเสียก่อน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น (ให้เลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง) จากวิธีที่1 จะเห็นว่า เป็นวิธีที่เราสั่งลบแฟ้มและไดเรกทอรี่โดยที่เราไม่ต้องย้ายไดเรกทอรี่เลยส่วนวิธีที่ 2 เป็นการย้ายเข้าไปอยู่เหนือไดเรกทอรี่ที่เราต้องการลบ แล้วสั่งลบแฟ้มทุกแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS (คำสั่ง DEL OS ) จากนั้นสั่งลบไดเรกทอรี่ OS ตามลำดับ (สั่ง RD OSได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกเส้นทางเนื่องจากตอนนี้เราอยู่ในตำแหน่งเหนือถัดขึ้นมาจากไดเรกทอรี่ OS พอดี )หมายเหตุ คำสั่ง DEL นั้นเป็นคำสั่งลบแฟ้ม ดังนั้นหากเราสั่ง DEL แล้วตามด้วยชื่อไดเรกทอรี่ เช่น DEL OS ก็จะเป็นการสั่งลบแฟ้มทุกๆแฟ้มในไดเรกทอรี่ OS นั่นเองประโยชน์ที่ได้จากการสร้างไดเรกทอรี่การสร้างไดเรกทอรี่ขึ้นมาในแผ่นดิสก์นั้นนอกจากจะทำให้เราสามารถจัดแฟ้มต่างๆแยกเป็นหมวดหมู่ได้แล้ว ยังเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลต่างๆของเราด้วย กล่าวคือ ถ้ามีการย้ายเข้าไปทำงานภายในไดเรกทอรี่ใดเราจะเห็นเฉพาะแฟ้มที่อยู่ในไดเรกทอรี่นั้น ดังนั้น โอกาสที่จะเผลอลบแฟ้มที่ไม่เกี่ยวข้องโดยไม่ตั้งใจก็แทบจะไม่มีเลย
คำสั่งอื่นๆของ DOSคำสั่ง DISKCOPYDISKCOPY เป็นคำสั่งที่มีความแตกต่างไปจาก COPY กล่าวคือ คำสั่ง COPY ธรรมดานั้น จะเป็นการเลือกคัดลอกเอาเฉพาะบางแฟ้มที่เราต้องการเท่านั้น ต่างจากคำสั่ง DISKCOPY ที่เป็นการคัดลอกแผ่นดิสก์ทั้งแผ่นซึ่งจะเลือกเอาเฉพาะบางแฟ้มไม่ได้รูปแบบคำสั่ง
drive1: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นต้นฉบับdrive2: หมายถึงไดร์วที่มีแผ่นเปล่าหรือแผ่นเป้าหมายที่เราจะคัดลอดสิ่งต่างๆจากต้นฉบับลงไป
ตัวอย่างDISKCOPY A: A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว A (ใช้ไดร์วเดียวต้องคอยสลับแผ่นไปมา)DISKCOPY A: B:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์ว BDISKCOPYหมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันDISKCOPY A:หมายถึง การคัดลอกแผ่นดิสก์ทั่งแผ่นจากต้นฉบับในไดร์ว A ไปยังแผ่นเป้าหมายในไดร์วที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
คำสั่ง DATEเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งวันที่(วัน-เดือน-ปี) ของเครื่องฯรูปแบบคำสั่ง
date หมายถึง เดือน-วัน-ปี ที่เรากำหนดให้เครื่องฯหมายเหตุ หากเราไม่ระบุ DATE เครื่องฯก็จะแสดง เดือน- วัน-ปี ปัจจุบันของเครื่องฯ และรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
ตัวอย่าง
DATE 12 – 01 - 1999หมายถึง การตั้งวันที่ของเครื่องฯเป็นวันที่ 1 ธันวาคม 1999DATEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดง เดือน-วัน-ปีปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เดือน-วัน-ปี ที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง TIMEในลักษณะเดียวกันกับคำสั่ง DATE คำสั่ง TIME เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตั้งเวลาของเครื่องฯ
รูปแบบคำสั่ง
time หมายถึง เวลาที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ หากเราไม่ระบุ time เครื่องฯก็จะแสดง เวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อน เวลา ที่ต้องการตั้งใหม่

ตัวอย่าง
TIME 11.30หมายถึง การตั้งเวลาของเครื่องฯให้เป็น 11.30 น.TIMEหมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงเวลาปัจจุบันของเครื่องฯและรอให้เราป้อนเวลาที่ต้องการตั้งใหม่
คำสั่ง LABELเป็นคำสั่งที่ใช้ในการตังชื่อดิสก์(แผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์)หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วปัจจุบันออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ
รูปแบบคำสั่ง
drive: หมายถึง ไดร์วที่มีแผ่นที่เราต้องการตั้งชื่อlabel หมายถึง ชื่อของดิสก์ ที่เรากำหนดให้เครื่องฯ
หมายเหตุ 1. หากเราไม่ระบุ drive: เครื่องฯจะถือว่าเป็นการทำงานที่ไดร์วปัจจุบัน2. หากเราไม่ระบุ label เครื่องฯจะแสดงชื่อเดิมของดิสก์ออกมาและรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์ใหม่ตามที่เราต้องการ3. ชื่อของแผ่นที่เราจะตั้งขึ้นนั้น จะเป็นชื่ออะไรก็ได้ แต่จะต้องมีความยาวไม่เกิน 11 ตัวอักษร
ตัวอย่างLABEL A:SYSTEMหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ A ว่า SYSTEM
LABEL PAPAYAหมายถึง การตั้งชื่อของดิสก์ที่อยู่ในไดร์วที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันว่า PAPAYA
LABEL A:หมายถึง การสั่งให้เครื่องฯแสดงชื่อเดิมของดิสก์ที่อยู่ในไดร์ว A ออกมา และรอให้เราป้อนชื่อของดิสก์นี้ใหม่ตามต้องการ

การสร้างคำสั่งใหม่ด้วยแบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)เป็นการนำคำสั่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาเขียนเรียงต่อกัน แล้วป้อนเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล .BAT จากนั้น เมื่อเราต้องการใช้งานคำสั่งชุดดังกล่าว ก็เพียงแต่ป้อนชื่อแฟ้มแล้วกด Enter คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานตามคำสั่งเหล่านั้น ต่อเนื่องกันไปทีละคำสั่งโดยอัตโนมัติ เราเรียกแฟ้มที่มีนามสกุลBAT นี้ว่า “แบทช์ไฟล์ (BATCH FILE)”
วิธีการสร้างและเรียกใช้ BATCH FILEสมมติว่าเราต้องการสร้างแบทช์ไฟล์ชื่อ SUPDIR.BAT เพื่อให้สามารถเรียกดูรายชื่อแฟ้มทั้งจากไดรว์ A และไดร์ว B ได้พร้อมกันโดยมีคำสั่งดังต่อไปนี้ คือ1. ลบจอภาพ (คำสั่ง CLS)2. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR A:)3. แสดงรายชื่อแฟ้มในแผ่นดิสก์ในไดร์ว (คำสั่ง DIR B:)
ดังนั้น เราจะต้องป้อน 3 คำสั่งนี้เข้าไปเก็บไว้ในแฟ้มชื่อ SUPDIR.BATโดยป้อนคำสั่งจากนั้น ให้ป้อนคำสั่งที่เตรียมไว้จนครบทั้ง 3 คำสั่ง แล้วกดปุ่ม F6 เพื่อบอกการจบของคำสั่งสุดท้าย แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องฯก็จะนำคำสั่งที่เราป้อนทั้ง 3คำสั่ง ไปเก็บไว้ในแฟ้ม SUPDIR.BAT ให้เราตามต้องการหลังจากที่สร้างแฟ้ม SUPDIR.BAT เสร็จแล้วเราสามารถเรียกใช้งานแฟ้มนี้ได้ โดยป้อนคำว่า SUPDIR แล้วกดปุ่ม Enter เครื่องก็จะทำงานตามคำสั่งต่างๆที่เก็บอยู่ในแบทช์ไฟล์นี้ให้เราตามต้องการ
คำสั่ง ECHOเราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนจอภาพตามต้องการได้ โดยใช้คำสั่ง ECHO ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้รูปแบบคำสั่ง
message หมายถึง ข้อความที่เรากำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงออกมาบนจอภาพ
ตัวอย่าง สมมติว่า เรามีแบทช์ไฟล์ชื่อ XDIR.BAT ซึ่งเก็บคำสั่งต่อไปนี้
ECHO OFF CLS ECHO ****************************ECHO * XTRA DIR SERVICE *ECHO ****************************DIR A:ECHO SEE YOU AGAIN!ECHO ****************************ECHO ON
อธิบายคำสั่งECHO OFF เป็นคำสั่งที่กำหนดว่า ต่อจากนี้ไปให้คอมพิวเตอร์แสดงเฉพาะผลลัพธ์จากการทำงานเท่านั้น ไม่ต้องแสดงคำสั่งที่กำลังทำงานออกมาด้วย เพื่อที่เวลาแสดงข้อความต่างๆจะได้แสดงออกมาอย่างสวยงามCLS เป็นคำสั่ง ลบจอภาพECHO ตามด้วยข้อความ เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสงข้อความนั้นออกมาทางจอภาพDIR A: เป็นคำสั่งให้เครื่องฯแสดงรายละเอียดชื่อแฟ้มในไดร์วECHO ON เป็นคำสั่งให้เครื่องฯกลับมาแสดงตัวคำสั่งที่กำลังทำงานตามเดิม

ไม่มีความคิดเห็น: